WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ตลาดตราสารหนี้ไทยช่วงที่เหลือ 2554 : น่าจะยังได้รับแรงหนุนจากเงินทุนไหลเข้า ท่ามกลางแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น

ตลาดตราสารหนี้ไทยช่วงที่เหลือ 2554 : น่าจะยังได้รับแรงหนุนจากเงินทุนไหลเข้า ท่ามกลางแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
3153 ตราสารหน   ในปี 2554 เป็นปีที่ท้าทายต่อการลงทุน ท่ามกลางความเสี่ยงจากความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสถานการณ์หนี้ภาครัฐของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึง
ผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น ในขณะที่สถานการณ์เงินเฟ้อภายในประเทศยังคงมีทิศทางที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คงมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2554 สภาพแวดล้อมดังกล่าวมีผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา รวมถึงแนวโน้มในช่วงที่เหลือของปี ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจของตลาดตราสารหนี้ โดยสรุปดังนี้
   ความเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้ไทยใน 7 เดือนแรกของปี 2554 ... อัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่การเสนอขายตราสารหนี้ลดลง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยปรับตัวสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2553 เป็นต้นมา คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง
ซึ่งเป็นผลจากการปรับขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและพลังงาน อันส่งผลตามมาให้อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ ทั้งพันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้ภาคเอกชน ปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกัน กระนั้นก็ดี
เป็นที่น่าสังเกตว่า ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง เนื่องจากความต้องการหุ้นกู้อยู่ในระดับสูง
   สำหรับแนวโน้มอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ น่าจะยังอยู่ในวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ถูกคาดหมายว่ายังมีแนวโน้มปรับขึ้น เพื่อดูแลความเสี่ยงด้าน
เงินเฟ้อที่ยังมีโอกาสที่จะเร่งตัวสูงขึ้น อันเป็นผลจากปัจจัยผลักดันทั้งจากด้านอุปสงค์ตามความต่อเนื่องของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ด้านอุปทานจากราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ยังมีแนวโน้มอยู่
ในระดับสูง ตลอดจนด้านการคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะข้างหน้า ส่วนหนึ่งจากความคาดหวังต่อการดำเนินนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ผ่านหลายมาตรการที่อาจมีผลต่อรายได้ ระดับราคาสินค้า
ต้นทุนการผลิต และเงินเฟ้อ โดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ
   ทั้งนี้ หลังจากรายงานผลการประชุม กนง.เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2554 ที่ได้ระบุว่า”ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อขณะนี้สูงกว่าความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ” และ “อัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงยังต้องปรับขึ้น
อย่างต่อเนื่องเพื่อดูแลเงินเฟ้อโดยเฉพาะที่มาจากด้านอุปสงค์” ทำให้ตลาดคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ที่ กนง.อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุมอีก 3 ครั้งที่เหลือในปีนี้ จาก 3.25% สู่ 4.00% ซึ่งแน่นอน
ว่าย่อมจะส่งผลตามมาให้อัตราดอกเบี้ยในระบบการเงินไทย รวมถึงอัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ปรับตัวขึ้นในทิศทางที่สอดคล้องกันตามไปด้วย

1download

 

 

         คลิกอ่านเพิ่มเติม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!