- Details
- Category: เกษตร
- Published: Tuesday, 21 October 2014 22:08
- Hits: 2287
ก.เกษตรฯ งดส่งน้ำนาปรังเพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ปีเพาะปลูก 57/58
สศก. เผย ผลพยากรณ์ข้าวนาปรังปีเพาะปลูก 57/58 (ณ เดือน กันยายน 57) ระบุ เนื้อที่เพาะปลูกลดลงทุกภาค เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดกลางและขนาดใหญ่มีน้อย แจง เนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศลดลง ร้อยละ 19.50 ส่วนผลผลิตรวมทั้งประเทศลดลงร้อยละ 16.61 มั่นใจปี 58 ปริมาณน้ำเพียงพอ เกษตรกรไม่ปลูกเกินแผนจัดสรรน้ำ
นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ปริมาณฝนในปีนี้ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนตุลาคม 2557 ระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนน้อย อีกทั้งยังต้องระบายน้ำจากเขื่อนเพื่อส่งน้ำเสริมน้ำฝนให้กับพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีมากกว่าปกติ จึงส่งผลต่อปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนปาสักชลสิทธิ์ ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน จึงมีความจำเป็นต้องงดส่งน้ำเพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำทั้งในฤดูแล้งปี 2557/58 ต่อเนื่องถึงต้นฤดูฝนปี 2558 ในการเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่องและและข้าวนาปรังในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ตั้งแต่ตุลาคม 2557 ถึง เมษายน 2558
จากสถานการณ์ดังกล่าว สศก. ได้พยากรณ์ผลผลิต (ณ เดือนกันยายน 2557) คาดว่าปีเพาะปลูก 2557/58 ข้าวนาปรังมีเนื้อที่เพาะปลูก รวมทั้งประเทศ 12.567 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว 3.045 ล้านไร่ หรือร้อยละ 19.50 มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว รวมทั้งประเทศ 12.446 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว 2.608 ล้านไร่ หรือร้อยละ 17.32 โดยผลผลิตรวมทั้งประเทศ 8.411 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลงจากปีที่แล้ว 1.675 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 16.61 ส่วนผลผลิตต่อเนื้อที่เพาะปลูก ทั้งประเทศอยู่ที่ 669 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 23 กิโลกรัม หรือร้อยละ 3.56 ด้านผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว ทั้งประเทศอยู่ที่ 676 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 6 กิโลกรัม หรือร้อยละ 0.90
ด้านสถานการณ์การผลิต พบว่าเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลงทุกภาคจากปีที่แล้ว เนื่องจากภาพรวมปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่ใช้การได้มีน้อยกว่าในปี 2556 โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ซึ่งปริมาณน้ำที่ใช้การได้ ณ เดือนสิงหาคม 2557 มีเพียงร้อยละ 30 ประกอบกับราคาข้าวมีแนวโน้มลดลง ทำให้เกษตรกรลดเนื้อที่เพาะปลูกลง เนื่องจากเห็นว่าผลตอบแทนไม่คุ้มค่าความเสี่ยง หากปริมาณน้ำไม่เพียงพอ สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่แล้วประสบกับสภาพอากาศหนาวเย็นยาวนาน กระทบต้นข้าวในช่วงตั้งท้องถึงออกรวง ส่งผลให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต เมล็ดลีบ รวมทั้งเกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูกเกินกว่าแผนการจัดสรรน้ำ ต้นข้าวจึงได้รับ น้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม ปี 2558 คาดว่าเกษตรกรจะไม่ปลูกเกินกว่าแผนที่กำหนด โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้จัดหาให้เพาะปลูกพืชฤดูแล้งเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะทำให้ได้รับน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต โดยหากพิจารณาในแต่ละภาค พบว่า
ภาคเหนือ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากมีน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก และราคาข้าวเปลือกไม่จูงใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูก โดยเกษตรกรจะปลูกมากในเดือนธันวาคม 2557 ถึงมกราคม 2558 สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ไม่ประสบสภาพอากาศหนาวเย็นยาวนานเหมือนปีที่ผ่านมา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากเกษตรกรต้องงดปลูกข้าวนาปรังจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอ โดยเกษตรกรจะปลูกมากในเดือนมกราคม 2558 ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เพราะแหล่งปลูกส่วนใหญ่ได้รับน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต
ภาคกลาง เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำที่ใช้การได้ในเขื่อนขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิตติ์มีปริมาณน้ำใช้การได้ลดลงจากปีที่แล้ว ส่งผลต่อปริมาณน้ำที่จัดสรรให้เกษตรกรใช้ในการเพาะปลูกข้าวนาปรังในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาลดลง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรให้การดูแลและไม่ปลูกเกินแผนการจัดสรรน้ำ ทำให้ปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก
ภาคใต้ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากแนวโน้มราคาข้าวเปลือกลดลง เกษตรกรบางส่วนจึงปรับเปลี่ยนไปปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมัน ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า สามารถให้ผลผลิตได้หลายปี และเกษตรกรจะปลูกมากในเดือนพฤษภาคม 2558 สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น จากปริมาณน้ำที่เพียงพอ
