WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaaA 11 วยโจ

1 วัยโจ๋ ไทย-ญี่ปุ่น-จีน ผสานความต่าง...สร้างนวัตกรรม 'สมาร์ทฟาร์มเห็ด 2018'

     โลกเปลี่ยนด้วยดิจิทัล เทคโนโลยี คลาวด์และไอโอที และนวัตกรรมที่มีการพัฒนาตลอดเวลา รศ.ดร. คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. เป็นประธานเปิด โครงการ'สมาร์ทฟาร์มเห็ด 2018' ( Project-Based Learning 'Smart Farming System for Mushroom Through Multicultural Working Environment') จัดโดยภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศและภาควิชาวิศวกรรมเกษตร ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยี ฟูกูโอกะ และบริษัท ฟูจิตะ คอปอเรชั่น แห่งประเทศญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยทงจี จากประเทศจีน โดยนำ 31 นักศึกษาคนรุ่นใหม่จาก 3 ประเทศ ไทย ญี่ปุ่น และจีน มาร่วมทำโครงการร่วมกันภายใต้โจทย์ที่ได้รับ เป็นเวลา 12 วัน ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.กรุงเทพฯ

   นับเป็นโครงการข้ามมหาวิทยาลัย ข้ามหลักสูตรและข้ามวัฒนธรรมภายใต้การดูแลของ ดร.วสุ อุดมเพทายกุล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเกษตร และผศ.บุณย์ชนะ ภู่ระหงษ์ หลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศ โดยมี 31 นักศึกษาคนรุ่นใหม่ ร่วมศึกษาความรู้และสร้างสมาร์ทฟาร์มเห็ด แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มได้รับแจกอุปกรณ์ ประกอบด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Node MCU) , โมดูลวัดความชื้นและอุณหภูมิ, ท่อพีวีซีสำหรับทำโครงสร้าง, อุปกรณ์ระบบน้ำ, ถุงก้อนเชื้อเห็ด และอุปกรณ์อื่นๆ โดยใช้เวลา 4 วัน ในการเรียนรู้และสร้างสมาร์ทฟาร์มหลังจากนั้นมีการบริหารจัดการฟาร์มและเก็บผลผลิตต่ออีก 5 วันและจัดกิจกรรมทัศนศึกษาที่แหล่งประวัติศาสตร์ในอยุธยาและปลูกป่าชายเลนที่สมุทรสาคร ซึ่งนักศึกษาสามารถสั่งงานและติดตามสถานะของระบบและการเจริญเติบโตของเห็ดผ่านไอโอที หรือสมาร์ทโฟนได้ตลอดเวลา ในวันสุดท้ายมีการนำเสนอสรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน และนำเห็ดที่ปลูกได้มาประกอบอาหารเลี้ยงอำลา

        เจีย ชิง เหมา (Jia Qing Mao) สาวน้อยนักศึกษาวัยสดใส 20 ปี จากมหาวิทยาลัย ทงจี เมืองเซียงไฮ้ ประเทศจีน เผยว่า “ประสบการณ์ที่ฉันได้ทำงานร่วมกับเพื่อนต่างชาติที่กรุงเทพฯ ครั้งนี้ ทำให้ฉันประทับใจมาก ความคิดสร้างสรรค์ เมื่อบวกกับเทคโนโลยีแล้ว เป็นสิ่งสำคัญกับนวัตกรรมในอนาคต โครงการนี้ทำให้ฉันและทีมได้ใช้ความคิดออกแบบและสร้างสมาร์ทฟาร์มต้นแบบ เป็นทรงสูง Mushroom Towerโดยจะวางอุปกรณ์ควบคุมซึ่งสั่งงานได้จากสมาร์ทโฟนไว้ที่ด้านบนสุด เพื่อง่ายต่อการติดตั้ง ฉันรับหน้าที่สร้างอุปกรณ์ระบบน้ำหยด ซึ่งประหยัดน้ำและให้น้ำได้สม่ำเสมอตามต้องการ ทำให้ฉันได้พัฒนาและเรียนรู้ในการเขียนโปรแกรม ภาษาคอมพิวเตอร์ไปด้วย รู้สึกตื่นเต้นดีใจค่ะที่ได้เห็นเห็ดงอกงาม ความสำเร็จทั้งหมดนี้ต้องอาศัยการวางแผนที่ดี เตรียมการและการบริหารจัดการให้ดี”

