- Details
- Category: เกษตร
- Published: Tuesday, 30 July 2019 16:49
- Hits: 3609
'อดิศร'ห่วงเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จัดทีมผู้บริหาร ลุยพื้นที่อีสานเช็คสถานการณ์ภัยแล้งแม่น้ำโขง
จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับผลกระทบเนื่องจากฝนทิ้งช่วงทำให้ปริมาณน้ำลดลงไม่เพียงพอต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและบางพื้นที่เริ่มพบความเสียหายแล้วนายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง จึงได้สั่งการให้ที่ปรึกษา กรมประมงผู้ตรวจกรมประมง และคณะผู้บริหารลงพื้นที่จังหวัดหนองคายเพื่อรับฟังปัญหาและผลกระทบของกลุ่มชาวประมงและผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังลุ่มน้ำโขงกรณีสถานการณ์จากการลดระดับของระดับน้ำในแม่น้ำโขงพร้อมร่วมประชุมกับแกนนำเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง7 จังหวัดภาคอีสานใน
นายธนพร ศรียากูล ที่ปรึกษากรมประมงเปิดเผยว่าจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขงเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงปลานิลในกระชังซึ่งอยู่ในพื้นที่3 อำเภอได้แก่อำเภอเมืองอำเภอท่าบ่อและอำเภอศรีเชียงใหม่โดยเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงจำนวน282 รายรวมกว่า4,160 กระชังมีผลผลิตกว่า18,000 ตันต่อปีคิดเป็นมูลค่ากว่า1,000 ล้านบาทต่อปีและยังมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีอีกด้วย
จากสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในรอบ2 สัปดาห์ที่ผ่านมาโดยสาเหตุหลักเกิดมาจากปริมาณน้ำฝนที่ลดลงมากจากปีที่ผ่านมาและเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลง3 – 4 เมตรจากปกติ ซึ่งระดับน้ำในปีนี้ต่างจากปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกันอยู่3.26 เมตร(ข้อมูลจากสำนักงานทรัพยากรน้ำภาคที่3 จังหวัดหนองคาย) โดยในช่วงวันที่18 – 19 กรกฎาคม2562 ที่ผ่านมามีอากาศร้อนจัดทำให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลในกระชังจำนวน80 – 100 รายได้รับผลกระทบเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ปลาขาดออกซิเจนและตายมีผลผลิตเสียหายกว่า100 ตันรวมมูลค่าประมาณ6 ล้านบาทกรมประมงจึงได้แนะนำให้เกษตรกรนำปลานิลที่ได้รับความเสียหายที่ลอยหัวใกล้ตายหรืออ่อนแอไปแปรรูปทำปลาร้าส่งขายให้พ่อค้าในจังหวัดใกล้เคียงกิโลกรัมละ25 บาทเพื่อบรรเทาความเสียหายจากที่ปกติปลานิลขนาด1 – 1.2 กิโลกรัมต่อตัวจะมีราคากิโลกรัมละ60 บาทส่วนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อดินภายในจังหวัดหนองคายเช่นการเลี้ยงปลาหมอปลาดุกปลานวลจันทร์ขณะนี้ยังไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวแต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำโขงล่าสุดจะมีสถานการณ์ที่ดีขึ้นแต่เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกรมประมงจึงได้มีคำแนะนำให้เกษตรกรที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเฝ้าระวังพร้อมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งโดยปฏิบัติดังนี้
1. ควรเลือกแหล่งน้ำที่ตั้งกระชังที่มีระดับน้ำลึกเพียงพอจัดวางกระชังให้เหมาะสมไม่หนาแน่นจนเกินไป
2. ควรปล่อยสัตว์น้ำลงเลี้ยงในปริมาณหนาแน่นน้อยกว่าปกติและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำขนาดใหญ่เพื่อลดระยะเวลาการเลี้ยงให้น้อยลง
3. เลือกใช้อาหารสัตว์น้ำที่มีคุณภาพและลดปริมาณให้อาหารสัตว์น้ำลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นอาหารสดเพื่อป้องกันปัญหาน้ำเน่าเสีย
4. เพิ่มความสนใจหมั่นตรวจสุขภาพสัตว์น้ำและสังเกตอาการต่างๆอย่างส่ำเสมอเพื่อจะได้แก้ไขหรือรักษาได้ทันท่วงทีกรณีเกิดอาการผิดปกติ
5. ควรทำความสะอาดกระชังอยู่เสมอเพื่อกำจัดตะกอนและเศษอาหารซึ่งเป็นการตัดวงจรชีวิตปรสิตและเชื้อโรคนอกจากนี้ยังช่วยให้กระแสน้ำไหลผ่านกระชังได้ดีซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพสัตว์น้ำ
6. จับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นมาจำหน่ายหรือบริโภคเพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำภายในกระชัง
7. เพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่ปลาในกระชังโดยการติดตั้งเครื่องพ่นน้ำลงในกระชังเลี้ยงปลาหรือเดินท่อเติมอากาศให้กับปลาที่เลี้ยงในกระชังโดยตรง
8. ควรมีการวางแผนการเลี้ยงหรืองดเว้นการเลี้ยงในช่วงหน้าแล้งโดยทำความสะอาดและซ่อมแซมกระชังเพื่อเตรียมเลี้ยงสัตว์น้ำในรอบต่อไป
ที่ปรึกษากรมประมงกล่าวทิ้งท้ายว่าจากสถานการณ์ดังกล่าวกรมประมงได้ดำเนินการเร่งช่วยเหลือเยียวยาให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากระดับน้ำโขผันผวนในจังหวัดหนองคายโดยอยู่ในขั้นตอนหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติและหารือกับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อเร่งสำรวจข้อมูลความเสียหายให้เกิดความชัดเจนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบในครั้งนี้
ในส่วนของการฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบนั้นกรมประมงจะพิจารณาของบเหลือจ่ายปี63 ให้ผลิตลูกพันธุ์ปลานิลแจกเกษตรผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ในครั้งนี้และในอนาคตกรมประมงจะนำการแจ้งเตือนmultiple sensor เพื่อแจ้งเตือนภัยด้านการประมงโดยเฉพาะซึ่งเป็นการแจ้งเตือนระดับน้ำและวัดคุณสมบัติของน้ำในลุ่มน้ำโขงเช่นแจ้งเตือนระดับค่าออกซิเจนในน้ำระดับความเป็นกรดด่างระดับของแอมโมเนียระดับความขุ่นของน้ำเป็นต้นเพื่อให้เกษตกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในลุ่มน้ำโขงได้ทราบถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่ออาชีพของตนได้อย่างรวดเร็วและทันสถานการณ์ยิ่งขึ้นซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ในลุ่มน้ำโขงได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคตส่วนปัจจัยอื่นๆที่อาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอาทิมลพิษต่างๆจากชุมชนโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรกรสามารถใช้ช่องทางตามมาตรา58 และมาตรา59 แห่งพ.ร.ก.ประมงซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างมลพิษในพื้นที่การทำประมงที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำประสานกับสำนักงานประมงจังหวัดในพื้นที่เพื่อกำหนดมาตรการบริหารในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Click Donate Support Web