P2P Lending โฉมใหม่ของผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อาจจะเห็นในปี 2560
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Friday, 20 April 2018 11:50
- Hits: 537
P2P Lending โฉมใหม่ของผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อาจจะเห็นในปี 2560
Peer to Peer Lending หรือ P2P lending ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตจากทางการ เป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อแบบใหม่จาก FinTech ที่ทุกคนในแวดวงการเงินล้วนจับตามอง เนื่องจาก P2P lending เป็นตลาดกู้ยืมที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้กู้ และให้ผลตอบแทนสูงสำหรับผู้ลงทุน อีกทั้งยังเข้าถึงง่าย เนื่องจากแหล่งกู้ยืมตั้งอยู่บนระบบอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ แม้ผลตอบแทนที่ดึงดูดใจและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย จะเป็นจุดเด่นสำคัญของการให้สินเชื่อในรูปแบบ P2P Lending แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จุดเด่นดังกล่าวไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญเพียงลำพังสำหรับการดำเนินธุรกิจด้านการเงิน เนื่องจากการจัดตั้งธุรกิจการเงินต้องการส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญอย่างน้อยอีก 3 ส่วน คือ 1. ความแข็งแกร่งของตัวกลางทางการเงินในการเผชิญกับความผันผวนของระบบเศรษฐกิจ 2. มีระบบประเมินความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ และ 3. ระบบจัดการกับหนี้เสียที่มีประสิทธิภาพ จึงจะเพียงพอให้ธุรกิจทางการเงินสามารถดำเนินไปได้ นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญสำหรับการเติบโตของ P2P Lending ในไทยในระยะข้างหน้า น่าจะอยู่ที่การพัฒนากระบวนการคัดเลือกผู้กู้ที่มีความเสี่ยงต่ำเพื่อให้สินเชื่อ (อาทิ มาตรฐานข้อมูลพฤติกรรมของผู้กู้สำหรับใช้ในการประเมินความเสี่ยงในการปล่อยกู้) เพื่อจะช่วยเสริมความมั่นใจของนักลงทุน และเพิ่มความเชื่อมั่นด้านเสถียรภาพในภาพรวมได้
Peer to Peer Lending หรือ P2P lending ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตจากทางการ เป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อแบบใหม่จาก FinTech ที่ทุกคนในแวดวงการเงินล้วนจับตามอง เนื่องจาก P2P lending เป็นตลาดกู้ยืมที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้กู้ และให้ผลตอบแทนสูงสำหรับผู้ลงทุน อีกทั้งยังเข้าถึงง่าย เนื่องจากแหล่งกู้ยืมตั้งอยู่บนระบบอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ แม้ผลตอบแทนที่ดึงดูดใจและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย จะเป็นจุดเด่นสำคัญของการให้สินเชื่อในรูปแบบ P2P Lending แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จุดเด่นดังกล่าวไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญเพียงลำพังสำหรับการดำเนินธุรกิจด้านการเงิน เนื่องจากการจัดตั้งธุรกิจการเงินต้องการส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญอย่างน้อยอีก 3 ส่วน คือ 1. ความแข็งแกร่งของตัวกลางทางการเงินในการเผชิญกับความผันผวนของระบบเศรษฐกิจ 2. มีระบบประเมินความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ และ 3. ระบบจัดการกับหนี้เสียที่มีประสิทธิภาพ จึงจะเพียงพอให้ธุรกิจทางการเงินสามารถดำเนินไปได้ นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญสำหรับการเติบโตของ P2P Lending ในไทยในระยะข้างหน้า น่าจะอยู่ที่การพัฒนากระบวนการคัดเลือกผู้กู้ที่มีความเสี่ยงต่ำเพื่อให้สินเชื่อ (อาทิ มาตรฐานข้อมูลพฤติกรรมของผู้กู้สำหรับใช้ในการประเมินความเสี่ยงในการปล่อยกู้) เพื่อจะช่วยเสริมความมั่นใจของนักลงทุน และเพิ่มความเชื่อมั่นด้านเสถียรภาพในภาพรวมได้
OO7745