         วีรชิต จินตนากุล หนุ่มนักศึกษาไทย อายุ 20 ปี จากวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.กล่าวว่า “ทีมเราออกแบบดีไซน์ สมาร์ทฟาร์มเห็ด เป็นโครงสร้าง 2 ชั้น ทรงหน้าจั่วคล้ายวัดไทย ในทีมของผม นักศึกษาจีนสายโยธาเป็นหัวหน้างานโครงสร้าง ส่วนนักศึกษาไทยเรียนมาทางไอที อย่างตัวผมเองได้ดูแลในส่วนโปรแกรมซอฟท์แวร์ โดยเป็นคนเขียนโปรแกรม นักศึกษาญี่ปุ่นมีความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์ รับหน้าที่หลักต่อสายวงจร ทุกคนได้แลกเปลี่ยนความรู้ไปในตัว เจออุปสรรค เช่น ต่อวงจรผิดบ้าง ระบบเซนเซอร์ไม่ทำงานบ้าง ก็ร่วมมือกันแก้ไขจนสำเร็จ ซึ่งทำให้บรรยากาศการทำงานสนุกสนาน สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากห้องเรียนได้โดยการลงมือทำ โดยคิดวิเคราะห์ระดมข้อคิดเห็นและตัดสินใจที่เราคิดว่าเหมาะสมที่สุด เราเก็บเห็ดได้ทุกวัน งามดีมากครับ บ้านในเมืองหรือบ้านคอนโดจะมีพื้นที่แคบเล็กลง ก็สามารถทำฟาร์มเห็ดแบบนี้ได้เองบนระเบียง ซึ่งเป็นอาหารปลอดภัยจากสารเคมีด้วยครับ”

      เคนยะ คิโนชิตะ (Kenya Kinoshita) หนุ่มนักศึกษาชาวญี่ปุ่น วัย 21 ปี จากสถาบันเทคโนโลยี ฟูกูโอกะ เมืองฟูกูโอกะ กล่าวว่า “ในคอนเซ็ปท์ ระบบสมาร์ทฟาร์มเห็ด สำหรับทีมเราเป็นการนำเทคโนโลยีออโตเมชั่นมาช่วยในเรื่องการประหยัดแรงงานและต้นทุนการเกษตร เทคโนโลยีนี้เหมาะกับสังคมในยุคปัจจุบันที่มีอัตราการเกิดน้อยลง และประชากรสูงวัยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ทั้งประเทศไทยและญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่ เราดีไซน์ออกแบบสมาร์ทฟาร์มเห็ดเป็นโครงสร้างทาวเวอร์ 3 ชั้น ผมเขียนโปรแกรม สำหรับการมอนิเตอร์เห็ด ผ่านระบบ อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IOTs) ในญี่ปุ่นปัจจุบันเทคโนโลยีเกษตรอัตโนมัติก้าวหน้าเร็วมาก ช่วยตอบโจทย์ในด้านขาดแคลนแรงงานและยังช่วยลดการทำงานเหนื่อยยากในฟาร์มด้วยเทคโนโลยี ทั้งเพื่อน ๆ ไทย จีน ญี่ปุ่น เป็นกันเองและกระตือรือร้น มาช่วยกันทำงานแม้ในวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ผมหวังว่าจะนำประสบการณ์ที่ได้รับ มาปรับให้เป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคตได้เป็นอย่างดี”

