WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ธ.ก.ส.ปั๊มบัตรสินเชื่อเกษตรกรอีก 2 แสนใบเตรียมวงเงินปล่อยกู้3หมื่นล.ชาวนารูดซื้อปัจจัยการผลิต

     แนวหน้า : นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส. ) เปิดเผยว่า ในปี 2557 ธนาคารตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนบัตรสินเชื่อเกษตรกรอีก 2 แสนใบ เน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร กองทุนหมู่บ้าน วิสาหกิจชุมชน สถาบันการเงินชุมชนและเตรียมวงเงินปล่อยกู้หมุนเวียนผ่านบัตรไว้ 3  หมื่นล้านบาท

      ปัจจุบันธนาคารเปิดใช้งานบัตรสินเชื่อเกษตรกรไปแล้ว 4.08 ล้านใบ มียอดใช้จ่ายผ่านบัตร 2.8 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้  2 หมื่นล้านบาท ถึง 40.48 % ในจำนวนนี้มีเกษตรกรที่ไม่ได้เงินจำนำข้าวกว่า 4.7 แสนราย ใช้บัตรสินเชื่อเพื่อรูดซื้อปัจจัยการผลิตเป็นเงินกว่า 6,400 ล้านบาท สินค้าที่เกษตรกรนิยมใช้จ่ายผ่านบัตร คือ ปุ๋ย  66 % รองลงมา คือ น้ำมันเชื้อเพลิง 15 % เคมีภัณฑ์  10 %ที่เหลือเป็นเมล็ดพันธุ์และเครื่องมือทางการเกษตร

      โดย 50%นิยมใช้จ่ายผ่านร้านค้าเอกชน รองลงมา 32% เป็นการใช้จ่ายผ่านสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) ที่เหลือเป็นปั๊มน้ำมันและร้านค้าสหกรณ์ทั่วไปโดยมีรายได้ในรูปของค่าธรรมเนียม 1 %ของจำนวนเงินที่ใช้จ่ายผ่านบัตรจากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ คิดเป็นค่าธรรมเนียมสะสมรวม 294 ล้านบาท

      ขณะที่จำนวนลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสีย 8,791 รายจำนวนเงิน 117.67 ล้านบาท คิดเป็น 0.46  % ทั้งนี้ เนื่องจากเกษตรกรเจ้าของบัตรบางส่วนได้รับผลกระทบจากการที่ยังไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าว และผลกระทบจากอุทกภัยปี  2556

    สำหรับร้านค้าที่ขึ้นทะเบียนในโครงการมีกว่า 1.2 หมื่นร้านค้ามีเป้าหมายเพิ่มเป็น 2 หมื่นร้านค้าในสิ้นปีนี้ และได้เร่งรัดการติดตั้งเครื่องEDC ให้กับร้านค้าแล้วจำนวน 1  หมื่นร้านค้า โดยได้ส่งเสริมให้ร้านค้าปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นไปตามมาตรฐาน Q Shop ตามที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดและได้ใบรับรองแล้ว จำนวน 580 ร้านค้า   ทั้งนี้ผู้ถือบัตรสินเชื่อเกษตรกรจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ ปลอดดอกเบี้ย 1 เดือน ได้รับอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดี พร้อมชดเชยดอกเบี้ย 4 เดือน สำหรับสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ การชดเชยดอกเบี้ยจากการรูดบัตรซื้อน้ำมัน 0.52 %ทั้งนี้ไม่เกิน 3,000 บาท เป็นต้น

