WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บทความเผยแพร่ วันที่ 30 เม.ย. 2555 ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย

บทความเผยแพร่ วันที่ 30 เม.ย. 2555 ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย
 006 KR ศนยวจยกสกรไทย  ส่งออกไทยไปจีนในไตรมาส 1/2555...เติบโตอ่อนแรงสุดในรอบ 2.5 ปี
   แนวโน้มธุรกิจวาณิชธนกิจไทยในทศวรรษหน้า...เกาะกระแส M&A ไทยในต่างแดน เพิ่มความยั่งยืนทางธุรกิจ
   เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2555 อาจขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 จากแรงฉุดของการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม
ประเด็นเด่นวันนี้
   GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 1/2555 (Advance หรือเป็นตัวเลขประมาณการรอบแรก) ขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี
   ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยเดือนมี.ค. 2555 ฟื้นตัวต่อเนื่อง
อัตราแลกเปลี่ยน
สกุลเงิน    30 เม.ย. 55 (ล่าสุด)    27 เม.ย. 55 (ปิด)
USD/THB    30.76    30.77
USD/JPY    80.16    80.24
EUR/USD    1.3218    1.3252
   เงินบาทแกว่งตัวในกรอบแคบ ท่ามกลางการชะลอธุรกรรมของนักลงทุนบางส่วนก่อนวันหยุด และการรอประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ (ทั้งดัชนีภาคการผลิต-บริการ และเครื่องชี้ตลาดแรงงาน) ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลง หลังการรายงานตัวเลข GDP ไตรมาส 1/2555 (Advance) ของสหรัฐฯ ที่ขยายตัวน้อยกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งทำให้ตลาดยังคงไม่ตัดโอกาสของการเกิดมาตรการ QE 3 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ออกไป  
ราคาทองและน้ำมัน
ราคา 30 เม.ย. 55 (ล่าสุด)    27 เม.ย. 55 (ปิด)
น้ำมัน NYMEX ($ /บาร์เรล)    104.38    104.93
ทองคำโลก ($ /ออนซ์)    1,662.52    1,662.75
ราคาน้ำมันปรับลดลง จากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน ขณะที่ราคาทองคำทรงตัวหลังจากที่ปรับขึ้นมา จากการรายงานตัวเลข GDP ไตรมาส 1/2555 ของสหรัฐฯ ที่เติบโตในอัตราต่ำกว่าคาด
ประเด็นเด่นวันนี้
   GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 1/2555 (Advance หรือเป็นตัวเลขประมาณการรอบแรก) ขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปี และชะลอลงจากอัตราการเติบโตร้อยละ 3.0 ต่อปี ในไตรมาส 4/2554 โดยแรงขับเคลื่อนสำคัญของการขยายตัวในไตรมาสแรก มาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคเป็นหลัก ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนยังให้ภาพในเชิงลบ
   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า แม้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าคาด แต่ก็ยังนับว่าแข็งแกร่งกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะยุโรป และเมื่อประกอบภาพกับตัวเลขในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในเส้นทางของการฟื้นตัวในระดับปานกลางอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม มองไปในระยะข้างหน้า ยังคงมีตัวแปรที่อาจสร้างความอ่อนไหวต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งจากปัจจัยในประเทศ ได้แก่ ปัญหาในตลาดแรงงานที่ยังมีคนว่างงานเป็นเวลานานอีกเป็นจำนวนมาก และการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่อาจได้รับผลกระทบจากการปรับตัวสูงของราคาน้ำมัน รวมไปถึงปัจจัยนอกประเทศ จากวิกฤตหนี้และแนวโน้มเศรษฐกิจถดถอยในภูมิภาคยุโรป ดังนั้น ประเด็นที่ทุกฝ่ายจับตาคงจะอยู่ที่ท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)

1download

 


         คลิกอ่านเพิ่มเติม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!