        เฉิน คุน หวัง (Zhen Kun Wang) นักศึกษาหนุ่มชาวจีน อายุ 22 ปี จากมหาวิทยาลัย ทงจี ในนครเซียงไฮ้ เผยว่า “ เราได้สัมผัสกับเทคโนโลยีใหม่ ที่ใช้พหุศาสตร์หลายสาขา สิ่งที่ผมถนัดในด้านวิศวกรรมโยธา ผมจึงได้ทำหน้าที่ การออกแบบโครงสร้าง สมาร์ทฟาร์มเห็ดโดยดีไซน์เป็นทรง แบบ 4 บวก 2 คือ เสาแนวตั้งใช้ 4 และคานแนวนอนใช้ 2 และช่วยกันสร้างระบบเซ็นเซอร์ เพิ่มความชาญฉลาดให้ฟาร์มนี้ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อที่จะสามารถควบคุมฟาร์มเห็ดได้ แม้แต่เราจะเดินทางกลับไปประเทศจีนแล้ว เราก็ยังสามารถติดตามและดูแลสมาร์ทฟาร์มได้อีก โครงการนี้ทำให้ผมได้เรียนรู้และเกิดไอเดียใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ในด้านสารสนเทศปัญญาประดิษฐ์ไปต่อยอดและสร้างอนาคตได้กว้างไกลขึ้นอีก

         นับเป็นหนึ่งตัวอย่างที่ดีกิจกรรมข้ามประเทศของคนรุ่นใหม่และสถาบันการศึกษา อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในโครงการอื่นๆในอนาคตเพื่อโลกที่น่าอยู่

 

คำอธิบายภาพ

1. รศ.คมสัน มาลีสี คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ต้อนรับทีมนักศึกษาจาก ญี่ปุ่น จีน และไทย 31 คน

2. ผสานความต่าง รวมพลังสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม เรียนรู้ไปด้วยกันในโครงการ“สมาร์ทฟาร์มเห็ด 2018”

3. โครงสร้างสมาร์ทฟาร์มเห็ด ทรงทาวเวอร์ 3 ชั้น โดยกลุ่ม 1

4.โครงสร้างสมาร์ทฟาร์มเห็ด ดีไซน์ทรง 4 บวก 2 คือ เสาแนวตั้งใช้ 4 และคานแนวนอนใช้ 2 โดยกลุ่ม 2

5.โครงสร้างสมาร์ทฟาร์มเห็ด ดีไซน์เป็นทรงอุโมงค์ โดยกลุ่ม 5

6. โครงสร้างสมาร์ทฟาร์มเห็ด ออกแบบเป็นเอ็กซ์ดีไซน์ วางถุงเห็ดสลับเฉียงในแต่ละชั้น กลุ่ม 6

7. เจีย ชิง เหมา (Jia Qing Mao) สาวน้อยนักศึกษาวัยสดใส 20 ปี จากมหาวิทยาลัย ทงจี เมืองเซียงไฮ้

8. วีรชิต จินตนากุล หนุ่มนักศึกษาไทย อายุ 20 ปี จากวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.

9. เคนยะ คิโนชิตะ (Kenya Kinoshita) หนุ่มนักศึกษาชาวญี่ปุ่น วัย 21 ปี จากสถาบันเทคโนโลยี ฟูกูโอกะ เมืองฟูกูโอกะ

10. เฉิน คุน หวัง (Zhen Kun Wang) นักศึกษาหนุ่มชาวจีน อายุ 22 ปี จากมหาวิทยาลัยทงจี ในนครเซียงไฮ้

11. อุปกรณ์ สร้างฟาร์มเห็ดให้แต่ละกลุ่มออกแบบสร้างฟาร์มเห็ดอัจฉริยะ

12. โครงสร้างสมาร์ทฟาร์ม ทรงหน้าจั่วคล้ายวัดไทย โดยกลุ่ม 4

13. ระบบเซ็นเซอร์คอนโทรลน้ำหยด ตรวจเช็คอุณหภูมิ ความชื้น

14 -15 เห็ดนางฟ้า ผลิบาน ผลงานของทีมนักศึกษานานาชาติ

16 - 20 บรรยากาศการทำงานร่วมกันของคนรุ่นใหม่ จาก 3 ประเทศ เปี่ยมด้วยพลัง ความคิดสร้างสรรค์และมิตรภาพ

         

Click Donate Support Web

468x60 16

BIT FUN728x90

yobit 560 60

8

468x60 bit

468x60 DOG

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!