- Details
- Category: เกษตร
- Published: Monday, 19 August 2019 19:13
- Hits: 3557
'อดิศร' แถลง..มาตรการดูแลทรัพยากรสัตว์น้ำ ช่วงแม่น้ำโขงผันผวน ยืนยันกรมประมงเคียงข้างประชาชน ย้ำต้องรู้เท่าทัน
‘น้ำโขงเปลี่ยนไปประมงไทยต้องเท่าทัน’ อธิบดีกรมประมงเร่งเครื่องมาตรการเชิงรุกเพื่อดูแลทรัพยากรประมงช่วงแม่น้ำโขงผันผวนอย่างหนักทำสัตว์น้ำทั้งในธรรมชาติและที่เพาะเลี้ยงเสียหายเพราะปรับตัวไม่ทัน กระทบต่อวิถีความเป็นอยู่ของเกษตรกร-ชาวประมงริมโขงยืนยันกรมประมงเคียงข้างประชาชนมีการเฝ้าระวังสื่อสารข้อมูลอย่างรวดเร็วเพื่อเท่าทันสถานการณ์
นายอดิศรพร้อมเทพอธิบดีกรมประมงแถลงถึงสถานการณ์ความผันผวนของระดับน้ำในแม่น้ำโขงว่าขณะนี้ยังคงมีความน่าเป็นห่วงเนื่องจากมีความผันผวนของปริมาณน้ำอยู่ตลอดเวลาโดยเมื่อ2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ปริมาณน้ำได้ลดลงอย่างหนักถึงขั้นวิกฤตแต่แล้วปริมาณน้ำกลับเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันและคาดการณ์ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วได้อีกไม่เป็นไปตามระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำตามธรรมชาติทำให้สัตว์น้ำทั้งในแม่น้ำโขงตลอดจนลำน้ำสาขาของประเทศและที่เกษตรกรเพาะเลี้ยงในกระชังได้รับความเสียหายเพราะปรับตัวไม่ทันส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรและชาวประมงในบริเวณชุมชนริมโขงในหลายพื้นที่ กรมประมงมีความเป็นห่วงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมากจึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่รับฟังปัญหาและให้คำแนะนำเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรพร้อมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดพร้อมขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรการดังนี้
1. บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ด้านการประมง(Fisheries watch) เพื่อให้เกิดความคล่องตัวรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ประสานงานกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรเพื่อใช้มูลการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำในแม่น้ำโขงมาวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคประมงสำหรับแจ้งเตือนภัยเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายรวดเร็วทันทีให้เกษตรกรได้รับทราบและวางแผนรับมือให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันและลดผลกระทบของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
2. สำหรับทรัพยากรสัตว์น้ำในระบบนิเวศธรรมชาตินั้นกรมประมงได้วางแนวทางเร่งฟื้นฟูโดยจะเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารสัตว์น้ำในพื้นที่ด้วยการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำและเสริมสร้างผลผลิตสัตว์น้ำจากการจัดการแบบมีส่วนร่วมร่วมกับชุมชนประมงในพื้นที่ในบริเวณลำห้วยหนองและบึงที่เป็นลำน้ำสาขาแม่น้ำโขงในพื้นที่ของประเทศไทยโดยเน้นชนิดพันธุ์ที่มีถิ่นอาศัยเดิมและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อาทิบึกยี่สกปลาเทพานวลจันทร์ เป็นต้น
3. จัดฝึกอบรมการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำในระบบโรงเพาะฟักภาคสนาม(Mobile Hatchery) เพื่อให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำไว้ใช้ในแหล่งน้ำชุมชนตนเองได้อย่างเพียงพออย่างไรก็ตามในส่วนของการจัดการและดูแลสัตว์น้ำในแม่น้ำโขงที่มีความหลากหลายค่อนข้างมากนั้นแนวทางที่เหมาะสมคือการจัดสร้างและกำหนดเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเพื่อให้เป็นแหล่งรักษาพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำไว้
