WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การลงทุนจีนในไทย แนวโน้มขยายตัวรองรับการเข้าสู่ AEC

การลงทุนจีนในไทย แนวโน้มขยายตัวรองรับการเข้าสู่ AEC
 019 AEC ในปัจจุบัน จีน ครองตำแหน่งประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการค้าที่แน่นแฟ้นกับไทย ในฐานะตลาดส่งออกอันดับ 1 และแหล่งนำเข้าอันดับ 2 ของไทย ขณะที่ในด้านการลงทุน การลงทุนโดยตรงของจีนในไทยคิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 1 ของการลงทุนโดยตรงของจีนไปยังแหล่งลงทุนทั้งโลก แต่อย่างไรก็ดีเมื่อมองในด้านการเติบโตของเม็ดเงินลงทุน พบว่า มูลค่าการลงทุนโดยตรงของจีนในไทย (FDI Inflow) ในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา (2548-2554) มีทิศทางเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 25.4 ต่อปี  โดยยอดล่าสุดในปี 2554 อยู่ที่ 159.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเมื่อมองจากโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI พบว่า มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 41.9 ต่อปี  ซึ่งด้วยอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วดังกล่าว สะท้อนว่านักลงทุนจีนมีความสนใจลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นในระยะหลังอย่างน่าจับตามอง
  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ศึกษาถึงปัจจัยดึงดูดการลงทุนโดยตรงของจีนในไทย รวมถึงแนวโน้มข้างหน้า ตลอดจนข้อเสนอแนะที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวของไทย พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ไทยมีความโดดเด่นด้านที่ตั้ง ทรัพยากรธรรมชาติ และสาธารณูปโภค เมื่อเปรียบเทียบระหว่างไทยและประเทศอาเซียนอื่นๆ ในมุมมองของจีนนั้น ไทย มีจุดเด่นอยู่ที่ความได้เปรียบด้านที่ตั้ง จากการตั้งอยู่ศูนย์กลางของอาเซียน ทำให้ไทยเป็นทางเชื่อมจีนกับประเทศอาเซียนอื่นที่เป็น Island continent (มาเลเซีย, บรูไน, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, และสิงคโปร์) และยังเป็นทางเชื่อมจีนออกสู่ทะเลอีกด้วย นอกจากนั้น ในด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ไทยมีความพร้อมกว่ากลุ่ม CLMV ขณะที่ในด้านค่าจ้างแรงงาน ไทยมีค่าจ้างขั้นต่ำที่ต่ำกว่าสิงคโปร์และมาเลเซีย และแม้ค่าจ้างขั้นต่ำของไทยจะต่ำกว่าของประเทศจีน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับค่าจ้างรวมค่าสวัสดิการอื่นๆ ตามกฎหมายจีนในกลุ่ม

1download

 

          คลิกอ่านเพิ่มเติม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!