- Details
- Category: เกษตร
- Published: Monday, 14 September 2020 12:48
- Hits: 3011
‘กอระ เอ็นเตอร์ไพร์ซ’ จับมือเกษตรกรไทยสร้างเครือข่าย
ดันข้าวหอมมะลิออร์แกนิกไทย ตีตลาดทั้งในและต่างประเทศ
“กอระ เอ็นเตอร์ไพร์ซ” ร่วมเดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เพิ่มพื้นที่เพาะปลูกคลัสเตอร์แปลงนาข้าวหอมมะลิออร์แกนิก 100% เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวหอมมะลิไทย พร้อมใช้งานวิจัยเพื่อพัฒนา แปรรูป และต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวไทยออกสู่ตลาดโลก เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชาวนาไทย คาดปีนี้ฟันรายได้ทะลุ 250 ล้าน โตจากปีก่อน 500% เร่งวางกลยุทธ์ จ่อเปิดโรงงานรับผลิต OEM ภายในสิ้นปีนี้
นางสาวกรชวัล สมภักดี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กอระ เอ็นเตอร์ไพร์ซ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนา ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นวัตกรรมการเกษตร โดยเริ่มต้นจากข้าวและพืชเกษตรอื่นๆ เปิดเผยว่า จุดเริ่มต้นของเราเกิดจากแรงบันดาลใจและความภาคภูมิใจอาชีพเกษตรกรไทย ในฐานะที่เป็นลูกหลานที่เกิดในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่เห็นราคา “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” ตกต่ำอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปี และเกษตรกรไทยยังยากจน ทั้งที่ข้าวหอมมะลิของเรามีความต้องการสูงมากในตลาดโลก จากแนวคิดดังกล่าว จึงเริ่มทำการศึกษา ค้นคว้า เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ภาคอีสาน) จึงมีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผืนดินทุ่งกุลาร้องไห้แห่งนี้ ด้วยการยกระดับข้าวไทยและพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวนาไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ลูกหลานรุ่นต่อไปได้กลับมาประกอบอาชีพในผืนนาของพ่อแม่ และร่วมกันพัฒนาบ้านเกิดให้เป็นฐานการผลิตข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลกและต่อยอดแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวที่มีคุณภาพสูงออกสู่ตลาดโลก
ทั้งนี้ “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด เป็น 1 ใน 5 แหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดของไทย โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับกรมการข้าว ได้ขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ (Khao Hom Mali Thung Kula Rong Hai) กับสหภาพยุโรป(EU) เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2551 และสหภาพยุโรปได้รับขึ้นทะเบียนข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้แล้ว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2556 บริษัทตั้งอยู่ในทุ่งกุลาร้องไห้ จึงได้ร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่ในการสร้างเครือข่ายสู่ความเป็น “คลัสเตอร์แปลงนาข้าวหอมมะลิ ออร์แกนิกภาคอีสาน” โดยปัจจุบันเรามีแปลงนาปลูกข้าวหอมมะลิออร์แกนิกในพื้นที่ของกลุ่มรวมกว่า 50,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดในภาคอีสาน ได้แก่ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ และยโสธร โดยเป็นแปลงนาของกอระ เอ็นเตอร์ไพร์ซ จำนวน 500 ไร่โดยมีส่วนของแปลงนาของบริษัทฯ จำนวน 500 ไร่ ทั้งนี้วางเป้าหมายที่จะขยายคลัสเตอร์แปลงนาให้เพิ่มมากขึ้น คาดใน 5 ปีจะมีคลัสเตอร์แปลงนารวม 200,000 ไร่ทั่วประเทศ ในส่วนของผลการดำเนินงานในปี 2563 ของกอระ เอ็นเตอร์ไพร์ซ คาดว่า จะสร้างรายได้มากกว่า 250 ล้านบาท เติบโตจากปี 2562 กว่า 500% หรือมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 50 ล้านบาท
“จุดเริ่มต้นของเรา เกิดจากแรงบันดาลใจและความภาคภูมิใจอาชีพเกษตรกรไทย ในฐานะที่เป็นลูกหลานที่เกิดในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่เห็นราคาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ตกต่ำอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปี และเกษตรกรไทยยังยากจน ทั้งที่ข้าวหอมมะลิของเรามีความต้องการสูงมากในตลาดโลก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ลูกหลานรุ่นต่อไปได้กลับมาประกอบอาชีพในผืนนาของพ่อแม่ และร่วมกันพัฒนาบ้านเกิดให้เป็นฐานการผลิตข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลกและต่อยอดแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวที่มีคุณภาพสูงออกสู่ตลาดโลก เพื่อให้ชาวนาไทยไม่ยากจนด้วยเกษตรนวัตกรรม เพราะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของราคาข้าวหอมมะลิออร์แกนิกในไทยอยู่ที่ 250 บาทต่อกิโลกรัม และตลาดต่างประเทศอยู่ที่ราคา 500-1,000 บาทต่อกิโลกรัม และตอนนี้เรายังถือเป็นบริษัทที่รับซื้อข้าวที่ให้ราคาดีที่สุดด้วย คือ ให้ราคาอยู่ที่ 16,000-20,000 บาทต่อตัน” นางสาวกรชวัล กล่าว