ชาวนา ลุ้นสรุปแหล่งกู้เงิน ธ.ก.ส.เล็งออกบัตรสินเชื่อเกษตรกรเพิ่ม 2 แสนใบ

      บ้านเมือง : นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าการชำระเงินค่าข้าวโครงการจำนำข้าวให้กับชาวนาว่า ล่าสุด ทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ หรือ สบน. จะจัดหาแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินต่างๆ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปแหล่งที่มาในการกู้ยืมเงิน ภายในสิ้นเดือน พ.ค.นี้ ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ได้ส่งคืนให้กับกระทรวงการคลังแล้ว 20,000 ล้านบาท ทำให้ยังคงเหลือยอดเงินที่จะต้องชำระคืนให้กับเกษตรกรอีก 90,000 ล้าน ซึ่งจะใช้เงินในส่วนกองทุนชาวนาในการจ่ายคืนที่ 20,000 ล้านบาท และเงินจากการระบายข้าวจากกระทรวงพาณิชย์อีก 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้เหลือวงเงินค้างจ่ายอีก 60,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รัฐบาลยังไม่อยากให้ใช้งบประมาณจากงบประมาณกลาง ออกมาใช้ในการจ่ายเงินค่าข้าวให้ชาวนา แต่จะพยายามใช้แนวทางเดิมในการขออนุมัติเงินกู้จากสถาบันการเงิน โดยรัฐบาลพร้อมที่จำทำการชี้แจงข้อมูลในโครงการรับจำนำข้าว เพื่อให้สถาบันการเงินเกิดความมั่นใจ

     นายทนุศักดิ์ กล่าวถึงผลการดำเนินงานบัตรสินเชื่อเกษตรกรว่า สิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ได้ดำเนินการเปิดใช้งานบัตรสินเชื่อเกษตรกรไป 4,081,201 ใบ มียอดใช้จ่ายผ่านบัตร สรุปบัญชีปี 2556 อยู่ที่ 28,082 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าถึง 40.48% โดยสินค้าที่นิยมใช้จ่ายผ่านบัตร ได้แก่ ปุ๋ย น้ำมันเชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ และเครื่องมือการเกษตร โดยมีการเก็บค่าธรรมเนียมจากร้านค้าที่เข้าร่วมในอัตรา 1% ของจำนวนเงินที่ลูกค้าใช้จ่ายผ่านบัตร คิดเป็นค่าธรรมเนียมสะสมรวม 294 ล้านบาท ทั้งนี้ สัดส่วนลูกหนี้ที่อาจจะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มีทั้งสิ้น 8,791 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 117.67 ล้านบาท หรือ 0.46% ของลูกหนี้ทั้งหมด เนื่องจากเจ้าของบัตรบางส่วนยังไม่ได้รับเงินจำนำข้าวคืน และผลพวงจากภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะอุทกภัยในปี 2556

    ส่วนกรณี การจ่ายคืนเงินจำนำข้าวว่า ขอความร่วมมือให้หน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่โดยตรงเข้ามาทำหน้าที่ของตัวเองอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับการทำงานของ ธ.ก.ส.ด้วย ทั้งนี้ ขณะนี้ได้จ่ายเงินคืนเกษตรกรไปเกินครึ่งแล้ว กว่า 1 แสนล้านบาท เหลือประมาณ 9 หมื่นล้านบาท คาดว่า สิ้นเดือนนี้จะสามารถคืนเงินได้ครบทั้งหมด

    นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวภายหลังร่วมเป็นประธานในการจัดกิจกรรมมอบโชคต่อที่ 2 ให้แก่ลูกค้าที่ใช้จ่ายผ่านบัตรสินเชื่อเกษตรกร พร้อมแถลงข่าว ผลการดำเนินงานโครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกร ประจำปีบัญชี 2556 ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน ธ.ก.ส. ได้จัดทำบัตรครอบคลุมเกษตรกรลูกค้าทุกกลุ่มอาชีพ พร้อมส่งเสริมร้านค้าให้ขายสินค้าอย่างมีคุณภาพ ราคายุติธรรม ทำให้เกษตรกรใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น ทั้งปริมาณและรอบการใช้จ่ายผ่านบัตร ซึ่ง ณ 31 มี.ค.57 ธนาคารได้ดำเนินการเปิดใช้งานบัตรสินเชื่อเกษตรกรไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 4,081,201 ใบ มียอดใช้จ่ายผ่านบัตร จำนวน 28,097 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 20,000 ล้านบาท ถึง 40.48% ซึ่งสินค้าที่เกษตรกรนิยมใช้จ่ายผ่านบัตร คือ ปุ๋ย 66% รองลงมา คือ น้ำมันเชื้อเพลิง 15% เคมีภัณฑ์ 10% ที่เหลือเป็นเมล็ดพันธุ์และเครื่องมือทางการเกษตร โดย 50% นิยมใช้จ่ายผ่านร้านค้าเอกชน เนื่องจากมีความสะดวกความคุ้นเคยและการบริหารจัดการมีความคล่องตัว รองลงมา 32% เป็นการใช้จ่ายผ่านสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) ที่เหลือเป็นปั๊มน้ำมันและร้านค้าสหกรณ์ทั่วไป

    ทั้งนี้ มีรายได้จากการดำเนินงานบัตรสินเชื่อในรูปของค่าธรรมเนียมในอัตรา 1% ของจำนวนเงินที่ใช้จ่ายผ่านบัตร จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ คิดเป็นค่าธรรมเนียมสะสมรวม 294 ล้านบาท มีจำนวนลูกหนี้ NPL 8,791 ราย จำนวนเงิน 117.67 ล้านบาท คิดเป็น 0.46% เนื่องจากเกษตรกรเจ้าของบัตรบางส่วนได้รับผลกระทบจากการที่ยังไม่ได้รับเงิน จากโครงการรับจำนำข้าว และผลกระทบจากอุทกภัยปี 2556

     ธ.ก.ส.มีแผนงานพัฒนาคุณภาพและบริการโครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกรในอนาคตอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเพิ่มจำนวนร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการอีก 20,000 แห่งให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ พร้อมกับการพัฒนาร้านค้าที่มีอยู่ให้ได้มาตรฐาน Q Shop การจัดทำบัตรสินเชื่อเกษตรกรเพิ่มอีก 200,000 ใบ เพื่อให้ทั่วถึงลูกค้าที่ขึ้นทะเบียนใหม่ และจัดทำบัตรสินเชื่อสถาบัน ให้ครอบคลุมสมาชิกสถาบันต่างๆ พร้อมทั้งมอบ สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ถือบัตร ปลอดดอกเบี้ย 1 เดือน ได้รับอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดี พร้อมชดเชยดอกเบี้ย 4 เดือน สำหรับสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ การชดเชยดอกเบี้ยจากการรูดบัตรซื้อน้ำมัน 0.52% ทั้งนี้ไม่เกิน 3,000 บาท เป็นต้น

คลัง เล็งหาช่องทางหาเงินจ่ายหนี้ชาวนาที่ยังค้างอีก 9 หมื่นลบ.

    นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.การคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงพาณิชย์เตรียมขอยืมเงินงบกลางเพิ่มเติมจากกระทรวงการคลังอีก 2 หมื่นล้านบาท จากก่อนหน้านี้ยืมไปแล้ว 2 หมื่นล้านบาท เพื่อนำไปใช้จ่ายเงินให้กับชาวนาในโครงการรับจำนำข้าวนาปี ฤดูกาลผลิต 2556/57 ว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด

    สำหรับแนวทางการหาเงินเพื่อจ่ายให้ชาวนาในโครงการรับจำนำข้าวนั้น ขณะนี้มีการวางแผนไว้หลายแนวทาง และยอมรับว่าการใช้เงินงบกลางก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่คิดไว้ แต่การดำเนินการทั้งหมดจะต้องอยู่ในกรอบของกฎหมายด้วย

