WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

4324 ตามรอยพระราชาตามรอยศาสตร์พระราชา สร้างโคก หนอง นา สู่ทางรอดที่ยั่งยืน
แก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง พร้อมพึ่งพาตนเองให้ผ่านพ้นทุกวิกฤต

          “น้ำท่วมและน้ำแล้ง” เป็นปัญหาที่เกษตกรพบเจอเป็นประจำเกือบทุกปี เมื่อการเพาะปลูกมีปัญหา บางคนก็ต้องกู้หนี้ยืมสิน ต้องไปซื้ออาหารกิน แม้ว่าจะมีที่ดินเพาะปลูกก็ตาม ซ้ำเติมวิกฤตยิ่งไปอีก โดยที่ผ่านมามีการส่งเสริมให้เกษตรกรปรับพื้นที่ทำกินด้วยศาสตร์พระราชาภายใต้แนวคิด “โคก หนอง นา โมเดล” ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยมีอาหารและน้ำอยู่ในพื้นที่ทำกิน และหากมีการปฏิบัติตามแนวคิดนี้อย่างแพร่หลาย ก็จะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งได้อย่างยั่งยืน

          แม้ว่าปัจจุบันจะมีเกษตรนำแนวคิด “โคก หนอง นา โมเดล” ไปใช้อย่างแพร่หลายกว่าในระยะเริ่มต้น แต่การสานต่อความสำเร็จของแนวคิดนี้นั้นยังจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขยายแนวร่วมผู้ทำโคก หนอง นา ไปยังเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ รวมไปถึงคนรุ่นใหม่ที่สนใจในศาสตร์พระราชาและอยากที่จะเรียนรู้ ลงมือทำ เพื่อพึ่งพาตนเอง นั่นจึงทำให้เมื่อเร็วๆ นี้ มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมมือกับ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน จัดงาน “รวมพลฅนสร้างโคก หนอง นา ตอนมีป่า มีน้ำ มีกิน ครั้งที่ 1” ณ วัลลภาฟาร์ม จังหวัดลพบุรี โดยที่งานนี้ถือเป็นการตอกย้ำอย่างชัดเจนว่า โคก หนอง นา โมเดล นั้นคือทางรอดที่สามารถป้องกันปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งได้จริง

          ผู้ที่มาร่วมงาน “รวมพลฅนสร้างโคก หนอง นา ตอนมีป่า มีน้ำ มีกิน ครั้งที่ 1” สามารถศึกษาแนวคิดและหลักการปฏิบัติที่ถูกต้องของการทำโคก หนอง นา จากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ และนิทรรศการมีชีวิตทั้ง 7 ห้องเรียน ซึ่งจะทำให้เข้าใจถึงการจัดการดิน น้ำ ป่า คน อันเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การทำโคก หนอง นา เกิดผลสำเร็จ พร้อมกับฟื้นฟูลุ่มน้ำป่าสักตามรอยพ่อไปในเวลาเดียวกัน อาทิ การใช้หญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน การออกแบบและวางแนวคลองเพื่อกระจายความชุ่มชื้นในแปลง การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ยังมีการเปิดคลินิกความรู้ อุ้มชูไม่จำกัด ที่จัดขึ้นโดยวิทยากรผู้มีประสบการณ์ มาคอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยหรือกำลังประสบปัญหาในการทำโคก หนอง นา รวมไปถึงกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดเวิร์กช็อปต่างๆ ที่จะทำให้ทุกคนที่มาร่วมงานได้เรียนรู้แนวทางการพึ่งพาตนเอง และ Agri’ Organic Market ตลาดนัดกสิกรรมธรรมชาติ ที่ยกขบวนสินค้าผลผลิตอินทรีย์จากแปลงโคก หนอง นา ในแนวคิด “ของกินข้างบ้าน แบ่งปัน อุ้มชู” มาให้เลือกซื้อได้อย่างเต็มที่ โดยทุกคนสามารถเข้าร่วมงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดงานทั้งสองวันเต็ม