พร้อมทั้งนำวิธีการเพาะพันธุ์ภาคสนามเข้ามาช่วยเพื่อให้พันธุ์สัตว์น้ำได้มีโอกาสขยายพันธุ์วางไข่มากขึ้นซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องทำควบคู่กันไปเพื่อเป็นการรักษาพันธุ์สัตว์น้ำในแม่น้ำโขงให้ยังคงความอุดมสมบูรณ์ โดยขณะนี้กรมประมงได้สั่งการให้หน่วยงานประมงในแต่ละจังหวัดไปหารือร่วมกับชาวบ้านเพื่อเตรียมประกาศเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ(Fish Stock) ตามห้วงเวลาและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่โดยเน้นในเขตที่เป็นวังน้ำลึก(Deep pool) ซึ่งสัตว์น้ำมักหลบหนีไปอาศัยในช่วงที่ลำน้ำโขงลดระดับในช่วงแล้งเพื่อรักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามธรรมชาติไว้โดยเน้นการมี
ส่วนร่วมระหว่างองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรและสร้างกติกาชุมชนเพื่อให้มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่
4. กรมประมงจะจัดทำโครงการพัฒนาการเชื่อมต่อสายน้ำด้วยการหารือร่วมกับชุมชนประมงองค์กรปกครองท้องถิ่นกรมชลประทานเพื่อปรับปรุงและพัฒนาสิ่งขวางกั้นลำน้ำ(ฝายเหมือง) ให้มีทางผ่านปลาที่เหมาะสมในพื้นที่ที่มีปิดกั้นระหว่างลำน้ำสาขาในส่วนของประเทศไทยกับแม่น้ำโขงเพื่อให้ปลาหรือสัตว์น้ำสามารถเดินทางผ่านสิ่งขวางกั้นลำน้ำขึ้นไปหาแหล่งผสมพันธุ์วางไข่และแหล่งอาหารในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแม่น้ำโขงในส่วนของประเทศไทยเป็นแนวเขตพรมแดนและมีความต่อเนื่องกับประเทศเพื่อนบ้านอีก3 ประเทศได้แก่สปป. ลาวกัมพูชาและเวียดนามซึ่งประชากรสัตว์น้ำในแม่น้ำโขง
โดยส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มที่มีการเดินทางย้ายถิ่นซึ่งจะมีแหล่งอาศัยสัตว์น้ำในแต่ละช่วงวัยที่แตกต่างกันทั้งแหล่งสืบพันธุ์วางไข่แหล่งเลี้ยงตัววัยอ่อนแหล่งหาอาหารและเติบโตและแหล่งหลบภัยช่วงแล้งดังนั้นการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในแม่น้ำโขงต้องบูรณาการจัดการแบบข้ามพรมแดนซึ่งต้องมีความร่วมมือในภูมิภาคที่จะต้องดำเนินการในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันไปทั้งนี้การจะดำเนินการใดๆในลำน้ำโขงจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง(Mekong River Commission – MRC) ในการบริหารจัดการร่วมกันของทุกประเทศสมาชิกเพราะแม่น้ำโขงไม่ได้อยู่ในอำนาจการบริหารจัดการของประเทศไทยเพียงประเทศเดียว
สิ่งสำคัญที่สุด ก็คือกรมประมงจะทำงานเคียงข้างกับพี่น้องประชาชนผู้ประกอบอาชีพประมงในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงรวมถึงระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำโขงเพื่อให้รู้เท่าทันสถานการณ์นำไปสู่การปรับตัวภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์แม่น้ำโขงที่เกิดขึ้นซึ่งณปัจจุบันมีความผันผวนอย่างไม่มีวันกลับไปเป็นเช่นในอดีตอีกแล้ว
ดังนั้น การติดตามข้อมูลข่าวสารสถานการณ์จากระบบFisheries watch ของกรมประมงอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งกรมประมงจะเพิ่มช่องทางการสื่อสารผ่านระบบโซเซียลมีเดียที่สามารถกระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็วเป็นวงกว้างและเข้าถึงเกษตรกรได้โดยภาษาที่เข้าใจง่ายไม่ว่าจะเป็นการเตือนภัยข้อมูลทางวิชาการข้อมูลการใช้ความช่วยเหลือหรือข้อมูลอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อไป
อธิบดีกรมประมง กล่าวยืนยันหนักแน่นว่ามาตรการทั้งหมดนี้มิใช่เพียงเป็นการดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแต่กรมประมงมีความมุ่งหวังที่จะสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประชากรในพื้นที่ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้เกิดความยั่งยืน
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
Click Donate Support Web