WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AGRIกฤษฎา บญราชรัฐผนึกโครงการเกษตรกรแปลงใหญ่-ศพก.-smart farmer ขับเคลื่อนปฏิรูปภาคเกษตร

    นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรสหกรณ์ กล่าวภายหลังเปิดการสัมมนา 'สานพลังเครือข่าย ศพก.แปลงใหญ่ Young Smart Farmer กลไกสู่การปฏิรูปภาคเกษตร'ว่า รัฐบาลมีนโยบายการปฏิรูปภาคการเกษตร โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น เกิดความภาคภูมิใจในอาชีพ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้กำหนดนโยบายใช้ตลาดนำการผลิต และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยยึดศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักดำรงชีพ

       ภายใต้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังจำเป็นที่จะต้องสร้างเกษตรกรผู้นำ เพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงภาคเกษตรกรรรมของประเทศให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขัน และก้าวทันสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ขับเคลื่อนเรื่องนี้มาโดยตลอด และได้มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จำนวน 882 ศูนย์ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน โดยเน้นการเรียนรู้จากเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเอง รวมทั้งมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ คอยเป็นพี่เลี้ยง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูกาลผลิต เพื่อให้เกษตรกรที่มาเรียนรู้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ที่ได้รับจาก ศพก.ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับไร่นาของตนเอง รวมทั้งส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มกัน ผลิต จำหน่ายและบริหารจัดการร่วมกัน ทั้งในรูปของกลุ่มเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์ เป็นการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด เชื่อมโยงการตลาด และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์ของสินค้า

       รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันสามารถสร้างเครือข่าย ศพก.เครือข่ายแปลงใหญ่ และเครือข่าย Young Smart Farmer ทั้งในระดับจังหวัด เขต และประเทศ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการปฏิรูปภาคการเกษตรโดยภาคประชาชน จำนวน 4,007 แปลง พื้นที่ 5,173,105.5 ไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวน 320,453 คน

       ในโอกาสนี้ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการยกระดับการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรแปลงใหญ่ ตามนโยบายตลาดนำการผลิต เพื่อแสดงศักยภาพทางการตลาดของสินค้าจากระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ระหว่างผู้แทนสถาบันเกษตรกร และผู้แทนบริษัทเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรรวมกลุ่มดำเนินการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามที่คู่ค้ากำหนด และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนการผลิต ในราคาที่เป็นธรรม เพื่อสร้างความมั่นใจแก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือด้านการตลาดกับบริษัทเอกชน สามารถผลักดันให้มีช่องทางการจำหน่ายผลผลิตให้กับเกษตรกร ตลอดจนการวางแผนซื้อ-ขายผลผลิตสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีตลาดรองรับ ช่วยกันรักษาเสถียรภาพของราคาผลผลิต เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรด้วย

       ด้านนายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมฯ ได้พัฒนาและสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ซึ่งความสามารถของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมาทำการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนจากทำมากได้น้อย เป็นทำน้อยได้มาก สอดคล้องกับโมเดล Thailand 4.0 เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) และการเกษตรแม่นยำสูง (Precision Farming) และนำไปสู่การพัฒนาเข้าสู่เปิดตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ ในการรวมพลังครั้งนี้มีเกษตรกรแปลงใหญ่ เกษตรกรผู้นำ ศพก. และเกษตรกรรุ่นใหม่ (young smart farmer) จะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งในอนาคตต่อไป

ก.เกษตรฯ เร่งส่งเสริมอาชีพให้แก่ ปชช.ที่ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินตามโครงการจัดที่ดินทำกินแห่งชาติ

      นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้ติดตามการดำเนินงานพัฒนาอาชีพตามจัดที่ดินทำกินแห่งชาติ (คทช.) แก่ประชาชนหรือเกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน จันทบุรี เพชรบุรี หนองบัวลำภู อุทัยธานี และอุบลราชธานี พบว่ามีพื้นที่ตามโครงการ คทช.หลายแห่งยังขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาอาชีพหรือบางพื้นที่ประชาชนที่ได้รับที่ดินหรือเครื่องมือในการพัฒนาส่งเสริมอาชีพยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้น จึงได้เร่งดำเนินการโดยมอบหมายให้สหกรณ์จังหวัด ในฐานะเลขานุการอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพระดับจังหวัดเป็นหน่วยหลัก บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนดำเนินการ ดังนี้