    "หากจะใช้เงินงบกลางเพื่อมาจ่ายให้ชาวนาอีก คงต้องหารือกับสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนเสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) พิจารณาอีกครั้ง โดยขณะนี้ยังเหลือเงินคงค้างที่ต้องจ่ายให้ชาวนาอีก 9 หมื่นล้านบาท คงจะใช้เงินจากช่องทางเดียวโดยเฉพาะงบกลางมาจ่ายคงไม่พอ ต้องหามาจากหลายทางช่วย ๆ กัน" นายทนุศักดิ์ กล่าว

    ส่วนกรณีที่จะให้มีการขยายขนาดกองทุนช่วยเหลือชาวนาเพิ่มขึ้นเป็น 4 หมื่นล้านบาท จากเดิม 2 หมื่นล้านบาทนั้น ยืนยันว่าไม่เคยมีการเสนอให้มีการดำเนินการดังกล่าวแต่อย่างใด และส่วนตัวอยากให้ยอดการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนได้ครบตามเป้าหมายภายในเดือน พ.ค.นี้จากเดิมกำหนดไว้ที่เดือน มิ.ย.57

    นายทนุศักดิ์ กล่าวอีกว่า วันที่19 พ.ค.นี้ ได้เรียกประชุมหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังทั้งหมด เพื่อหารือถึงแนวทางการทำงานในช่วงรัฐบาลรักษาการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

    ด้านนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวถึงความคืบหน้าในการจ่ายเงินให้ชาวนาในโครงการรับจำนำข้าวนาปี ฤดูกาลผลิต 2556/57 ว่า ขณะนี้ธนาคารได้จ่ายเงินให้ชาวนาแล้ว 8 แสนราย คิดเป็นวงเงิน 1.09 แสนล้านบาท ยังเหลือยอดค้างจ่ายอีกราว 7.2 แสนราย คิดเป็นวงเงิน 8.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้คาดว่าจะทยอยจ่ายให้ชาวนาได้ครบทั้งจำนวนภายในเดือน ธ.ค.57-ม.ค.58

    ในส่วนของกองทุนช่วยเหลือชาวนานั้น ยังมั่นใจว่าจะมียอดการส่งเงินสมทบครบตามเป้าหมาย 2 หมื่นล้านบาทภายในเดือน พ.ค.นี้แน่นอน เนื่องจากขณะนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) เตรียมนำเงินเข้าสมทบกองทุนแบบที่ 3 (รับผลตอบแทน 0.63%) อีกราว 9 พันล้านบาท จากปัจจุบันมียอดส่งเงินสมทบอยู่ที่ 1.11 หมื่นล้านบาท ส่วนภาระผลตอบแทนที่ธนาคารต้องจ่ายจากการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนแบบที่ 3 นั้น คาดว่าจะอยู่ที่ 80 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ได้มีการหารือกับสำนักงบประมาณแล้ว ได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดวงเงินชดเชยจากการดำเนินงานดังกล่าวให้ ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี

    "วันที่ 19 พ.ค.จะมีการประชุมคณะกรรมการธนาคาร เพื่อหารือถึงผลการดำเนินงาน และการให้ความช่วยเหลือชาวนาในโครงการรับจำนำข้าวฤดูกาลที่ผ่านมา ผลกระทบจากการดำเนินการกองทุนช่วยเหลือชาวนา รวมถึงแนวทางในระยะต่อไปในการปฏิบัติงานของธนาคารเพื่อให้เกษตรกรทั้งหมดได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง" นายลักษณ์ กล่าว

     อย่างไรก็ดี ในส่วนของการออกพันธบัตร ธ.ก.ส.นั้น ขณะนี้ได้ส่งรายละเอียดและข้อเสนอต่างๆ ที่เป็นความกังวลจากการดำเนินการดังกล่าว อาทิ ต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้นกว่าที่ ครม.กำหนด การได้รับเงินจากการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์คืนมาไม่สอดคล้องกับระยะเวลาการถือครองพันธบัตรเพื่อให้รักษาการรมว.การคลังพิจารณาแล้ว

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!