ตลาดผลไม้ในจีนส่อแววแข่งขันเข้มข้น...ผู้ส่งออกไทยต้องเร่งปรับตัวเพื่อรักษาความเป็นผู้นำในตลาดจีน
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Thursday, 14 January 2016 11:11
- Hits: 5637
ตลาดผลไม้ในจีนส่อแววแข่งขันเข้มข้น...ผู้ส่งออกไทยต้องเร่งปรับตัวเพื่อรักษาความเป็นผู้นำในตลาดจีน
จีนเป็นคู่ค้าที่ใกล้ชิดกับไทยมาช้านาน ประกอบกับการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบอาเซียน-จีน ที่ไทยและจีนเห็นศักยภาพด้านการค้าระหว่างกันในสินค้าเกษตรกลุ่มผักและผลไม้ จึงเห็นชอบและร่วมลงนามใน
การตกลงเร่งรัดลดภาษีเฉพาะสินค้าผักและผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง(HS 07-08)ระหว่างไทย-จีน(เดือนตุลาคม 2546) ก่อนประเทศในอาเซียนอื่นๆ จึงเอื้อให้การส่งออกผลไม้ไทยไปยังตลาดจีนที่มีปริมาณความ
ต้องการบริโภคสูงเป็นไปอย่างสะดวก และส่งผลให้จีนเป็นตลาดส่งออกผลไม้อันดับ 1 ของไทย ด้วยสัดส่วนถึงร้อยละ 38 ของการส่งออกผลไม้ไทยไปยังตลาดโลก นอกจากนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา(ปี 2549-2553) อัตราการ
นำเข้าผลไม้ของจีนจากตลาดโลกก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 27 ต่อปี จึงเป็นการตอกย้ำว่าตลาดจีนเป็นตลาดผลไม้ที่น่าสนใจอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาทางการจีนเห็นชอบอนุมัติให้มาเลเซียสามารถส่งออกทุเรียนมายังจีนได้ โดยจะเริ่มในฤดูทุเรียนของมาเลเซียเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ จึงเป็นความท้าทายการผูกขาดของ
ทุเรียนไทยในจีนพอสมควร หรืออาจสะท้อนได้อีกนัยหนึ่งว่าผลไม้อื่นๆของไทยนอกเหนือไปจากทุเรียนอาจจะถูกชิงส่วนแบ่งตลาดในอนาคต เพราะการเปิดตลาดของจีนที่มีมากขึ้นเพื่อสนองการบริโภคในประเทศ ดังนั้น
การเตรียมพร้อมนับเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับผู้ส่งออกผลไม้ไทยในการรักษาส่วนแบ่งตลาด และขยายฐานการส่งออกในตลาดจีนท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น
ไทยเป็นแหล่งนำเข้าผลไม้อันดับ 1 ของจีนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีส่วนแบ่งตลาดในจีนราว 1 ใน 4 ของการนำเข้าผลไม้ของจีน ทั้งนี้ รัฐบาลจีนอนุญาตให้ผลไม้ไทยเข้าสู่ตลาดจีนได้จำนวน 23 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน
มังคุด ลำไย กล้วยไข่ ลิ้นจี่ มะพร้าว มะละกอ มะเฟือง มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ เงาะ สับปะรด ละมุด เสาวรส น้อยหน่า มะขาม ขนุน สละ ลองกอง ส้มเขียวหวาน ส้ม และส้มโอ ในขณะที่ผลไม้ไทยซึ่งเป็นที่รู้จักในจีนมีเพียงไม่กี่
ชนิดโดยมีลำไย ทุเรียน และมังคุด เป็นผลไม้ส่งออกหลักของไทยไปจีน ส่วนผลไม้อื่นๆที่เป็นที่นิยม ก็ได้แก่ กล้วยไข่ ชมพู่ทับทิมจันทร์ มะม่วงน้ำดอกไม้ เงาะโรงเรียน ส้มโอ และมะขามหวาน เป็นต้น ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย
เห็นว่า มีหลากประเด็นที่น่าจะเสริมโอกาสผลไม้ไทยในจีน ดังนี้