      1) ในกรณีที่จะมีการจัดที่ดินทำกินตามโครงการ คทช.ในพื้นที่จังหวัดใด ขอให้ส่วนราชการของกระทรวงเกษตรฯ ที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมงบประมาณ แผนงาน/โครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด /โครงสร้างพื้นฐาน ที่จำเป็นให้พร้อม เมื่อได้รับการส่งมอบรายชื่อประชาชนจากอนุกรรมการด้านจัดที่ดิน (กรมที่ดิน/ที่ดินจังหวัด มท.) จะได้ดำเนินการได้ทันที 2) ในพื้นที่จังหวัดที่เกษตรกรที่รับมอบที่ดินมาแล้ว ขอให้ตรวจสอบและหาทางพัฒนาช่วยเหลือประชาชนให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

      3) ให้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรในพื้นที่โครงการให้เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหรืองบประมาณพัฒนาจังหวัด และ 4) ให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดจัดประชุมร่วมกับ อ.พ.ก.จังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อให้สหกรณ์จังหวัดได้รายงานผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรค ในการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรตามโครงการ คทช. เพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว

     ทั้งนี้ ได้มอบหมายผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกร์และผู้ตรวจราชการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เพื่อติดตามการดำเนินงานตามโครงการ คทช.ในด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพอีกทางหนึ่งด้วย พร้อมทั้งได้มอบหมายอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ติดตามเร่งรัดการพัฒนาอาชีพ ภายใต้โครงการดังกล่าวต่อไป

      อินโฟเควสท์

ก.เกษตรฯ เดินหน้านโยบายตลาดนำการผลิต อัดงบปี 62 ยกระดับผลผลิต-บริหารจัดการน้ำ

     ไทยโพสต์ : ปีงบประมาณ 2562 ที่จะเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคมนี้ กระทรวงเกษตรฯ ยังเน้นสานต่อนโยบาย ตลาดนำการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ สร้างความเป็นธรรมด้านราคาสินค้าเกษตร รวมทั้งสนับสนุน เกษตรกรให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่ม เกษตรกร เพื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการประกอบ อาชีพเกษตรกรรม

       ทั้งนี้ ภายใต้งบประมาณ ปี 2562 ที่กระทรวงเกษตรฯ ได้ รับการจัดสรรจำนวน 111,762 ล้านบาท โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มงบประมาณรายจ่ายบุคลากรภาครัฐจำนวน 25,492 ล้านบาท 2) กลุ่มงบประมาณรายจ่ายของกระทรวง/หน่วยงาน (Function)จำนวน 25,021 ล้านบาท 3) กลุ่มงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ (Agenda) จำนวน 53,366 ล้านบาท และ 4) กลุ่มงบประมาณรายจ่ายพื้นที่ (Area) จำนวน 7,882 ล้านบาท

     กระทรวงเกษตรฯ จะเน้นดำเนินการ 2 เรื่องหลัก คือแผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร และการบริหารจัดการน้ำ วงเงินรวม 51,631 ล้านบาท แบ่งเป็นแผนงานบูรณาการพัฒนา ศักยภาพการผลิตภาคเกษตร 7,460 ล้านบาท เน้นการบริหารจัดการ สินค้าเกษตร (Product Base) และให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางพัฒนา (Farmer - Center) ส่วนการบริหารจัดการน้ำ วงเงิน 44,171 ล้านบาท ใช้เพื่อจัดหาแหล่งน้ำ เพิ่มพื้นที่ชลประทาน และบรรเทาปัญหาอุทกภัย ในพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ เป้าหมายเพื่อเพิ่ม พื้นที่ชลประทาน 213,813 ไร่

      ในส่วนแผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร วางเป้าหมายบริหารจัดการสินค้าเกษตร (Product Base) 5 รายการคือ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และยางพารา + 4 plus (สับปะรด มะพร้าว ปศุสัตว์ ประมง) ดำเนินการพัฒนาศักยภาพ กระบวนการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด เพื่อยกระดับราคาผลผลิต เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรต่อไป

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!