          นอกเหนือจากองค์ความรู้และหลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การทำโคก หนอง นา ประสบความสำเร็จได้แล้ว “กำลังใจ” ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งงานนี้ก็ถูกจัดขึ้นบนพื้นที่ของวัลลภาฟฟาร์ม ซึ่งผู้เป็นเจ้าของนั้นได้นำเอาโคก หนอง นา โมเดล มาปรับใช้กับพื้นที่ที่เคยเป็นฟาร์มเลี้ยงม้า ให้กลายเป็นที่พักแนวฟาร์มสเตย์และแหล่งการเรียนรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยการจัดงานครั้งนี้ก็เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานทุกคนได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำโคก หนอง นา จาก 7 จังหวัดลุ่มน้ำป่าสัก และรับฟังปาฐกถาโดย “อาจารย์ยักษ์” ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลกและที่ปรึกษามูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ซึ่งไม่เพียงมอบกำลังใจให้ผู้ที่กำลังเผชิญหน้ากับอุปสรรคต่างๆ มีพลังขับเคลื่อนและสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ไปได้อย่างราบรื่นแล้ว ยังมีส่วนช่วยโน้มน้าวให้ผู้ที่สนใจในแนวคิดนี้เข้ามาลงมือทำอย่างเต็มตัว พร้อมกับเข้าร่วมเครือข่ายมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ อันถือเป็นศูนย์รวมคนทำเกษตรตามแนวทางศาสตร์พระราชา ที่ทำให้ทุกคนได้รู้จักและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ตลอดจนถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน และเมื่อเครือข่ายฯ มีการเติบโตขยายตัวอย่างมั่นคง ก็จะนำมาซึ่งความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่า การเจริญรอยตามศาสตร์พระราชานั้นจะทำให้ทุกคนสามารถเลี้ยงดูตนเองและดำเนินชีวิตที่ยั่งยืนได้อย่างแน่นอน

          ธีระ วงษ์เจริญ ประธานเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า “การทำโคก หนอง นา คือการจัดแบ่งสัดส่วนพื้นที่สำหรับทำเกษตรกรรมให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตัวเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่ที่มีอยู่ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีเกษตรกรหลายคนที่ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ไปลงมือปฏิบัติจริงมาแล้ว ทำให้พวกเขาสามารถดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงสามารถป้องกันปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งบนพื้นที่ของตัวเองได้จริงอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จตรงนี้ก็ยังไม่เป็นที่ปรากฏเด่นชัดในวงกว้าง จึงไม่ได้รับการยอมรับในหมู่เกษตรกรชาวไทยเท่าที่ควร จึงทำให้ มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง และ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมมือกันจัดงานรวมพลฅนสร้างโคก หนอง นา ตอนมีป่า มีน้ำ มีกิน ครั้งที่ 1 เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่สนใจอยากทำเกษตรสามารถเข้าถึงข้อมูลและหลักการปฏิบัติที่ถูกต้องได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น รวมถึงเกิดการเข้าร่วมเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ที่นำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย อันมีส่วนให้เครือข่ายฯ มีการเติบโตไปพร้อมกับความสำเร็จของโคก หนอง นา โมเดล ซึ่งจะทำให้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดเป็นการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนของเกษตรกรชาวไทยในที่สุด”

          ด้าน มุทิตา ค้าขาย เจ้าของวัลลภาฟาร์ม ได้กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้การทำโคก หนอง นา ประสบความสำเร็จไว้ว่า “เครือข่ายของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติถือว่าเป็นปัจจัยหลักที่ส่งให้การทำโคก หนอง นา ประสบความสำเร็จอย่างสูงในทุกพื้นที่ เพราะทุกคนจะเข้ามาช่วยเหลือกัน ร่วมลงมือลงแรงหรือที่เราเรียกว่าเอามื้อสามัคคี ทำให้เราได้รู้จักผู้คนใหม่ๆ จากแทบทุกพื้นที่ของประเทศไทย เกิดการแบ่งปันทั้งผลิตผลและแนวคิดใหม่ๆ ที่หาจากไหนไม่ได้นอกจากที่นี่ และที่สำคัญก็คือ ความเชื่อมั่นในการทำโคก หนอง นา ให้สำเร็จในพื้นที่ของตัวเอง ทุกพื้นที่ย่อมมีปัญหารอให้เราแก้ไขอย่างแน่นอน จึงอยากให้ทุกคนลองเข้ามาศึกษาและรับการอบรมจากทางมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติก่อน เพราะนอกจากจะได้รับความรู้ที่ถูกต้องแล้ว ยังได้เพื่อนใหม่ๆ ที่จะคอยช่วยเหลือเกื้อกูล มีผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำวิธีการแก้ปัญหา เกิดเป็นกำลังใจที่ทำให้เราไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่างๆ และพร้อมที่จะฟันฝ่าไปด้วยกันจนกว่าจะสัมฤทธิ์ผลด้วยค่ะ”

 


AO4325

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!