WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaaAIUU

'ฉัตรชัย' จัดหนัก พัง..ซากเรือประมง ต่อหน้าทูต 20 ประเทศ พร้อมโชว์ประสิทธิภาพการตรวจสอบย้อนกลับ...ยันไทยเข้มแก้ IUU

      ​​เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561 พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี นำคณะเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย จำนวน 20 ประเทศ จากสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศสมาชิกอาเซียนลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเพื่อตรวจติดตามการรื้อทำลายซากเรือประมง จำนวน 9 ลำ กลางแม่น้ำท่าจีน พร้อมนำชมการยกระดับประสิทธิภาพระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ของประเทศไทยที่ได้มาตรฐาน โดยมีผู้แทนจาก ศปมผ. กรมประมง และกรมเจ้าท่า ร่วมให้การต้อนรับ

      พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) ของประเทศไทยมีความก้าวหน้าและเห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยขณะนี้รัฐบาลไทยสามารถบริหารจัดการเรือประมงไทยได้ทั้งระบบ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ทำให้ภาพลักษณ์การประมงของไทยในสายตาชาวโลกเกิดเป็นภาพบวก เช่น สร้างความยั่งยืนให้กับทรัพยากรประมง สามารถแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใส ตรวจสอบได้ในระบบการประมงของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา ภาครัฐมีการดำเนินการอย่างเข้มข้นที่จะสร้างความชัดเจนของสถานะกองเรือประมงไทย ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรือประมงให้ถูกกฎหมายอยู่ในระบบ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลโดยกรมเจ้าท่าสามารถประกาศรายชื่อเรือประมงที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ทั้งหมดจำนวน 10,743 ลำ ส่วนเรือประมงที่ถือว่าอยู่นอกระบบอย่างถาวรไม่สามารถกลับเข้าสู่ทะเบียนเรือไทยและเทียบท่าในประเทศไทยได้อีกต่อไป มีจำนวน 6,315 ลำ และมีเรือประมงที่ผุพังแล้วต้องดำเนินการรื้อทำลายซากเรือประมงนอกระบบทะเบียนเรือไทยตาม พรบ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย มาตรา 121 เพื่อไม่ให้มีการนำไปแอบแฝงกระทำผิดกฎหมายได้อีกต่อไป อีกจำนวน 861 ลำ

     โดยภาครัฐยังได้มีการบริหารจัดการการทำประมงให้ถูกต้องปราศจากการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม โดยมีการปรับปรุงกฎหมาย พรก. การประมง พ.ศ. 2558 และที่เพิ่มเติม มีการสร้างระบบการปฏิบัติงานอย่างมีแบบแผนอันจะทำให้เกิดการทำประมงที่ยั่งยืน มีการยกระดับความร่วมมือกับนานาชาติเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการได้ทั้งระบบ ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนประมงชายฝั่งให้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนในการดูแลรักษาบริหารจัดการการทำประมงร่วมกับภาครัฐ นอกจากนี้ ยังมีการแก้ไขเรื่องของแรงงานประมงทั้งระบบไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปรับปรุงเพิ่มเติมกฎหมายคนต่างด้าวสำหรับแรงงานภาคประมง การจัดทำระบบแรงงานข้ามชาติ ซึ่งจะต้องได้มาซึ่งแรงงานประมงที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับการประมงของไทยไร้ซึ่งการค้ามนุษย์และแรงงานผิดกฎหมาย

          สำหรับ การรื้อทำลายซากเรือในวันนี้ จะมีการหรือทำลายทั้งหมด 9 ลำ จากจำนวน 44 ลำ ของจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งภาครัฐมีการดำเนินการตามกระบวนการอย่างเป็นระบบมีการสำรวจและประชาสัมพันธ์ก่อนหน้านี้ภายใน 30 วันตามระเบียบ การรื้อทำลายเช่นนี้จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนครบ 861 ลำ เพื่อกำจัด ซากเรือประมงนอกระบบทะเบียนเรือไทยให้หมดสิ้นไปจากน่านน้ำไทย ทำให้ปัญหาการใช้ซากเรือเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบซึ่ง เรื้อรังมาเป็นเวลาหลายสิบปีหมดสิ้นไปจากประเทศไทย

      พลเอกฉัตรชัย กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังได้ให้ความสำคัญในกระบวนการผลิตของสินค้าประมงโดยจะต้องมีคุณภาพมาตรฐาน และไม่ได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมาย รวมถึงสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ในทุกขั้นตอน ซึ่งปัจจุบันไทยได้มีการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าสัตว์น้ำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยแยกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบตรวจสอบย้อนกลับสำหรับสัตว์น้ำที่จับโดยเรือประมงไทย และสัตว์น้ำที่นำเข้าจากต่างประเทศ

       โดยสัตว์น้ำที่จับโดยเรือประมงไทย ได้มีการยกระดับประสิทธิภาพระบบตรวจสอบย้อนกลับเพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงทะเลได้ตลอดสายการผลิตโดยกำหนดให้เรือประมงที่จับสัตว์น้ำต้องจดบันทึกการทำการประมง (logbook) ตามความเป็นจริงทุกครั้ง และมีรายละเอียดของชนิด

สัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำ บริเวณที่จับ และเครื่องมือการทำประมง เมื่อนำสัตว์น้ำขึ้นที่ท่าเทียบเรือ ชนิดและปริมาณสัตว์น้ำที่ขึ้นท่าจะถูกรายงานโดยท่าเทียบเรือ และเมื่อมีการซื้อขายสัตว์น้ำ ผู้ซื้อผู้ขายต้องกรอกข้อมูลชนิดสัตว์น้ำและปริมาณที่ซื้อขายลงในเอกสารกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (Marine Catch Purchasing Document : MCPD) เพื่อให้มีข้อมูลในการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของสัตว์น้ำได้ทุกขั้นตอนตลอดสายการผลิต

        ส่วนสัตว์น้ำที่นำเข้าจากต่างประเทศ ได้มีการกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำจากการประมง IUU เข้ามายังประเทศไทยในทุกช่องทางของการนำเข้า ทั้งทางเรือ บก และทางอากาศเช่นกัน โดยก่อนที่กรมประมงจะอนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำ จะต้องมีการตรวจสอบสัตว์น้ำและเอกสารต่าง ๆ เช่น catch certificate, Logbook ใบอนุญาตทำการประมง พฤติกรรมเรือ เส้นทางเดินเรือ (AIS Tracking) ข้อมูลการทำการประมง เป็นต้น หากข้อมูลถูกต้องจึงจะอนุญาตให้นำเข้าต่อไป โดยจะมีการออกหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำนำเข้า (Import movement document; IMD) ให้กับผู้นำเข้าสัตว์น้ำ ซึ่งเอกสารดังกล่าวจะแสดงถึงแหล่งที่มาของสัตว์น้ำ ข้อมูลชนิด และปริมาณสัตว์น้ำที่นำเข้า รวมถึงชื่อผู้ซื้อสัตว์น้ำ ซึ่งจะทำให้ตามสอบได้ตลอดสายการผลิต นอกจากนี้ ได้มีการเพิ่มมาตรการป้องกันการสวมน้ำหนักสัตว์น้ำ โดยสุ่มตรวจการชั่งน้ำหนักปลาทูน่าที่โรงงานในช่วงเวลากลางคืน โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้สุ่มตรวจไปแล้ว 50 ครั้ง ใน 20 โรงงาน ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดนครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสงขลา

      นอกจากนี้ ยังได้ปฏิรูประบบการตรวจสอบย้อนกลับ โดยยกระดับและพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ (IT database system) ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. ระบบตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำที่จับจากเรือประมงไทย (Thai Flagged Catch Certification System; TF) และ 2. ระบบตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำนำเข้า (PSM and Processing Statement linked System, PPS) เพื่อให้สามารถตามสอบเส้นทางไหลของสัตว์น้ำ (Physical Flow)ได้อย่างรวดเร็วตลอดสายการผลิต ตั้งแต่การนำเข้าสัตว์น้ำ การขึ้นท่าสัตว์น้ำ การกระจายสัตว์น้ำ การแปรรูป

      การออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ (catch certificate) การออกใบรับรองการแปรรูปสัตว์น้ำ (Processing Statement) ตลอดจนถึงกระบวนการสุดท้าย คือ การส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมถึงได้เพิ่มฟังก์ชั่นตรวจสอบอัตโนมัติ (automatic cross-checking) ในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้การควบคุมเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการจัดการได้มากยิ่งขึ้น

    ทั้งนี้ ผลของการพลิกโฉมหน้าระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประมงเพื่อการส่งออก นอกจากจะเป็นการยกระดับคุณภาพกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับได้ครบวงจรเหนือระดับมาตรฐานสากลแล้ว ยังทำให้เกิดความรวดเร็วในการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ (catch certificate) ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการส่งออกสินค้าไปยังประเทศคู่ค้าทั่วโลก จากเดิมใช้เวลา 5 วัน ลดเหลือเพียง 3 วัน ทำให้สินค้าประมงไทยเป็นที่ยอมรับ มีความโปร่งใส ลดต้นทุนผู้ประกอบการ เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

     พลเอกฉัตรชัย กล่าวในตอนท้ายว่า การที่เอกอัครราชทูตและผู้แทนสถานทูตต่าง ๆ เข้าเยี่ยมชมระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประมงไทยในครั้งนี้ จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงเส้นทางของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ตั้งแต่การจับสัตว์น้ำขึ้นมาจากทะเล ผ่านกระบวนการขึ้นท่า ทั้งจากในและต่างประเทศ ส่งต่อเข้ากระบวนการผลิตในโรงงาน จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ประมงเตรียมพร้อมสำหรับการส่งออก ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน เพื่อให้นานาประเทศเกิดความมั่นใจและเชื่อถือว่าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของประเทศไทย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดจากการ

     ทำประมง IUU นอกจากนั้น ยังเป็นการแสดงให้เห็นบทบาทนำของประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียนที่การทำประมงทั้งระบบว่ามีคุณภาพและมาตรฐานเหนือระดับสากล มีความโปร่งใส และรับผิดชอบในธรรมาภิบาลทางทะเลของโลกด้วย

         

Click Donate Support Web

468x60 16

BIT FUN728x90

yobit 560 60

8

468x60 bit

468x60 DOG

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!