WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CPFณรงค เจยมใจบรรจงซีพีเอฟ ขึ้นทะเบียนเกษตรพันธสัญญา ประกาศเป็นภาคปศุสัตว์รายแรกที่ทำ 'ประกันภัย' ให้เกษตรกรรายย่อย 

      บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าปฏิบัติตาม พรบ.เกษตรพันธสัญญา ขึ้นทะเบียนเป็นหนึ่งใน 87 ผู้ดำเนินโครงการเกษตรพันธสัญญา พร้อมยืดอกประกาศเป็นภาคปศุสัตว์รายแรกที่ทำ 'ประกันภัย' เข้ารองรับความเสี่ยงแทนเกษตรกรรายย่อย หลังปรับปรุงสัญญาตามแนวทางสากลที่ FAO ยอมรับ ตอกย้ำการช่วยเหลือเกษตรกรกว่า 5,000 รายของบริษัทให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนมากว่า  40 ปี

     นายณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยถึง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรในระบบเกษตรพันธสัญญาแจ้งขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจต่อสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าบริษัทฯได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    “วันนี้ สังคมคงรับรู้แล้วว่าระบบเกษตรพันธสัญญาไม่ได้มีเพียงซีพีเอฟรายเดียวที่ดำเนินการอยู่ แต่มีผู้ประกอบการถึง 87 รายที่มีส่วนช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถดำเนินธุรกิจหรือกิจการภาคเกษตรได้ โดยซีพีเอฟได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรในระบบเกษตรพันธสัญญาและจัดทำหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ของพรบ.ฯ เรียบร้อยแล้ว”นายณรงค์กล่าวและว่าปัจจุบันซีพีเอฟมีเกษตรกรในระบบเกษตรพันธสัญญาอยู่ 5,960 คู่สัญญา ครอบคลุมการเลี้ยงไก่เนื้อ ไก่ไข่ และสุกร โดย 60% ของจำนวนคู่สัญญานี้เป็นเกษตรกรที่อยู่กับบริษัทมายาวนานกว่า 10 ปี

      นอกเหนือจากการดำเนินการต่างๆ ตามที่ พรบ.ฯ กำหนดแล้ว ซีพีเอฟยังถือเป็นผู้ประกอบการด้านปศุสัตว์รายแรกที่ให้ความสำคัญเรื่องการบริหารความเสี่ยงแทนเกษตรกรรายย่อยในประเภทประกันรายได้ (หรือฝากเลี้ยง) ซึ่งปกติบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบผลผลิตทั้งหมด และจะเพิ่ม “การประกันภัย” เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของโรงเรือนและอุปกรณ์หากเกิดภัยพิบัติ โดยที่โรงเรือนและอุปกรณ์นี้เป็นทรัพย์สินของเกษตรกรเอง เชื่อว่าการประกันภัยความเสี่ยงนี้จะเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจ มั่นคงและสร้างความยั่งยืนแก่เกษตรกรอีกส่วนหนึ่ง

      “ตามปกติเกษตรกรรายใหม่ จะมีเงื่อนไขของสถาบันการเงินให้ทำประกันโรงเรือนและอุปกรณ์เป็นเวลา 8 ปี แต่หลังจากชำระหนี้เงินกู้ครบถ้วน เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะไม่ทำประกันต่อและยอมแบกรับความเสี่ยงด้วยตนเอง บริษัทจึงมีแนวคิดที่จะช่วยรองรับความเสี่ยงตรงนี้แทนเกษตรกรเพื่อสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรกลุ่มนี้”นายณรงค์กล่าว

      อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรายใหญ่ซึ่งเป็นเกษตรกรในระบบคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่งประเภทประกันราคา ที่มีการจดทะเบียนในรูปแบบบริษัทจัดเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง มีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงด้านโรงเรือนและอุปกรณ์ได้ด้วยตนเองจึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่บริษัทจะทำประกันภัยดังกล่าว

     ทั้งนี้ บริษัทได้พัฒนาปรับปรุงสัญญาโดยอิงแนวทางสากลของ UNIDROT (The International Institute for the Unification of Private Law) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระทางกฎหมายสากลอันดับ 1 ของโลก มาสร้างมาตรฐานในการดำเนินโครงการคอนแทร็คฟาร์มที่ดี เน้นความสำคัญของเกษตรกรในฐานะพันธมิตรธุรกิจที่เติบโตไปด้วยกัน สัญญาของซีพีเอฟฉบับดังกล่าวได้รับการประเมินจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้วว่า มีความเป็นธรรมและเป็นสากล ขณะเดียวกัน องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO-Food and Agriculture Organization of the United Nations) ยังให้การยอมรับโดยนำไปเป็นตัวอย่างในหลายประเทศ   

       อนึ่ง ซีพีเอฟได้ริเริ่มโครงการคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่งภายใต้การส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยเลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่ปี 2518 เพื่อส่งเสริมอาชีพและรายได้แก่เกษตรกรไทย โดยให้การสนับสนุนเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ องค์ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนบริหารจัดการแหล่งรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการดำเนินกิจการของเกษตรกร ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงแน่นอน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและส่งลูกหลานให้ได้รับการศึกษาในระดับสูง 

     “เมื่อมีกฎหมายขึ้นมากำกับดูแลเกษตรพันธสัญญาเช่นนี้ ผมเชื่อว่าจะเกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย การแบ่งงานกันทำระหว่างผู้ประกอบการกับเกษตรกรคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ดียิ่งขึ้น”นายณรงค์กล่าวทิ้งท้าย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!