WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

วิกฤติภัยแล้งในหลายภูมิภาค...ปัจจัยเสี่ยงดันราคาอาหารโลกสูงขึ้น

วิกฤติภัยแล้งในหลายภูมิภาค...ปัจจัยเสี่ยงดันราคาอาหารโลกสูงขึ้น
 021 ภยแลง ภาวะภัยแล้งครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 56 ปีของสหรัฐฯ สร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองจำนวนมหาศาล ซึ่งเกิดขึ้นครอบคลุมพื้นที่กว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ (พื้นที่ใน 26 มลรัฐ โดยเฉพาะพื้นที่มิดเวสต์ ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรสำคัญของสหรัฐฯ) กลายเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ราคาข้าวโพดและถั่วเหลืองพุ่งขึ้นทำสถิติสูงเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ของโลก
  นอกจากนี้ สำนักงานพยากรณ์สภาพอากาศมหาสมุทร และชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NOAA) ยังคาดว่าสภาพอากาศแห้งแล้งดังกล่าวนี้อาจยังคงอยู่ต่อไปจนถึงต้นไตรมาส 4 ปี 2555 ขณะที่ปรากฏการณ์ภาวะแห้งแล้งนี้ยังเกิดขึ้นในอีกหลายประเทศที่เป็นผู้ผลิตพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญ อาทิ บราซิล อาร์เจนตินา และอินเดีย ส่งผลให้ราคาธัญพืชหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้น ทั้งข้าวโพด ถั่วเหลือง และข้าวสาลี ขณะเดียวกัน เมื่อองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่งเริ่มออกมาเตือนถึงความเสี่ยงต่อวิกฤติราคาอาหารในปี 2556 ที่อาจย้อนกลับมาอีกครั้งหลังจากที่เคยเกิดขึ้นในปี 2551 และ 2554 จึงยิ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนอาหารทั่วโลก และภาวะเงินเฟ้อตามมาอีกด้วย
  ปริมาณผลผลิตธัญพืชที่ลดลงจากภาวะภัยแล้งดังกล่าว เป็นแรงกดดันให้ดัชนีราคาอาหารในตลาดโลก ซึ่งรายงานโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO (Food and Agriculture Organization of the United Nations) มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยในเดือนกรกฎาคม 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 จากเดือนมิถุนายน 2555 ที่ 200.8 จุด มาอยู่ที่ 213.1 จุด (ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 ที่ 210.5 จุด) เนื่องจากได้รับแรงกดดันส่วนใหญ่มาจากการปรับขึ้นของราคาธัญพืช โดยดัชนีราคาธัญพืชเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน  2555 ร้อยละ 17.1 มาอยู่ที่ 259.9 จุด ในเดือนกรกฎาคม 2555 (ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 ที่ 223.9 จุด) ขณะที่ราคาสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ในตลาดโลกเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) ยังคาดว่าผู้บริโภคอาจต้องเผชิญราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 3-4 ในปี 2556 โดยเฉพาะราคาไก่ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเป็นอันดับแรก เนื่องจากไก่มีระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น จึงทำให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนได้เร็วกว่าปศุสัตว์ประเภทอื่น

1download

 

 

          คลิกอ่านเพิ่มเติม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!