WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ส่งออกปี 54 ยังแข็งแกร่งแม้ปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า … คาดขยายตัว 15.5-20%

3129 201112552ส่งออกปี 54 ยังแข็งแกร่งแม้ปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า … คาดขยายตัว 15.5-20%
   การส่งออกของไทยในเดือนพฤษภาคม 2554 ชะลอตัวลงจากปัญหาในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เชื่อมโยงกับเครือข่ายการผลิตของประเทศญี่ปุ่น แต่ยังคงรักษาทิศทางการเติบโตที่สูงเหนือความคาดหมายของตลาดมา
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างการส่งออกโดยรวมของไทยที่มีความยืดหยุ่นรองรับปัจจัยกระทบที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ค่อนข้างดี รวมทั้งยังชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวของ
ผู้ประกอบการไทยต่อปัญหาที่เผชิญอยู่ ซึ่งจากตัวเลขการส่งออกที่สูงมากในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2554 ทำให้ภาพรวมทั้งปีของการส่งออกของไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ แม้ในครึ่งปีหลังอาจ
เผชิญความเสี่ยงจากจุดเปราะบางของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซนที่หลายฝ่ายกำลังเฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิด  
   การส่งออกเดือนพฤษภาคม ... กลุ่มเกษตรโต 61% ชดเชยการหดตัวของกลุ่มรถยนต์  เหตุการณ์ภัยพิบัติในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ยังคงส่งผลกระทบต่อการส่งออกในอุตสาหกรรมบางกลุ่มของไทย โดยการ
ส่งออกในเดือนพฤษภาคม 2554 ขยายตัวชะลอลงมาที่ร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) จากที่ขยายตัวร้อยละ 24.6 ในเดือนก่อน และร้อยละ 28.3 ในไตรมาสแรก สำหรับมูลค่าการ
ส่งออกเพิ่มขึ้นมาแตะระดับ 19,465 ล้านดอลลาร์ฯ จาก 17,564 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนเมษายน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยทางฤดูกาล (เดือนเมษายนมีช่วงเทศกาลวันหยุดยาว) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจำแนกรายสินค้า
พบว่า การส่งออกสินค้าส่วนใหญ่ยังคงขยายตัวค่อนข้างดี โดยเฉพาะสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 61.1 (จากร้อยละ 43.2 ในเดือนก่อน) ตามการเติบโตของสินค้าอาหาร โดยเฉพาะข้าว ซึ่งช่วยบรรเทาผล
กระทบจากปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ส่งผลให้การส่งออกสินค้ากลุ่มรถยนต์และส่วนประกอบหดตัวถึงร้อยละ 34.9 (ต่อเนื่องจากที่หดตัวร้อยละ 13 ในเดือนก่อน)
   เป็นที่น่าสังเกตว่า สถานการณ์ภัยพิบัติในญี่ปุ่นนั้น แม้ว่าส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ และมีผลกระทบบ้างต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทย แต่ในภาพรวมแล้ว การส่งออกของไทยไปญี่ปุ่น
ไม่เพียงแต่ยังคงขยายตัวได้ดี กลับยังเติบโตได้สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยการส่งออกไปญี่ปุ่นขยายตัวสูงร้อยละ 30.4 ในเดือนพฤษภาคม เทียบกับตลาดอาเซียน 5 ประเทศ

1download

 

 

        คลิกอ่านเพิ่มเติม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!