WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Agri กฤษฎา บญราช รมว.กษ. แจง กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงสาธารณสุข มีการเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักและผลไม้ตามหลักการสากล ครอบคลุมมากที่สุดเท่าที่มีการศึกษามาในประเทศ พร้อมทั้งย้ำว่าไม่มีวันที่จะทรยศต่อแผ่นดิน ตามที่ถูกกล่าวหาอย่างเด็ดขาด

        นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีผู้เขียนออกความเห็นผ่านเพจสื่อโซเชียลมีเดียถึงข้อมูลการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักและผลไม้ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันศึกษาและแถลงข่าวให้ประชาชนทราบ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา ยังไม่น่าเชื่อถือนั้น จึงได้สั่งการให้ผู้บริหารของกระทรวงเกษตรฯ ประสานงานกับผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เพื่อร่วมกันชี้แจงผลการศึกษาวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในพืช ผัก ผลไม้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อไม่ให้ประชาชนผู้บริโภคสับสน ดังนี้

      1) การเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักและผลไม้ เป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกันดำเนินการ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งในปี 2561 นี้ ได้มีการวางแผนการทำงานร่วมกันของ 4 หน่วยงาน คือ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สดจากทั่วประเทศ ครอบคลุมตั้งแต่แปลงเกษตรกร โรงคัดบรรจุผักผลไม้สด ห้างค้าปลีก ตลาดค้าส่งค้าปลีก และครัวของโรงพยาบาลรัฐ โดยเก็บตัวอย่างวิเคราะห์มากกว่า 7,000 ตัวอย่าง ซึ่งถือเป็นข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ที่ครอบคลุมมากที่สุดเท่าที่มีการศึกษามาในประเทศ ประกอบกับนักวิชาการที่เข้าร่วมศึกษาล้วนเป็นนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ซึ่งนอกจากจะได้การศึกษาขั้นอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว ผู้ศึกษาหลายท่าน ก็เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆและได้รับอนุญาตใบประกอบวิชาชีพเช่นเดียวกับผู้วิจารณ์เช่นกัน อีกทั้งการเก็บตัวอย่างและการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการมีดำเนินการตามหลักการสากล ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถประเมินสถานการณ์ของสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ในประเทศ เพื่อวางมาตรการการควบคุมและกำกับดูแล เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคได้ดีขึ้น

       2) ผลการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง จะนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานปริมาณสารพิษตกค้าง ซึ่ง ผักและผลไม้ตัวอย่างใดที่พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน หมายความว่าผักและผลไม้นั้นมาจากการเพาะปลูกที่ใช้สารเคมีไม่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นข้อมูลให้นำไปปรับปรุง การควบคุม และแนะนำเกษตรกรต่อไป ทั้งนี้ ผักและผลไม้ที่ตรวจพบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน จะนำไปประเมินความเสี่ยงอันตรายของผู้บริโภค โดยใช้วิธีการประเมินและเปรียบเทียบกับค่าความปลอดภัยที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO 3) ผลการตรวจวิเคราะห์ผักและผลไม้ รวม 7,054 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างในระดับที่เกินมาตรฐาน 790 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 11 ซึ่งทั้ง 790 ตัวอย่างนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงสาธารณสุขได้ตามลงไปตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับไปถึงแหล่งผลิตระดับแปลงเกษตรกร หรือโรงคัดบรรจุ เพื่อตักเตือนให้คำแนะนำให้ใช้สารเคมีให้ถูกต้อง รวมทั้งสั่งให้มีการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งหากแก้ไขไม่ได้ จะดำเนินการถอนใบรับรองเกษตรกรหรือใบอนุญาตของโรงคัดบรรจุ รวมทั้งการดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ซึ่งจะดำเนินการตามนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดสัดส่วนผักและผลไม้ที่ไม่ได้มาตรฐานลงให้เหลือน้อยที่สุด

      4) ผลการประเมินระดับสารพิษตกค้างที่พบในผักผลไม้ 790 ตัวอย่างที่เกินมาตรฐาน เพื่อพิจารณาความเสี่ยงอันตรายของผู้บริโภค โดยประเมินตามข้อมูลปริมาณผักผลไม้ที่คนไทยบริโภคจริง พบว่า จาก 790 ตัวอย่าง มี 10 ตัวอย่าง ที่พบสารเคมีในระดับสูงเกินระดับที่ปลอดภัย หรือคิดเป็นร้อยละ 0.14 ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจวิเคราะห์ทั้งหมด โดยส่วนใหญ่พบในส้ม ซึ่งกรณีของส้มเป็นการตรวจวิเคราะห์ส้มทั้งเปลือก ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีข้อมูลผลการศึกษาที่ชัดเจนว่า สารเคมีที่พบในส้มทั้งที่เป็นชนิดที่ตกค้างที่เปลือกหรือชนิดดูดซึม เมื่อนำส้มไปล้างทั้งผลและปอกเปลือกออกแล้ว สารพิษตกค้างลดลงมากกว่า ร้อยละ 40 - 80 และอยูในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

      ดังนั้น เมื่อผู้บริโภคปอกเปลือกและบริโภคเนื้อส้มหรือการคั้นน้ำส้ม โดยล้างเปลือกภายนอกก่อน จะสามารถลดสารพิษตกค้างให้เหลือน้อยลง จนอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก และ 5) กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงสาธารณสุข มีมาตรการที่จะกำกับดูแล เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคผักและผลไม้ ตั้งแต่การอนุญาตให้ใช้สารเคมี โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์สากล ซึ่งสารเคมีที่อนุญาตจะต้องประเมินมาแล้วว่าไม่เป็นสารก่อมะเร็ง หรือมีอันตรายร้ายแรง มีการควบคุมการใช้ให้ถูกต้องตามหลักจีเอพี วิจัยและส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์และสารธรรมชาติเพื่อลดการใช้สารเคมี มีการควบคุมตรวจสอบโรงคัดบรรจุผักและผลไม้ รวมถึงการตรวจเฝ้าระวังผักและผลไม้ในแหล่งจำหน่าย และการดำเนินการโครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการบริโภคผักและผลไม้ ซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อสุขภาพ

         

Click Donate Support Web

468x60 16

BIT FUN728x90

yobit 560 60

8

468x60 bit

468x60 DOG

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!