WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

จับตาญี่ปุ่นขึ้นภาษีการบริโภค : คาดรัฐบาลประคับประคองเพื่อลดผลกระทบระยะสั้น

จับตาญี่ปุ่นขึ้นภาษีการบริโภค : คาดรัฐบาลประคับประคองเพื่อลดผลกระทบระยะสั้น
tax ภาษ  การเดินหน้าขึ้นภาษีการบริโภคของญี่ปุ่น จากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 8 ในวันที่ 1 เม.ย.2557 ก่อนที่จะปรับขึ้นอีกครั้งเป็นร้อยละ 10 ในเดือนต.ค.2558 นับเป็นประเด็นท้าทายต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น ที่กำลังถูกจับตามองอยู่ในเวลานี้ เนื่องจากอาจกระทบต่อการบริโภคของประชาชนที่มีความเปราะบางอยู่แล้วให้อยู่ในภาวะซบเซาลงไปอีก อีกทั้งยังอาจกระทบต่อจังหวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายใต้แผนการฟื้นฟูประเทศของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ที่ดำเนินมาตั้งแต่ต้นปี 2556
  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจจากการปรับขึ้นภาษีการบริโภคของญี่ปุ่น และวิเคราะห์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น รวมถึงการส่งออกของไทยไปยังญี่ปุ่นในระยะข้างหน้า พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ การขึ้นภาษีฯ อาจกระทบการจับจ่ายระยะสั้น แต่อาจบรรเทาลงได้ด้วยหลายมาตรการกระตุ้น การขึ้นภาษีการบริโภคจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 8 ในเดือนเม.ย.2557 อาจส่งผลต่อการบริโภคของประชาชนญี่ปุ่นในระยะสั้น ผ่านผลของราคาสินค้าสุทธิที่ปรับเพิ่มขึ้น (Price Effect) และรายได้ซึ่งแม้ได้รับการปรับขึ้นแล้ว แต่อาจไม่เพียงพอที่จะรักษาระดับอำนาจซื้อเดิม (Income Effect) โดยแม้ล่าสุดมีสัญญาณการปรับขึ้นค่าจ้างในธุรกิจขนาดใหญ่บ้างแล้ว อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ และเหล็ก อีกทั้งค่าจ้างเฉลี่ย (ไม่รวมโบนัสและค่าจ้างล่วงเวลา) ของธุรกิจที่มีลูกจ้าง 5 คนขึ้นไป  ในเดือนม.ค.2557 ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 20 เดือนที่ร้อยละ 0.1 (YoY) แต่ก็ยังต้องจับตาต่อไปว่า แนวโน้มการเพิ่มค่าจ้างดังกล่าวจะสามารถรักษาระดับอำนาจซื้อของผู้บริโภคในญี่ปุ่นในปี 2557 ได้หรือไม่ ทั้งนี้ ตลาดประเมินว่า การขึ้นภาษีการบริโภคครั้งนี้อาจสร้างภาระทางการเงินเพิ่มขึ้นแก่ประชาชนรวม 6.0-7.2 ล้านล้านเยน (เทียบเท่าร้อยละ 1.25 – 1.5 ของจีดีพี) ซึ่งอาจก่อผลกระทบเชิงลบต่อจีดีพีได้ประมาณร้อยละ 0.4-0.8 ของจีดีพี  

1download

 

 

           คลิกอ่านเพิ่มเติม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!