ด้านกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์และบริการ แบ่งออกเป็น 1.ผลิตสินค้านวัตกรรมด้านการเกษตร ระยะแรก(ปี 2561-2562) ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมมะลิแดง และผลิตภัณฑ์จากข้าวแปรรูป ระยะที่สอง(ปี 2563-2565) ผลิตและแปรรูปข้าวทุกสายพันธุ์ในประเทศ นอกจากนี้จะมีการเแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย โดยผลิตตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง พร้อมต่อยอดด้วยการผลิตสินค้าจากข้าวและสมุนไพร เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าหมวดสุขภาพและนวัตกรรมทางการแพทย์ โดยเป็นสินค้าที่ผ่านการรับรองการวิจัยทั้งในประเทศและระดับสากล ซึ่งในอนาคตจะเป็นสินค้าที่สามารถสร้างมูลค่าสูงให้กับทางบริษัท 2.เป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าออร์แกนิก โดยแบ่งสินค้าเป็น 2 ระยะ ในระยะแรก(ปี 2561-2562) สินค้าธรรมชาติ และสินค้าอินทรีย์ ส่วนแผนระยะที่สองจะเข้าสู่สินค้าออร์แกนิกตามมาตรฐานสากลทั้งหมดภายใน 5 ปี ซึ่งปัจจุบันบริษัท อยู่ระหว่างการประเมินมาตรฐาน ทั้งนี้เมื่อสำเร็จตามแผนจะทำให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้อีกอย่างน้อย 30% สำหรับตลาดในประเทศ และเพิ่มขึ้น 50-100% ในตลาดต่างประเทศ
3.มุ่งลดการสูญเสียจากกระบวนการผลิต(Zero West) โดยในส่วนของข้าวเต็มเม็ดนำไปสร้างมูลค่าเป็นข้าวพรีเมี่ยม ในส่วนของปลายข้าวและจมูกข้าวที่อุดมไปด้วยสารอาหารระดับสูงนำมาผลิตเป็นสินค้าในกลุ่ม Rice crackers และซีเรียล ทำเป็นผลิภัณฑ์อาหารเช้าเพื่อจำหน่ายได้ทั่วโลก 4.ผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ภูมิปัญญาของเกษตรกรไทยสนับสนุนและส่งเสริมการปลูกข้าวอินทรีย์ให้เกษตรกรและรับซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด เพื่อนำไปแปรรูปโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย โดยเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาครัฐ 5.ผลิตสินค้า 2 ระดับ เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าระดับบน เน้นด้านสุขภาพ และระดับกลางเพื่อสร้างธุรกิจอาหารในตลาดค้าปลีกในประเทศ 6.การเตรียมเป็นบริษัทรับจ้างผลิต (OEM) ) ซึ่งในขณะนี้ อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงาน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการได้ภายใน ธ.ค. 2563 การกำหนดกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ของบริษัท เพื่อตอบโจทย์และสอดคล้องกับเทรนด์การดูแลสุขภาพของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ด้วยการเพิ่มมูลค่าให้กับ “ข้าวไทย” โดยการนำผลงานวิจัยมาช่วยในเรื่องภาคการเกษตร เพื่อยกระดับมาตรฐานให้กับเกษตรกรไทย ให้สามารถลงมือทำได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งแนวทางที่ทางบริษัทได้ดำเนินการพร้อมแผนรองรับใน 5 ปี เชื่อมั่นว่าเราจะสามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยได้อย่างยั่งยืน
สำหรับการทำตลาดในประเทศ มีทั้งแบบ B2B และ B2C โดยมีช่องทางการจัดจำหน่าย อาทิ ท็อปส์ มาร์เก็ต, เดอะมอลล์, เซเว่น อีเลฟเว่น, ไปรษณีย์ไทย และซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ ส่วนตลาดต่างประเทศ (โมเดลแบบ B2B) กำลังเตรียมพร้อมในการจำหน่ายผ่านทางบริษัทคู่ค้าไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยมีตลาดกลุ่มสำคัญ ได้แก่ ตลาดกลุ่มประเทศ IOC จีน พร้อมวางกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ เน้นเจาะกลุ่มตลาดพรีเมี่ยมในต่างประเทศ อาทิ ในปี 2563-2565 จะผลิตและแปรรูปข้าวทุกสายพันธุ์ในประเทศ โดยเป็นสินค้าที่ผ่านการรับรองการวิจัยทั้งในประเทศและระดับสากล ซึ่งในอนาคตจะเป็นสินค้าที่สามารถสร้างมูลค่าสูงให้กับทาง
“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาสนใจรักสุขภาพมากขึ้น ทำให้ตลาดข้าวหอมมะลิออร์แกนิกมีการเติบโตขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา และเชื่อว่ายังสามารถเติบโตได้ขึ้นอีก สืบเนื่องจากตลาดทั้งในไทย และต่างประเทศ อาทิ จีน ยุโรป อาหรับ ยังมีความต้องการอีกมาก ผนวกกับกำลังการผลิตที่สามารถผลิตได้ 50-120 ตันต่อวัน ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงเป็นโอกาสของตลาดดังกล่าวนั้น กอระ เอ็นเตอร์ไพร์ซ จึงได้รุกหนักในตลาดข้าวหอมมะลิออร์แกนิก ทั้งในและนอกประเทศ โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า ปีนี้จะผลิตได้ 30,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ประมาณ 10,000 ตัน” นางสาวกรชวัล กล่าวทิ้งท้าย
A9288
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