หนี้ครัวเรือนปี 2559 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี มาที่ระดับ 79.9% ต่อจีดีพี...คาดชะลอลงต่อเนื่องในปี 2560
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Friday, 20 April 2018 16:02
- Hits: 664
หนี้ครัวเรือนปี 2559 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี มาที่ระดับ 79.9% ต่อจีดีพี...คาดชะลอลงต่อเนื่องในปี 2560
หนี้ครัวเรือนไทยปี 2559 สะท้อนภาพการชะลอความร้อนแรงลงจากปีก่อน เนื่องจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีปรับตัวลงราว 1.3% จากปี 2558 มาที่ระดับ 79.9% ต่อจีดีพี อันเป็นผลจากหนี้ครัวเรือนที่เติบโตในอัตราที่ต่ำกว่าการขยายตัวของจีดีพี ตามหลายปัจจัยกดดัน ไม่ว่่าจะเป็นการหดตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนที่ปล่อยโดยกลุ่มนอนแบงก์ และการปล่อยสินเชื่อด้วยความระมัดระวังของสถาบันการเงิน ซึ่งทำให้สินเชื่อลูกค้ารายย่อยในหลายผลิตภัณฑ์เติบโตชะลอลงโดยพร้อมเพรียง อย่างไรก็ดี ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนที่ปรับเพิ่มขึ้นราว 3.75 แสนล้านบาทจากปีก่อนหน้า บ่งชี้ว่า ภาระหนี้ครัวเรือนสะสมยังคงอยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งก็ยังคงเป็นโจทย์ระยะกลาง-ยาวของเศรษฐกิจไทยต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพราะภาระหนี้ดังกล่าวอาจสร้างแรงกดดันต่อการบริโภคและกำลังซื้อของภาคครัวเรือน และส่งผลเชื่อมโยงไปถึงรายได้ของผู้ประกอบการที่พึ่งพิงกำลังซื้อในประเทศ
ส่วนแนวโน้มหนี้ครัวเรือนในปี 2560 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดกรอบคาดการณ์ลงมาที่ระดับ 78.5 � 80.0% ต่อจีดีพี ซึ่งการปรับลดประมาณการลงดังกล่าว สะท้อนผลของ 1) หนี้ครัวเรือนในปี 2559 ที่ชะลอลงมากกว่าประมาณการเดิมของศูนย์วิจัยกสิกรไทย 2) อานิสงส์จากผลของฐานจีดีพี (ณ ราคาปัจจุบัน) ที่ขยายตัวสูงกว่าหนี้ครัวเรือนต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน และ 3) การชะลอตัวต่อเนื่องของสินเชื่อในกลุ่มนอนแบงก์ และสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยคาดว่า ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ยังคงเป็นผู้ที่มีบทบาทหลักในการให้สินเชื่อแก่ภาคครัวเรือน ส่วนผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่คาดว่า จะเป็นแรงขับเคลื่อนหนี้ครัวเรือนในปี 2560 คงประกอบด้วย สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค
ส่วนแนวโน้มหนี้ครัวเรือนในปี 2560 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดกรอบคาดการณ์ลงมาที่ระดับ 78.5 � 80.0% ต่อจีดีพี ซึ่งการปรับลดประมาณการลงดังกล่าว สะท้อนผลของ 1) หนี้ครัวเรือนในปี 2559 ที่ชะลอลงมากกว่าประมาณการเดิมของศูนย์วิจัยกสิกรไทย 2) อานิสงส์จากผลของฐานจีดีพี (ณ ราคาปัจจุบัน) ที่ขยายตัวสูงกว่าหนี้ครัวเรือนต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน และ 3) การชะลอตัวต่อเนื่องของสินเชื่อในกลุ่มนอนแบงก์ และสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยคาดว่า ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ยังคงเป็นผู้ที่มีบทบาทหลักในการให้สินเชื่อแก่ภาคครัวเรือน ส่วนผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่คาดว่า จะเป็นแรงขับเคลื่อนหนี้ครัวเรือนในปี 2560 คงประกอบด้วย สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค
OO7767