WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

7292 โคราชโมเดล editกมธ. วิทย์ฯ หนุน ‘โคราชโมเดล’ เทงบวิจัยแก้จน

ดันโครงการ ‘อีสานวากิว’ พร้อมเร่งแก้ราคามันตกต่ำ

          เมื่อเร็วๆ นี้ นายอัครวัฒน์ อัศวเหม ประธานคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร (กมธ. วิทย์ฯ) และคณะร่วมเดินทางศึกษาดูงาน “การพัฒนาอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรฐานราก ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม” ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาล มหาวิทยาลัย โดยใช้งานวิจัยเป็นฐาน

          โดยศาสตราจารย์กนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนในฐานะ กมธ. วิทย์ฯ ตัวแทนของประชาชน อยากเห็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญเดียวกันคือการทำงานเพื่อประชาชน ให้ชาวบ้านคนตัวเล็กตัวน้อยมีรายได้มากขึ้น โดยในปีที่ผ่านมาคณะทำงานตระหนักดีว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ เพิ่มรายได้ให้ผู้คน จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงาน โดยที่ผ่านมา กมธ. วิทย์ฯ ได้ขับเคลื่อนการทำงานกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่จัดสรรงบประมาณสำหรับการวิจัยในพื้นที่ในกรอบใหญ่​ และเชื่อมโยงหน่วยงานบริหารจัดการทุนต่างๆ มาร่วมทำงานกับ​ กมธ.วิทย์ฯ ตลอดจนหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และส่วนของจังหวัด โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา คณะทำงาน กมธ.วิทย์ฯ ได้เดินทางไปศึกษาพื้นที่และหนุนการดำเนินการในโครงการวิจัยต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก “บพท. หรือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่” ซึ่งเป็นแรงหนุนสำคัญที่ช่วยแก้ปัญหาปากท้องของชาวบ้านในจังหวัดนำร่อง ไม่ว่าจะเป็น จ.กระบี่ จ.สกลนคร จ.จันทบุรี ได้มาก ผมจึงคิดว่าจากบทเรียนการทำงานที่ผ่านมา มั่นใจว่าเราจะสามารถแก้ปัญหาในพื้นที่โคราช ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนได้เช่นเดียวกัน

          ด้าน ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดี ม.เทคโนโลยีสุรนารี เปิดเผยข้อมูลว่า ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยได้จัดทำโครงการวิจัยสำคัญ เพื่อมุ่งเน้นการแก้ปัญหาด้านการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น มันสำปะหลังราคาตกต่ำ รวมถึงเพิ่มมูลค่าของเนื้อวัวที่เกษตรกรชาวโคราชนิยมเลี้ยง ในโครงการวิจัย “อีสานวากิว โคเนื้อคุณภาพสูง” เพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรขาดเงินทุน ขาดข้อมูลย้อนกลับ ขาดมาตรฐานการเลี้ยง ขาดโรงเชือดมาตรฐานและโรงตัดแต่ง ตลอดจนการขาดการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อโคขุน โดยมีเป้าหมายระยะ 3 ปี คือ มีเกษตรกรเอสเอมอีเพิ่มขึ้น 80 ราย ภายใต้งบประมาณหนุน 48 ล้านบาท นอกจากนี้ส่วนของมันสำปะหลัง ได้จัดทำโครงการ “แพลตฟอร์มต้นแบบการบริการจัดการการเพิ่มมูลค่ามันสำปะหลังตลอดห่วงโซ่มูลค่าเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ จ.นครราชสีมา” เพื่อให้เกษตรกรมีทักษะการผลิตมันสำปะหลังคุณภาพสูงด้วยระบบน้ำหยด และเข้าใจวิธีการให้ปุ๋ยบนพื้นฐานการวิเคราะห์ค่าดินเป็น เพื่อลดทอนต้นทุนการผลิต ตลอดจนแปรรูปสารสกัดจากมันสำปะหลัง สร้างแพลตฟอร์มการเพิ่มมูลค่าสำปะหลังตลอดห่วงโซ่มูลค่า เป็นต้น อนึ่ง วันนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นสภาผู้แทนราษฎร หน่วยงานจัดสรรงบวิจัย อย่าง สกสว. และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ มีแผนและแนวทางการทำงานที่สอดคล้องกันโดยมีเป้าหมายสำคัญคือยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่


AO7292

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!