ฝนน้อย เกษตรฯ งดส่งน้ำนาปรัง สศก. แจง เนื้อที่-ผลผลิต ปีเพาะปลูก 57/58
สศก. เผย ผลพยากรณ์ข้าวนาปรังปีเพาะปลูก 57/58 (ณ เดือน กันยายน 57) ระบุ เนื้อที่เพาะปลูกลดลงทุกภาค เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดกลางและขนาดใหญ่มีน้อย แจง เนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศลดลง ร้อยละ 19.50 ส่วนผลผลิตรวมทั้งประเทศลดลงร้อยละ 16.61 มั่นใจปี 58 ปริมาณน้ำเพียงพอ เกษตรกรไม่ปลูกเกินแผนจัดสรรน้ำ
นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ปริมาณฝนในปีนี้ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนตุลาคม 2557 ระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนน้อย อีกทั้งยังต้องระบายน้ำจากเขื่อนเพื่อส่งน้ำเสริมน้ำฝนให้กับพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีมากกว่าปกติ จึงส่งผลต่อปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนปาสักชลสิทธิ์ ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน จึงมีความจำเป็นต้องงดส่งน้ำเพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำทั้งในฤดูแล้งปี 2557/58 ต่อเนื่องถึงต้นฤดูฝนปี 2558 ในการเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่องและและข้าวนาปรังในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ตั้งแต่ตุลาคม 2557 ถึง เมษายน 2558
จากสถานการณ์ดังกล่าว สศก.ได้พยากรณ์ผลผลิต (ณ เดือนกันยายน 2557) คาดว่าปีเพาะปลูก 2557/58 ข้าวนาปรังมีเนื้อที่เพาะปลูก รวมทั้งประเทศ 12.567 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว 3.045 ล้านไร่ หรือร้อยละ 19.50 มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว รวมทั้งประเทศ 12.446 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว 2.608 ล้านไร่ หรือร้อยละ 17.32 โดยผลผลิตรวมทั้งประเทศ 8.411 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลงจากปีที่แล้ว 1.675 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 16.61 ส่วนผลผลิตต่อเนื้อที่เพาะปลูก ทั้งประเทศอยู่ที่ 669 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 23 กิโลกรัม หรือร้อยละ 3.56 ด้านผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว ทั้งประเทศอยู่ที่ 676 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 6 กิโลกรัม หรือร้อยละ 0.90
ด้านสถานการณ์การผลิต พบว่าเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลงทุกภาคจากปีที่แล้ว เนื่องจากภาพรวมปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่ใช้การได้มีน้อยกว่าในปี 2556 โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ซึ่งปริมาณน้ำที่ใช้การได้ ณ เดือนสิงหาคม 2557 มีเพียงร้อยละ 30 ประกอบกับราคาข้าวมีแนวโน้มลดลง ทำให้เกษตรกรลดเนื้อที่เพาะปลูกลง เนื่องจากเห็นว่าผลตอบแทนไม่คุ้มค่าความเสี่ยง หากปริมาณน้ำไม่เพียงพอ สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่แล้วประสบกับสภาพอากาศหนาวเย็นยาวนาน กระทบต้นข้าวในช่วงตั้งท้องถึงออกรวง ส่งผลให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต เมล็ดลีบ รวมทั้งเกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูกเกินกว่าแผนการจัดสรรน้ำ ต้นข้าวจึงได้รับ น้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม ปี 2558 คาดว่าเกษตรกรจะไม่ปลูกเกินกว่าแผนที่กำหนด โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้จัดหาให้เพาะปลูกพืชฤดูแล้งเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะทำให้ได้รับน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต โดยหากพิจารณาในแต่ละภาค พบว่า
ภาคเหนือ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากมีน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก และราคาข้าวเปลือกไม่จูงใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูก โดยเกษตรกรจะปลูกมากในเดือนธันวาคม 2557 ถึงมกราคม 2558 สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ไม่ประสบสภาพอากาศหนาวเย็นยาวนานเหมือนปีที่ผ่านมา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากเกษตรกรต้องงดปลูกข้าวนาปรังจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอ โดยเกษตรกรจะปลูกมากในเดือนมกราคม 2558 ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เพราะแหล่งปลูกส่วนใหญ่ได้รับน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต
ภาคกลาง เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำที่ใช้การได้ในเขื่อนขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิตติ์มีปริมาณน้ำใช้การได้ลดลงจากปีที่แล้ว ส่งผลต่อปริมาณน้ำที่จัดสรรให้เกษตรกรใช้ในการเพาะปลูกข้าวนาปรังในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาลดลง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรให้การดูแลและไม่ปลูกเกินแผนการจัดสรรน้ำ ทำให้ปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก
ภาคใต้ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากแนวโน้มราคาข้าวเปลือกลดลง เกษตรกรบางส่วนจึงปรับเปลี่ยนไปปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมัน ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า สามารถให้ผลผลิตได้หลายปี และเกษตรกรจะปลูกมากในเดือนพฤษภาคม 2558 สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น จากปริมาณน้ำที่เพียงพอ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร