ดัชนีราคาข้าวเดือนกรกฎาคม 2554 และคาดการณ์สถานการณ์ข้าวช่วงที่เหลือของปี 54
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Tuesday, 19 January 2016 11:42
- Hits: 1384
ดัชนีราคาข้าวเดือนกรกฎาคม 2554 และคาดการณ์สถานการณ์ข้าวช่วงที่เหลือของปี 54
ราคาข้าวในเดือนสิงหาคม 2554 มีแนวโน้มสูงขึ้น ต่อเนื่องจากในเดือนกรกฎาคม 2554 จากปัจจัยหนุนสำคัญ คือ ช่วงไตรมาส3 เป็นช่วงปลายฤดูการผลิตข้าวนาปรัง และนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลใหม่ที่คาดว่า
จะประกาศในเดือนพฤศจิกายน 2554 (ต้นฤดูการผลิตข้าวนาปี 2554/55) โดยคาดว่าราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้า 15,000 บาท/ตัน และข้าวหอมมะลิ 20,000 บาท/ตัน ทำให้โรงสีและพ่อค้าข้าวเข้ามาแย่งซื้อข้าวจาก
ชาวนา เพื่อรอราคาที่คาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่ผู้ส่งออกชะลอรับคำสั่งซื้อล็อตใหญ่ เนื่องจากเกรงว่าจะขาดทุน และรอดูความชัดเจนของมาตรการรับจำนำข้าวของรัฐบาลชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม ภาวะการ
แข่งขันในตลาดโลกนับเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดทิศทางราคาในตลาดโลก และมีส่วนสำคัญในการกำหนดราคาข้าวในประเทศในระยะต่อไป
ส่วนราคาข้าวไทยในต่างประเทศมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากประเทศผู้ซื้อรับรู้ในเรื่องแนวโน้มทิศทางราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น กอปรกับปัจจัยหนุนจากในช่วงนี้มีความต้องการข้าวของประเทศ
อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ รวมทั้งบางประเทศในแอฟริกา ซึ่งประเทศเหล่านี้หันไปซื้อข้าวจากเวียดนาม และอินเดีย เนื่องจากราคาข้าวถูกกว่าไทย โดยเวียดนามได้คำสั่งซื้อข้าวจากอินโดนีเซียไป 0.5 ล้านตันเพื่อส่ง
มอบในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2554 ซึ่งนับเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้สมาคมอาหารของเวียดนามเลื่อนแผนการจะซื้อข้าวสาร 1 ล้านตัน
หรือข้าวเปลือก 2 ล้านตันจากฤดูการผลิตฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (ฤดูการผลิตข้าวสำคัญของเวียดนาม ที่มีผลผลิตมากที่สุดในปีการผลิต) ซึ่งเดิมเคยเป็นปัจจัยที่เตรียมไว้เพื่อกระตุ้นราคาข้าวในประเทศ เนื่องจากปริมาณ
ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นกว่าที่มีคาดการณ์ไว้ในเบื้องต้น
ในกรณีของอินเดีย รัฐบาลอนุญาตให้มีการส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ(ข้าวขาวและข้าวนึ่ง) 1.8 ล้านตัน โดยให้เอกชนส่งออก 1 ล้านตัน จำหน่ายในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล 0.5 ล้านตัน และจำหน่ายให้
บังคลาเทศ 0.3 ล้านตัน ซึ่งการกลับมาส่งออกข้าวอีกครั้งของอินเดียหลังจากหยุดส่งออกไปตั้งแต่ปี 2552 คาดว่าอินเดียเข้ามาเป็นคู่แข่งขันส่งออกข้าวขาวและข้าวนึ่งของไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2554 ทั้งในตลาด
บังคลาเทศ แอฟริกา และตะวันออกกลาง ซึ่งปัจจัยทั้งจากเวียดนามและอินเดียอาจะส่งผลให้การส่งออกข้าวของไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2554 มีแนวโน้มชะลอลง