WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

แนวโน้มธุรกิจวาณิชธนกิจไทยในทศวรรษหน้า...เกาะกระแส M&A ไทยในต่างแดน เพิ่มความยั่งยืนทางธุรกิจ

แนวโน้มธุรกิจวาณิชธนกิจไทยในทศวรรษหน้า...เกาะกระแส M&A ไทยในต่างแดน เพิ่มความยั่งยืนทางธุรกิจ
3279   ภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน โดยเฉพาะการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศต่างๆ ที่แน่นแฟ้นกันมากขึ้น ได้ทำให้วัฏจักรในการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนไทย (Business Cycle) มีรอบที่สั้นลงทั้งในระยะที่ผ่านมา และในอนาคต  ซึ่งทิศทางดังกล่าว คาดว่าจะเป็นแรงหนุนสำคัญสำหรับธุรกรรมการควบรวมและซื้อกิจการ (Merge and Acquisition : M&A) ระหว่างธุรกิจไทย-ไทย และไทย-เทศ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระยะปานกลางถึงยาว    
ทั้งนี้ ธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์คงหนีไม่พ้นตัวกลางทางการเงินที่ทำหน้าที่ปรับปรุงโครงสร้างทางการเงินและแต่งองค์กรใหม่ให้กับธุรกิจเหล่านั้น  ซึ่งได้แก่ ธุรกิจวาณิชธนกิจ (Investment Banking) ที่ครอบคลุมบทบาทการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor) และการเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter) ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องและแนวโน้มที่น่าสนใจไว้ ดังนี้
  ธุรกิจวาณิชธนกิจ...ได้รับแรงหนุนจากการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินมากกว่าผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ จากกระแสนิยมของการดำเนินธุรกรรม M&A ที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่งผลให้จุดสนใจของธุรกิจวาณิชธนกิจจะอยู่ที่ธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน มากกว่าการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ดังจะเห็นได้จากการที่ส่วนแบ่งรายได้ธุรกิจวาณิชธนกิจในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2550-2554) นั้น มาจากที่ปรึกษาทางการเงินที่เฉลี่ยแล้วสูงกว่าเกือบ 70% ต่อรายได้จากธุรกิจวาณิชธนกิจรวม รวมทั้งรายได้จากธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ประมาณ 8% ต่อปี เทียบกับรายได้จากการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่หดตัว 7.9% ซึ่งส่วนหนึ่งอาจสะท้อนภาวะตลาดทุนไทยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ที่ค่อนข้างซบเซาและผันผวน หลังจากเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2551
โดยแรงขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับบริการที่ปรึกษาทางการเงิน

1download

 

          คลิกอ่านเพิ่มเติม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!