WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaDเฉลิมชัย

เฉลิมชัย แจงชัด กรณีเยียวยาข้าราชการ เป็นอำนาจที่คณะกรรมการกลั่นกรองฯ และครม. กระทรวงเกษตรฯ เดินตามมติอย่างเคร่งครัด

    เฉลิมชัย ยันกลับจ่ายเงินเยียวยาข้าราชการหรือไม่ เป็นอำนาจคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และครม. เผยกระทรวงเกษตรฯส่งรายชื่อเกษตรกร ครั้งที่ 2 ให้ ธ.ก.ส. แล้ว 3,428,008 ราย ย้ำหากตกหล่นให้ยื่นอุทธรณ์ด่วน เผยส่งรายชื่อเกษตรกรเพิ่มอีก 3.4 ล้านให้ ธ.ก.ส.จ่ายเงิน

      นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงกรณีประเด็นการเยียวยาข้าราชการที่อยู่ในทะเบียนเกษตรกรว่า เรื่องดังกล่าว ขอให้ทำความเข้าใจก่อนว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบการลงทะเบียนและรวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่ลงทะเบียนเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งให้กับกระทรวงการคลัง เพื่อดำเนินการคัดกรองและตรวจสอบความซ้ำซ้อนกับผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชน และตรวจสอบกับผู้ที่ได้รับสวัสดิการผ่านระบบข้าราชการบำนาญ และระบบประกันสังคม ตามมติครม.เมื่อวันที่ 28 เมษายน ก่อนส่งกลับมาที่กระทรวงเกษตรฯ เพื่อส่งมอบข้อมูลรายชื่อต่อให้กับทาง ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงิน

    “ขอชี้แจงว่า หน่วยงานที่กำหนดเกณฑ์และทำหน้าคัดกรองไม่ให้สิทธิ์ซ้ำซ้อน คือ กระทรวงการคลัง และคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้ ดังนั้น การจะจ่ายเงินเยียวยาให้ข้าราชการที่อยู่ในทะเบียนเกษตรกรหรือไม่นั้น การตัดสินใจเป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ และต้องเป็นมติของคณะรัฐมนตรี  หากทางคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เห็นสมควรให้ได้รับสิทธิ์เยียวยา และเสนอให้ ครม. ให้มีมติออกมา กระทรวงเกษตรฯ พร้อมดำเนินการทันที เพราะมีฐานข้อมูลรายชื่อทั้งหมดแล้ว สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว และไม่มีตกหล่น” นายเฉลิมชัย กล่าว

      สำหรับ กรณีที่ นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แถลงข่าวว่า การตัดสินใจจ่ายเยียวยาให้ข้าราชการ เป็นอำนาจของกระทรวงเกษตรฯ นั้น เรื่องนี้ สคศ. คงมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะข้อเท็จจริง กระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้รวบรวมและส่งรายชื่อเกษตรกรให้กระทรวงการคลัง และคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เพื่อพิจารณากลั่นกรองและตรวจความซ้ำซ้อน ดังนั้น การตัดสินใจว่า จะมีการจ่ายให้ข้าราชการและอื่นๆ หรือไม่นั้น ในทางปฏิบัติแล้วเป็นเรื่องของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และที่สำคัญต้องมีการวางแนวปฏิบัติที่ชัดเจนออกมา กระทรวงเกษตรฯรอเพียงการพิจารณาและการตัดสินใจของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร

    “กระทรวงเกษตรฯ พร้อมดำเนินการทันทีเมื่อมีแนวทางที่ชัดเจน เพราะกระทรวงเกษตรฯ ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิทธิ์ของเกษตรกรทุกคนที่ขึ้นทะเบียน เพื่อรับการเยียวยาอย่างทั่วถึง รวดเร็ว ให้ทันตามกำหนดเวลา และที่สำคัญต้องไม่มีรายชื่อตกหล่น”นายเฉลิมชัยกล่าว

       ด้านนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้หารือกับคณะกรรมการกลั่นกรองฯในประเด็นข้าราชการที่อยู่ในทะเบียนเกษตรกร ซึ่งน่าจะมีความชัดเจนว่า ข้าราชการไม่ควรได้รับการเยียวยาในส่วนนี้ อีกทั้งจะต้องมีการซักซ้อมทำความเข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติ และความชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง และคาดว่ามีการนำเสนอเข้าที่ประชุม ครม. ต่อไป

      ส่วนความคืบหน้าการจ่ายเงินเยียวเกษตรกร นายอนันต์กล่าวว่า การจ่ายเงินช่วยเหลือ ครั้งที่1 ธ.ก.ส. ได้โอนเงินแล้วทั้งสิ้น 3,222,952 ราย และกระทรวงเกษตรฯ ได้ส่งข้อมูลเกษตรกรครั้งที่ 2 ให้กับ ธ.ก.ส. แล้วเมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา อีกจำนวน 3,428,008 ราย เพื่อดำเนินการจ่ายเงิน คาดว่า ธ.ก.ส. จะโอนเงินได้ช่วงวันที่ 22 – 29 พ.ค. นี้ ขณะเดียวกันได้ส่งรายชื่อเกษตรกรอีก 700,000 ราย ให้กระทรวงการคลังเพื่อให้ คัดกรองและตรวจสอบความซ้ำซ้อน ส่วนเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงและขึ้นทะเบียนเพิ่มเติมอีกจำนวน 1.6 ล้านราย จะได้รวบรวม และส่งข้อมูลให้กระทรวงการคลังต่อไป

       นายอนันต์ กล่าวอีกว่า สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับเงินเยียวยาสามารถอุทธรณ์ได้ที่สำนักงานส่วนภูมิภาค ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานประมงจังหวัด/อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด/อำเภอ สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต/เครือข่าย สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จังหวัด/สาขา เขตระบบบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย 1-8 และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาค 1-4 และสำนักงานสรรพสามิตจังหวัด ส่วนระบบออนไลน์เข้าใช้บริการที่ www.moac.go.th

รัฐมนตรีเกษตรฯ เตรียมเจรจา 4 ธนาคารของรัฐ มุ่งแก้ไขปัญหาหนี้สิน หวังลดภาระค่าใช้จ่ายให้เกษตรกร

    นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการหารือการเจรจากำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้มีการหารือถึงแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ประกอบด้วย 1) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 2) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 3) ธนาคารออมสิน และ 4) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ซึ่งสำนักงานกองทุกฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ได้ส่งจำนวนลูกหนี้ให้เจ้าหนี้ซึ่งเป็นธนาคารทั้ง 4 แห่งตรวจสอบแล้ว พบว่า มีลูกหนี้ที่เป็น NPL จำนวน 44,923 ราย แบ่งเป็น 1) ธ.ก.ส. 42,234 ราย 2) ธอส. 2,008 ราย 3) ธนาคารออมสิน 593 ราย และ 4) ธพว. 88 ราย

    ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ กฟก. นำแนวทางการเจรจาของแต่ละหน่วยงานจัดทำเป็นข้อสรุป พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มานำเสนอในที่ประชุมครั้งต่อไป เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการเจรจาร่วมกับธนาคารทั้ง 4 แห่ง

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!