WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ปีติพงศ์ เสนอครม.ของบ 2 พันลบ.กระตุ้นด้านเกษตร ปรับชลประทาน-ทำโซนนิ่ง

    นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ (1 ต.ค.) กระทรวงฯ จะเสนอใช้งบ 2 พันล้านบาทสำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ 2 เรื่อง คือ 1.การสร้างงานในชนบทในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำ รองรับการปลูกข้าวนาปรัง ตรงนี้ถือเป็นภารกิจของกรมชลประทาน ซึ่งมีงบประจำปีอยู่ส่วนหนึ่ง งบประจำปี 2557 อีกส่วน และถ้าจำเป็นอาจจะขอเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการปรับปรุงบำรุงคลองต่างๆ ซึ่งไม่ได้ทำมา 3-4 ปีแล้ว

   "แผนที่เราจะเสนอครม.พรุ่งนี้ เป็น 1 ในแพ็คเกจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาล....ตอนนี้เรามีเงินประมาณเกือบ 2 พันล้านบาท เป็นเงินที่ค้างมาจากไทยเข้มแข็งส่วนหนึ่งและเป็นเงินของกระทรวงเกษตรฯอีกส่วนหนึ่ง อาจจะขอเพิ่มเติมเพราะงานที่ต้องซ่องบำรุงมีเยอะและต้องซ่อมบำรุงทั่วประเทศ คาดว่าคงจะทำในฤดูกาลที่จะถึงนี้ราวเดือนพ.ย." รมว.เกษตรฯ กล่าวผ่านรายการโทรทัศน์

   2.การปรับโครงสร้างจัดโซนนิ่งพืชบางชนิดให้สอดคล้องกับเขตเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งกำลังคำนวณงบประมาณ คาดว่าจะสัปดาห์หน้าจะมีรายละเอียดที่ชัดเจน แต่เบื้องต้นมีแผนจะทำกับยางและข้าวก่อน แต่คาดว่าจะมี 3 วิธีการ คือ 1.ปรับให้เข้ากับเขตเศรษฐกิจ 2.เร่งเกษตรกรให้มีขีดความสามารถในการผลิตของมีคุณภาพ 3.ทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เช่น ทำไร่นาสวนผสม

     นายปีติพงศ์ กล่าวว่า ในส่วนของยางพารา ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งคือยางที่ปลูกในเขตหวงห้ามขยายตัวไปเยอะ ซึ่งกระทรวงฯกำลังหารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนการปรับโครงสร้างยางพาราเท่าที่ตนได้รับฟังความเห็นจากเกษตรกรพบว่าส่วนใหญ่อยากปรับบางส่วนให้เป็นกษตรผสมผสานแทนที่จะตัดต้นยางทั้งหมด ขณะเดียวกันจะเพิ่มขีดความสามารถขององค์การสวนยาง (อสย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการตัดโค่นต้นยางจาก 2 แสนไร่เป็น 4 แสนไร่ซึ่งจะลดอุปทานไปได้ประมาณ 6 ปี เพราะต้นยางใหม่ที่จะปลูกต้องใช้เวลา 6 ปี

     สำหรับ ยางในสต็อกประมาณ 2.1 แสนตันซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการทำสัญญาซื้อขายกับบริษัท ยี่ฟังเหลียน จำนวน 1 แสนตันนั้น ล่าสุดพบว่าบริษัทดังกล่าวทำผิดสัญญา ไม่มีการวางเงิน ไม่มีการเปิด L/C จึงได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายตรวจสอบรายละเอียดสัญญาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

    ในส่วนของข่าวยางในสต็อกเน่า ได้ให้กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบแล้วว่าคุณภาพยางในสต็อกเป็นอย่างไร

    ส่วนเรื่องการระบายยางในสต็อกนั้นก็ต้องดูให้รอบคอบ เพราะขณะนี้ราคายางตก ต้องดูเงื่อนไขทางผู้ซื้อ แต่ถ้าไม่ระบายก็จะมีภาระค่าใช้จ่ายตามมา

     "ซี๊ซั้วทำไม่ได้ ต้องระมัดระวังมากเรื่องแบบนี้ เพราะรับอาสามาช่วยประชาชน ก็ต้องดูแลผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก"รมว.เกษตรฯ กล่าว

                        อินโฟเควสท์

      ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดสัมมนา YEAR END 2557 ภายใต้หัวข้อ "คืนความสุขให้เกษตรกรไทย ด้วยงานวิจัยและพัฒนา" ของกรมวิชาการเกษตร พร้อมทั้งมอบแนวนโยบายการทำงานให้กับกรมวิชาการเกษตร ว่า งานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรถือเป็นผลผลิตที่สำคัญและได้รับการยอมรับในระดับสากล จากที่เคยได้รับการเสนอชื่องานวิจัยเข้าชิงในสาขาพืชจากรางวัลโนเบล ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจะต้องนำจุดแข็งดังกล่าวมาพัฒนาต่อยอด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการนำงานวิจัยมาช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งการช่วยแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วน ปานกลาง และระยะยาว

     สำหรับ แนวทางนโยบายที่มอบให้แก่กรมวิชาการเกษตรรับไปดำเนินการแบ่งเป็น 2 แนวทาง 1.การวิจัยพัฒนาในเชิงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่กำลังมีปัญหา เช่น กรณีปัญหายาง พาราในสต๊อก กรมวิชาการเกษตรควรจะคิดค้นเทคโนโลยีการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หรือใช้ยางเป็นวัตถุดิบ เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น มากกว่าการสร้างถนนซึ่งใช้ปริมาณยางเพียง 5% เท่านั้น 2.ชุดวิจัยเพื่อการแก้ไขปัญหาให้กับสินค้าเกษตร ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะกลางและระยะยาว ทั้งสองแนวทางดังกล่าวนี้หากเกิดขึ้นจริงและปฏิบัติได้จริงชัดเจนเป็นรูปธรรมได้เร็วเท่าไหร่ จะทำให้การทำงานของกรมวิชาการเกษตรตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรให้แก่รัฐบาลและประเทศมากขึ้น

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!