WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AAปลกขาวโพดเลยงสตวข่าวดี!! ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ...ได้กำไรกว่าเห็นๆ

      หลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีราวเดือนตุลาคม เกษตรกรส่วนใหญ่จะเริ่มเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2 หรือที่เรียกว่า ข้าวนาปรัง ซึ่งผลผลิตที่ได้มักมีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร เพราะปริมาณน้ำมีน้อยลง และสารอาหารในดินถูกใช้ไปแล้วจากการปลูกข้าวนาปี

         นอกจากนี้ ปริมาณข้าวในตลาดยังจะออกมามากเกินความต้องการของตลาด เพราะมีผลผลิตหลั่งไหลออกมาตลอดทั้งปี ส่งผลให้ราคาข้าวต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

        ที่ผ่านมารัฐบาลจึงได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรลองปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น ปอเทือง ข้าวโพดหวาน ถั่วเหลืองฝักสด ถั่วเขียว ถั่วลิสง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เสริมจากการปลูกพืชที่เหมาะสมกับช่วงฤดูแล้ง

       โดยเฉพาะ 'ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์'ซึ่งเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์อย่างมาก โดยบ้านเรามีความต้องการผลผลิตมากถึง 8 ล้านตัน แต่ผลิตได้เพียง 5 ล้านตันเท่านั้น ทำให้ต้องนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศ เพื่อทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

       หนึ่งในโครงการที่จะกระตุ้นให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวโพด คือ โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งหลังนา ซึ่งปีที่ผ่านมามีเกษตรกรเข้าร่วม 67,369 ราย เปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังไปปลูกข้าวโพดได้ 452,827.75 ไร่

        และยังพบด้วยว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ช่วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรมากกว่าข้าวถึง 3,000 บาท/ไร่ โดยเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด มีรายได้ 8,314.87 บาท/ไร่ ขณะที่เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรัง มีรายได้เพียง 5,201.46 บาท/ไร่ เท่านั้น

      ล่าสุด ครม. ได้อนุมัติโครงการต่อเนื่อง เรียกว่าโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา สำหรับช่วงเดือน ก.ย.61 – ก.ย.62 โดยมีมาตรการ 3 อย่างดังนี้

       1. ให้สินเชื่อแก่เกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกร ผ่าน ธ.ก.ส. เพื่อเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไร่ละ 2,000 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งรัฐบาลจะออกให้ร้อยละ 3.99 เกษตรกรเสียดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 0.01 ต่อปี โดยมีระยะเวลาการกู้ 6 เดือน

       2. ประสานเอกชนให้มารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถ้าเป็นข้าวโพดตามมาตรฐานคุณภาพของสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ความชื้นไม่เกินร้อยละ 14.5 จะรับซื้อที่ราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 8 บาท

                3. ให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร เพื่อรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกร ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี โดยรัฐบาลจ่ายให้ร้อยละ 3 สถาบันเกษตรกรจ่ายเองเพียงร้อยละ 1 เป็นระยะเวลา 6 เดือน

          แต่โครงการนี้ไม่ได้ดำเนินการในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพราะต้องเลือกพื้นที่ที่สามารถปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงฤดูแล้งได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งสำรวจแล้วมีพื้นที่ราว 2 ล้านไร่ ใน 33 จังหวัด ดังนี้

ภาคเหนือ 15 จังหวัด ได้แก่

         กำแพงเพชร เชียงราย ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ ตาก นครสวรรค์ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด ได้แก่

        นครราชสีมา นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี

ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่

ชัยนาท สระบุรี

ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ได้แก่

ปราจีนบุรี

        คำนวณดูแล้ว หากเกษตรกรมีที่ดิน 15 ไร่ กู้เงินมาไร่ละ 2,000 บาท คิดเป็นเงินกู้รวม 30,000 บาท ดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 0.01 คำนวณแล้วก็เท่ากับ 3 บาทเท่านั้น ดังนั้น ถ้าพื้นที่ 1 ไร่ ให้ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประมาณ 1,000 กิโลกรัม เอกชนรับซื้อกิโลกรัมละ 8 บาท นั่นแปลว่า เกษตรกรจะมีรายได้ไร่ละ 8,000 บาท

พื้นที่ 15 ไร่ x รายได้ต่อไร่ 8,000 บาท = 120,000 บาท

รายได้รวม 120,000 บาท - หนี้จากเงินกู้ 30,000 บาท

หักลบกันแล้วเกษตรกรที่หันมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงหน้าแล้งนี้ น่าจะได้กำไรประมาณ 90,000 บาท

       เห็นไหมครับว่า ช่วงเวลาสั้น ๆ เกษตรกรก็สามารถสร้างรายได้เสริมได้จากการเปลี่ยนไปปลูกพืชอย่างอื่นที่ตลาดกำลังต้องการ

      ประโยชน์ คือ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ดินก็ได้พักฟื้นฟูแร่ธาตุสารอาหาร เมื่อกลับไปปลูกข้าวอีกครั้งในช่วงทำนาปี ข้าวที่ได้ก็จะมีคุณภาพ และยังช่วยให้ประเทศลดการนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศได้อีกด้วย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!