WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ไทยอาจเสียสิทธิ GSP ตามระบบใหม่ของ EU … แต่ประเด็นเฉพาะหน้า ยังต้องจับตาวิกฤตยูโรโซนและประเทศคู่แข่งขัน

ไทยอาจเสียสิทธิ GSP ตามระบบใหม่ของ EU … แต่ประเด็นเฉพาะหน้า ยังต้องจับตาวิกฤตยูโรโซนและประเทศคู่แข่งขัน
3310  สหภาพยุโรป หรือ EU (European Union) ได้ประกาศปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การให้สิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) โดยระบบ GSP ใหม่นี้ได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา EU เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557
  สาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การให้ GSP ของ EU นั้น จะยกเลิกการให้ GSP แก่ประเทศที่มีรายได้ตั้งแต่ระดับปานกลางค่อนข้างสูงขึ้นไป (Upper-Middle Income) และจะมุ่งให้สิทธิพิเศษเพื่อสนับสนุนประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งหากใช้ระบบ GSP ใหม่ จะทำให้ประเทศที่ได้รับสิทธิลดลงจาก 176 ประเทศ เหลือ 75-80 ประเทศ และทำให้มูลค่าการนำเข้าของ EU ภายใต้ระบบ GSP ใหม่ จะลดลงเหลือเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่าภายใต้ระบบ GSP เดิม
  สำหรับประเทศไทย ซึ่งถือเป็นประเทศที่ใช้สิทธิ GSP ของ EU มากเป็นอันดับ 3 รองจากอินเดียและบังคลาเทศนั้น เข้าข่ายประเทศที่จะถูกยกเลิกสิทธิ GSP เช่นกัน เนื่องจากปัจจุบัน ไทยได้รับการจัดกลุ่มโดยธนาคารโลกให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา (จากเดิมอยู่ในกลุ่ม Lower-Middle Income) ซึ่งจะมีผลให้ไทยจะต้องกลับมาเสียภาษีในอัตราปกติ (Most-Favored Nation: MFN) ภายใต้ระบบ GSP ใหม่ ทั้งนี้ โดยปกติแล้วการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์จะมีระยะเวลาให้ปรับตัวประมาณ 1 ปี ซึ่งหมายความว่าการสูญเสียสิทธิ GSP จาก EU ของไทยอาจมีผลอย่างแท้จริงประมาณเดือนมกราคม 2558

1download

 

 

         คลิกอ่านเพิ่มเติม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!