เฟดเตรียมแผนลดงบดุล ... สะท้อนการปรับท่าทีนโยบายการเงิน (Policy Normalization) เป็นปกติมากขึ้น
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Thursday, 26 April 2018 08:57
- Hits: 563
เฟดเตรียมแผนลดงบดุล ... สะท้อนการปรับท่าทีนโยบายการเงิน (Policy Normalization) เป็นปกติมากขึ้น
แม้สัญญาณจาก Dot Plot ชุดใหม่ของเฟดจะสะท้อนว่า เฟดยังมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย Fed Funds ต่อเนื่องอีก 1 ครั้งในปีนี้ อย่างไรก็ดี ส่วนที่สำคัญและค่อนข้างจะเหนือความคาดหมายของตลาดจากการประชุม FOMC เดือนมิ.ย.ที่เพิ่งผ่านมา คือ เฟดได้มีการเปิดเผยรายละเอียดของแนวทางการบริหารจัดการขนาดงบดุลออกมาพร้อมกันในการประชุมรอบนี้ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า กระบวนการปรับลดงบดุลของเฟดที่อาจจะเริ่มขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า น่าจะยังไม่มีผลกระทบต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในช่วงที่เหลือของปีนี้ และอาจจะยังคงเห็นเฟดทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายตามแนวทางที่วางไว้ต่อเนื่องในปีหน้า เพื่อสกัดแรงกดดันจากเงินเฟ้อซึ่งเฟดมองว่า ทิศทางเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในปี 2561 อาจจะปรับสูงขึ้นไปที่ 2% ซึ่งเป็นเป้าหมายของเฟด
จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของงบดุลเฟด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า หากเฟดเริ่มต้นกระบวนการลดงบดุลในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ (ด้วยการลดการ reinvest ในตราสารที่ครบกำหนดไถ่ถอนตามเพดานที่เฟดขีดไว้) เฟดอาจต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ปีสำหรับกระบวนการ Balance Sheet Normalization ในการปรับลดงบดุลจากระดับ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในปัจจุบัน ให้กลับลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 2.5 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งทิศทางดังกล่าว สะท้อนว่า เฟดต้องการให้กระบวนการ Policy Normalization เดินหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งในส่วนของการลดขนาดงบดุล และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อตลาดการเงินโลก รวมถึงการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์ฯ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มากนัก
สำหรับผลต่อตลาดการเงินไทยในช่วงที่เหลือของปี 2560 นั้น แม้มีความเป็นไปได้ที่ช่องว่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยและสหรัฐฯ จะปิดลงตั้งแต่ในช่วงปลายไตรมาส 3/2560 แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า กนง. อาจจะยังยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไว้ที่ระดับ 1.50% ตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ของปีนี้ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขณะที่ แนวโน้มของค่าเงินบาทนั้น แม้สัญญาณที่คุมเข้มต่อเนื่องของเฟด (ทั้งการปรับขึ้นดอกเบี้ย และการลดงบดุล) จะทำให้ยังมีโอกาสที่จะเห็นเงินบาทกลับมาทยอยอ่อนค่าในช่วงที่เหลือของปี แต่คงต้องยอมรับว่า ประเด็นทางการเมืองภายในของสหรัฐฯ ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่อาจจะมีผลต่อทิศทางค่าเงินดอลลาร์ฯ ดังนั้น แม้ว่าเฟดจะมีท่าทีของนโยบายการเงินเป็นเชิงคุมเข้มต่อเนื่อง แต่การฟื้นตัวของเงินดอลลาร์ฯ ก็อาจจะเป็นกรอบที่ยังจำกัด และมีจังหวะที่ไม่แน่นอนในช่วงครึ่งหลังของปีเช่นกัน
จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของงบดุลเฟด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า หากเฟดเริ่มต้นกระบวนการลดงบดุลในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ (ด้วยการลดการ reinvest ในตราสารที่ครบกำหนดไถ่ถอนตามเพดานที่เฟดขีดไว้) เฟดอาจต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ปีสำหรับกระบวนการ Balance Sheet Normalization ในการปรับลดงบดุลจากระดับ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในปัจจุบัน ให้กลับลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 2.5 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งทิศทางดังกล่าว สะท้อนว่า เฟดต้องการให้กระบวนการ Policy Normalization เดินหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งในส่วนของการลดขนาดงบดุล และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อตลาดการเงินโลก รวมถึงการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์ฯ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มากนัก
สำหรับผลต่อตลาดการเงินไทยในช่วงที่เหลือของปี 2560 นั้น แม้มีความเป็นไปได้ที่ช่องว่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยและสหรัฐฯ จะปิดลงตั้งแต่ในช่วงปลายไตรมาส 3/2560 แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า กนง. อาจจะยังยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไว้ที่ระดับ 1.50% ตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ของปีนี้ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขณะที่ แนวโน้มของค่าเงินบาทนั้น แม้สัญญาณที่คุมเข้มต่อเนื่องของเฟด (ทั้งการปรับขึ้นดอกเบี้ย และการลดงบดุล) จะทำให้ยังมีโอกาสที่จะเห็นเงินบาทกลับมาทยอยอ่อนค่าในช่วงที่เหลือของปี แต่คงต้องยอมรับว่า ประเด็นทางการเมืองภายในของสหรัฐฯ ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่อาจจะมีผลต่อทิศทางค่าเงินดอลลาร์ฯ ดังนั้น แม้ว่าเฟดจะมีท่าทีของนโยบายการเงินเป็นเชิงคุมเข้มต่อเนื่อง แต่การฟื้นตัวของเงินดอลลาร์ฯ ก็อาจจะเป็นกรอบที่ยังจำกัด และมีจังหวะที่ไม่แน่นอนในช่วงครึ่งหลังของปีเช่นกัน
OO7980