WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ปัจจัยลบกดดันส่งออกกุ้งไทยปี’57 หดตัวต่อเป็นปีที่ 3 อีกราว 20% ... หลังหดตัว 22% ในช่วง 5 เดือนแรก

ปัจจัยลบกดดันส่งออกกุ้งไทยปี’57 หดตัวต่อเป็นปีที่ 3 อีกราว 20% ... หลังหดตัว 22% ในช่วง 5 เดือนแรก
กง  ในระยะที่ผ่านมา ทิศทางการส่งออกกุ้งของไทยไปในตลาดโลกต้องประสบกับความยากลำบากจากหลากหลายปัจจัยลบทั้งในและต่างประเทศ ที่สำคัญคือ การขาดแคลนวัตถุดิบจากภาวะระบาดของโรคตายด่วน (Early Mortality Syndrome: EMS) และประเด็นด้านแรงงาน ซึ่งความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนในการดำเนินการเพื่อคลี่คลายปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและการเรียกฟื้นคืนความเชื่อมั่นในบรรดาคู่ค้าที่นำเข้าสินค้าจากไทย จะยังคงเป็นความท้าทายสำหรับการกำหนดบทบาทของไทยในฐานะผู้ส่งออกกุ้งหลักของโลกในระยะข้างหน้า ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันที่ยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง คาดส่งออกกุ้งของไทยในปี 2557 หดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 อีกราวร้อยละ 20  
  จากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งที่ลากยาวมานับตั้งแต่ปลายปี 2555 ต่อปี 2556 จนถึงปัจจุบันล่วงเข้ากลางปี 2557 สถานการณ์ก็ยังไม่สามารถที่จะคลี่คลายกลับมาสู่ภาวะปกติได้ ถึงแม้ว่าทุกฝ่ายจะพยายามเร่งแก้ไข ส่งผลให้การส่งออกกุ้ง (สด แช่เย็นแช่แข็ง/ แห้ง/ ต้มสุกแช่เย็น/ กระป๋อง/ แปรรูป) ของไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2557 บันทึกการหดตัวลงร้อยละ 22.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) ด้วยมูลค่า 691 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเนื่องจากในปี 2556 ที่หดตัวสูงถึงเกือบร้อยละ 27 ทั้งนี้ ภาพการหดตัวในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เกิดขึ้นในทุกตลาดส่งออกสำคัญของไทย ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 7.4 YoY) ญี่ปุ่น (หดตัวร้อยละ 36.1 YoY) สหภาพยุโรป (หดตัวร้อยละ 23.9 YoY) และอาเซียน (หดตัวร้อยละ 41.2 YoY) โดยมีเพียงบางตลาด อาทิ เยอรมนี ฮ่องกง และเกาหลีใต้ ที่มูลค่าการส่งออกยังขยายตัวได้ร้อยละ 2.9 YoY ร้อยละ 21.4 YoY และร้อยละ 5.0 YoY ตามลำดับ

1download

 

 

          คลิกอ่านเพิ่มเติม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!