WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การบริหารจัดการหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ...กับหลากประเด็นที่ยังต้องติดตาม

การบริหารจัดการหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ...กับหลากประเด็นที่ยังต้องติดตาม
3245   ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ อยู่ในความสนใจและได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากแนวทางแก้ไขตามรายละเอียดที่ระบุใน “พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555” (ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบิกษาเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2555 เพื่อมีผลบังคับใช้ในวันถัดไป) ได้ระบุถึงแนวทางการชำระคืนหนี้ที่ต่างไปจากเดิม อันได้แก่ เงินสมทบจากสถาบันการเงิน   ทั้งนี้ แม้ว่าความชัดเจนด้านบทสรุปของผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ไทย ขึ้นกับการประกาศรายละเอียดจากทางการเพิ่มเติม  แต่ก็ยังมีอีกหลายประเด็นที่รอความชัดเจน เพราะอาจมีผลต่อการดำเนินงานของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทิศทางของระบบสถาบันการเงินไทยในระยะปานกลางถึงยาว
   ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจจาก พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 ไว้ดังนี้
   หนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ล่าสุด อยู่ในรูปพันธบัตรรัฐบาลมูลค่าสูงถึง 1.174 ล้านล้านบาท มาจากไหน ?  ในปี 2545 ได้มีการประมาณการความเสียหายสุทธิของกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อนำไปสู่การชดเชยความเสียหายจากทางการในลักษณะเบ็ดเสร็จ ด้วยการออกพันธบัตรก้อนสุดท้าย ซึ่งประมาณการความเสียหายสุทธิในครั้งนั้น กล่าวถึงที่ระดับ 1.4 ล้านล้านบาท โดยประมาณ 40% ของจำนวนดังกล่าว เป็นความเสียหายสุทธิจากการให้ความช่วยเหลือผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ และการให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่อง (56 สถาบันการเงินที่ปิดกิจการ และสถาบันการเงินอื่นๆ)  ขณะที่ ความเสียหายสุทธิส่วนที่เหลือ สะท้อนประมาณการผลขาดทุนสุทธิจากการถือหุ้นในสถาบันการเงินที่ทางการแทรกแซง และจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ซึ่งคงรวมถึงภาระเงินเพิ่มทุน/แปลงหนี้เป็นทุนให้กับสถาบันการเงินภายใต้โครงการ 14 สิงหาคม 2541 ด้วย  

1download

 

          คลิกอ่านเพิ่มเติม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!