อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงขยับขึ้น...เพิ่มแรงกดดันต่อการคุมเข้มนโยบายการเงินของธปท.
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Tuesday, 19 January 2016 11:10
- Hits: 1449
อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงขยับขึ้น...เพิ่มแรงกดดันต่อการคุมเข้มนโยบายการเงินของธปท.
ระดับราคาสินค้าผู้บริโภคล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2554 ยังคงปรับสูงขึ้น แม้จะไม่มากเหมือนกับในช่วงหลายเดือนก่อนหน้า แต่ก็สะท้อนว่า แรงกดดันเงินเฟ้อยังคงอยู่ในช่วงขาขึ้น และน่าจะมีน้ำหนักต่อการพิจารณา
กำหนดจุดยืนเชิงนโยบายการเงินของธปท.ในรอบการประชุมที่เหลือของปีนี้ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้รวบรวมประเด็นสำคัญจากตัวเลขเงินเฟ้อ และประเมินแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าไว้ดังนี้
ประเด็นสำคัญอัตราเงินเฟ้อเดือนก.ค. ยังคงขยับขึ้น...แม้จะเร่งตัวเมื่อในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อล่าสุดยังคงปรับสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคม 2554 อยู่ที่ 4.08% YoY เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันปีก่อน ขยับขึ้นจาก 4.06% YoY ในเดือนมิถุนายน ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยับขึ้นมาที่ 2.59% YoY ในเดือนกรกฎาคม จากระดับ 2.55% YoY ในเดือนมิถุนายน
ทั้งนี้ ระดับราคาสินค้าในภาพรวมเดือนกรกฎาคม ปรับสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเพียง 0.18% MoM เนื่องจากการปรับตัวลง 0.20% MoM ของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม
(อาทิ ไก่สด ไข่ไก่ ผักและผลไม้สด และเครื่องประกอบอาหาร) ช่วยหักล้างผลการปรับตัวขึ้น 0.42% MoM ของราคาในหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม (อาทิ ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ และค่ากระแสไฟฟ้า)
แนวโน้มเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปี 2554...ยังคงเป็นขาขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เงินเฟ้อครึ่งหลังปี 2554 สูงกว่าครึ่งปีแรก
แรงกดดันเงินเฟ้อยังคงเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2554 แม้ว่าข้อมูลเงินเฟ้อของไทยเดือนล่าสุดจะไม่เร่งตัวขึ้นมากนักแบบในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงการคาดการณ์ว่า
แนวโน้มเงินเฟ้อของไทยยังไม่คงไม่ผ่านพ้นจุดสูงสุด ซึ่งอาจจะอยู่ในช่วงปลายปี 2554 นี้ หรือในช่วงต้นปี 2555 ขึ้นอยู่กับข้อสรุปรายละเอียดของแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของรัฐบาลชุดใหม่
โดยในกรณีที่มีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราที่ค่อนข้างมากในรอบเดียวในเดือนมกราคม 2555 โดยไม่มีมาตรการในส่วนอื่น (อาทิ การดูแลราคาพลังงานเพิ่มเติม) มาชดเชย ก็อาจทำให้จุดสูงสุดของเงินเฟ้อเลื่อนออก
ไปจากเดิมที่คาดว่าเป็นช่วงปลายปี 2554 เป็นต้นปี 2555 หลังจากที่ผลของการปรับขึ้นค่าจ้างได้ส่งผ่านไปสู่ราคาผู้บริโภคแล้ว
ทิศทางเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 จะอยู่ในกรอบที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีแรก โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป
อาจมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4.5% YoY ในช่วงครึ่งปีหลัง เร่งขึ้นจากค่าเฉลี่ยร้อยละ 3.56 YoY ในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจขยับขึ้นมามีค่าเฉลี่ยไม่ต่ำว่า 2.8% YoY เร่งขึ้นจากค่าเฉลี่ยร้อยละ
1.91 YoY ในช่วงครึ่งปีแรก โดยยังคงมีความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานบางเดือนในช่วงที่เหลือของปีจะเกิน 3.0% ซึ่งเป็นกรอบบนของเป้าหมายเงินเฟ้อ 0.5-3.0% ของธปท.
ตัวแปรในช่วงหลังจากนี้ที่อาจมีผลต่อประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปดังกล่าวข้างต้น คือ มาตรการดูแลราคาน้ำมันดีเซลให้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ซึ่งจะสิ้นสุดอายุมาตรการในเดือนกันยายน 2554 ซึ่งจะเกิดขึ้นใน
ช่วงจังหวะเดียวกันกับการปรับฐานเงินเดือนข้าราชการระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ ยังมีทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก ความผันผวนของสภาพดินฟ้าอากาศที่จะมีผลต่อทิศทางราคาสินค้าเกษตร กลไกการส่งผ่านแรง
กดดันด้านต้นทุนของผู้ผลิต (พลังงาน-ค่าจ้าง-วัตถุดิบ-อัตราดอกเบี้ย) มายังราคาสินค้าผู้บริโภค ตลอดจนทิศทางของการคาดการณ์เงินเฟ้อที่อาจเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นหลังมีการเปิดเผยรายละเอียดนโยบาย
เศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่