เศรษฐกิจจีนรักษาโมเมนตัมส่งท้ายปี ก่อนที่การเติบโตในปีหน้าจะเน้นความสมดุลทางเศรษฐกิจมากขึ้น จับตาแนวทางปฏิรูปเศรษฐกิจจีนในปี 2561
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Thursday, 31 May 2018 14:19
- Hits: 740
เศรษฐกิจจีนรักษาโมเมนตัมส่งท้ายปี ก่อนที่การเติบโตในปีหน้าจะเน้นความสมดุลทางเศรษฐกิจมากขึ้น จับตาแนวทางปฏิรูปเศรษฐกิจจีนในปี 2561
จากข้อมูลตัวชี้วัดเศรษฐกิจล่าสุด เศรษฐกิจจีนยังคงรักษาโมเมนตัมได้ในระดับหนึ่ง แม้ว่ากิจกรรมเศรษฐกิจภายในประเทศมีสัญญาณชะลอลงเล็กน้อย ทว่าด้านการค้าระหว่างประเทศยังคงแข็งแกร่ง โดยกิจกรรมเศรษฐกิจภายในประเทศ แม้ว่ายังขยายตัวในเกณฑ์ที่ดี แต่ก็มีภาพการชะลอตัวต่อเนื่องของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการลงทุน สะท้อนได้จากอัตราการขยายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน ชะลอลงเล็กน้อยมาที่ร้อยละ 6.1 YoY จากอัตราร้อยละ 6.2 YoY ในเดือนตุลาคม โดยเป็นการชะลอลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน ในขณะเดียวกันมูลค่าการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรสะสมตั้งแต่ต้นปี (YTD) ก็ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.2 YoY ในเดือนพฤศจิกายนจากร้อยละ 7.3 YoY ในเดือนตุลาคม โดยเป็นการชะลอลงเป็นเดือนที่ห้าติดต่อกัน และเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในปีนี้ ด้านการบริโภค แม้อัตราการเติบโตของยอดค้าปลีก จะขยับดีขึ้นเล็กน้อยมาที่ร้อยละ 10.2 YoY ในเดือนพฤศจิกายน จากร้อยละ 10.0 YoY ในเดือนตุลาคม แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับเฉลี่ยของไตรมาสก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ทั้งดัชนีภาคการผลิตและดัชนีภาคบริการของทางการในเดือนพฤศจิกายนก็ได้มีการปรับตัวขึ้นจากเดือนตุลาคม โดยเฉพาะดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของทางการในเดือนพฤศจิกายน ดีดตัวขึ้นมาอยู่ในระดับที่สูงเป็นอันดับสองของปี 2560 ที่ 51.8 จาก 51.6 ในเดือนตุลาคม จากทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าภาพโดยรวมจากชุดข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุด ชี้ถึงการชะลอลงซึ่งยังไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่จะทำให้ผู้กำหนดนโยบายต้องเกิดความกังวล และเป็นไปตามการเตรียมปรับนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นความสมดุลมากกว่าการเติบโตเชิงปริมาณ
จากข้อมูลตัวชี้วัดเศรษฐกิจล่าสุด เศรษฐกิจจีนยังคงรักษาโมเมนตัมได้ในระดับหนึ่ง แม้ว่ากิจกรรมเศรษฐกิจภายในประเทศมีสัญญาณชะลอลงเล็กน้อย ทว่าด้านการค้าระหว่างประเทศยังคงแข็งแกร่ง โดยกิจกรรมเศรษฐกิจภายในประเทศ แม้ว่ายังขยายตัวในเกณฑ์ที่ดี แต่ก็มีภาพการชะลอตัวต่อเนื่องของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการลงทุน สะท้อนได้จากอัตราการขยายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน ชะลอลงเล็กน้อยมาที่ร้อยละ 6.1 YoY จากอัตราร้อยละ 6.2 YoY ในเดือนตุลาคม โดยเป็นการชะลอลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน ในขณะเดียวกันมูลค่าการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรสะสมตั้งแต่ต้นปี (YTD) ก็ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.2 YoY ในเดือนพฤศจิกายนจากร้อยละ 7.3 YoY ในเดือนตุลาคม โดยเป็นการชะลอลงเป็นเดือนที่ห้าติดต่อกัน และเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในปีนี้ ด้านการบริโภค แม้อัตราการเติบโตของยอดค้าปลีก จะขยับดีขึ้นเล็กน้อยมาที่ร้อยละ 10.2 YoY ในเดือนพฤศจิกายน จากร้อยละ 10.0 YoY ในเดือนตุลาคม แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับเฉลี่ยของไตรมาสก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ทั้งดัชนีภาคการผลิตและดัชนีภาคบริการของทางการในเดือนพฤศจิกายนก็ได้มีการปรับตัวขึ้นจากเดือนตุลาคม โดยเฉพาะดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของทางการในเดือนพฤศจิกายน ดีดตัวขึ้นมาอยู่ในระดับที่สูงเป็นอันดับสองของปี 2560 ที่ 51.8 จาก 51.6 ในเดือนตุลาคม จากทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าภาพโดยรวมจากชุดข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุด ชี้ถึงการชะลอลงซึ่งยังไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่จะทำให้ผู้กำหนดนโยบายต้องเกิดความกังวล และเป็นไปตามการเตรียมปรับนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นความสมดุลมากกว่าการเติบโตเชิงปริมาณ