- Details
- Category: งานวิจัยเศรษฐกิจ
- Published: Friday, 07 July 2017 23:48
- Hits: 9194
ชูงานวิจัย
สกว. มอบรางวัล 13 ผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2559 ต่อยอดงานวิจัย...สู่นโยบายประเทศไทย 4.0 ด้วย 'งานวิจัยและนวัตกรรม'
___________ สกว. มอบรางวัล 13 ผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2559 ต่อยอดงานวิจัย...สู่นโยบายประเทศไทย 4.0 ด้วย'งานวิจัยและนวัตกรรม'
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดงานมอบโล่เกียรติยศ ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2559 ณ หองบอลรูม 1 - 2 โรงแรม รอยัล ออรคิด เชอราตัน โฮเท็ล แอนด ทาวเวอรส ถ.เจริญกรุง แก่นักวิจัยจำนวนทั้งสิ้น 13 ผลงาน ประกอบด้วยผลงานวิจัยเด่นด้านนโยบาย ผลงานวิจัยเด่นด้านสาธารณะ ผลงานวิจัยเด่นด้านพาณิชย์ ผลงานวิจัยเด่นด้านชุมชนพื้นที่ และผลงานวิจัย เด่นด้านวิชาการ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติให้แกผู้วิจัยผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ที่สร้างคุณประโยชน์ ต่อสังคม และประเทศชาติ โดยมี พลอากาศเอก ดร. ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธี มอบโล่เกียรติยศผลงานวิจัยเด่น สกว.พร้อมด้วย คณะกรรมการนโยบาย และคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสกว. และคณะผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัยที่เข้ารับโล่เกียรติยศ
ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวว่า ผลงานวิจัยที่ไดรับ การคัดเลือกประจำปี 2559 นี้ ถือเป็นแบบอย่างของการทำงานวิจัยที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ความมุ่งมั่น ตั้งใจ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทั้งหมดลวนมีเปาหมายเดียวกัน คือ การสรางความรู ใหเกิดในทุกระดับเพื่อเปนฐานสูการขับเคลื่อนประเทศไปขางหนา โดยในแตละป สกว. สนับสนุนทุนวิจัยกวา 1,700 โครงการ ครอบคลุมศาสตรทุกดาน และสนับสนุน นักวิจัยทุกระดับ ซึ่ง สกว. ใหความสําคัญ และเห็นคุณคาของผลงานวิจัยทุกประเภทที่เกิดขึ้น
ดังนั้น เพื่อเปนการยกยองเชิดชูเกียรติ ใหแกผูวิจัยและผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและสรางคุณประโยชนตอสังคม และประเทศ สกว. จึงไดจัดใหมีการคัดเลือกผลงานวิจัยที่สมควรไดรับการยกยอง ใหเปนผลงานวิจัยเดน สกว. เปนประจําทุกป สำหรับเกณฑในการคัดเลือกผลงานวิจัยเดนปนี้ คือ ตองเปนผลงานวิจัยที่ประสบผลสําเร็จมีผูใชประโยชน และปรากฏผลเป็นที่ประจักษในปงบประมาณพ.ศ.2559 สามารถสรางการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในวงการที่เกี่ยวของหรือกอใหเกิดผลกระทบตอสังคม หรือนําไปสู การพัฒนาในวงกวาง อีกทั้งตองมีวิธีการวิจัยที่ยอมรับตามหลักวิชาการ ซึ่ง สกว. ไดแบงกลุมพิจารณา ตามลักษณะการ นําผลงานวิจัยไปใชประโยชน 5 ดาน ไดแก ดานนโยบาย ดานสาธารณะ ดานพาณิชย ดานชุมชนและพื้นที่ และดานวิชาการ สําหรับป 2559 คณะกรรมการตัดสินผลงานเดนไดคัดเลือก ผลงานวิจัยเดน จํานวนทั้งสิ้น 13 ผลงาน ประกอบดวย ผลงานวิจัยเดนดานนโยบาย จํานวน 2 ผลงาน
ผลงานวิจัยเดนดานสาธารณะ จํานวน 1 ผลงานผลงานวิจัยเดนดานพาณิชย จํานวน 2 ผลงาน ผลงานวิจัยเดนดานชุมชนและพื้นที่ จํานวน 4 ผลงาน และผลงานวิจัยเดนดานวิชาการ จํานวน 4 ผลงาน
อย่างไรก็ดี ในโอกาส สกว.ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 แผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ ปี พ.ศ. 2560 - 2564 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศจะมีการปฏิรูปหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น'ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี' เพื่อเป็นกรอบ ในการพัฒนาประเทศในระยะยาว พร้อมกับการปฏิรูปและการพัฒนาระบบและกลไกในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ โดยกำหนดวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ควบคู่กับแนวคิด 'ประเทศไทย 4.0' เป็นแนวคิดใหม่ในการพัฒนาประเทศแตกต่างจากแนวคิดการพัฒนาแบบเดิมที่อาศัยทุนและการลงทุนจากต่างชาติ โดยมีความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างไปสู่การเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value-Based Economy) รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในลักษณะการแปลงยุทธศาสตร์ระยะยาวไปสู่การปฏิบัติ โดยในแต่ละยุทธศาสตร์ของแผนฯ 12 ได้กำหนดประเด็นการพัฒนา
พร้อมทั้งแผนงานและโครงการสำคัญๆ ที่จะต้องดำเนินการเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมในช่วง 5 ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมในด้านกำลังคน สังคม และระบบเศรษฐกิจ ของประเทศ ให้สามารถปรับตัวรองรับกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมกับยุทธศาสตร์ การวิจัยแห่งชาติ 20 ปี และแผนปฏิรูประบบวิจัยแบบบูรณาการของประเทศ ที่มีเป้าหมายเพื่อการปฏิรูป ระบบวิจัยของประเทศที่ ให้เกิดความชัดเจนในการเป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศให้หลุดพ้นจากกลุ่ม ประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูง และยกฐานะประเทศไทยให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วภายใน 20 ปีข้างหน้า
ด้านพลอากาศเอก ดร. ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง 'ประเทศ ก้าวไกล ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม' ตอนหนึ่งว่า รู้สึกชื่นชมนักวิจัยทุกท่านที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ อันแสดงให้เห็นถึงผลิตผลงานที่มีคุณค่า สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ และเป็นต้นแบบที่ดีของ การทำงานวิจัยที่ต้องอาศัยความมุ่งมั่น ตั้งใจ ทุ่มเทแรงกายแรงใจ มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและ ประเทศชาติ ระบบการ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้มีความก้าวหน้า ยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชน และสร้างภูมิคุ้มกันจากผลด้านลบของโลกาภิวัตน์ การพัฒนางานวิจัยให้มีความเท่าทันต่อโลกสมัยใหม่เป็นสิ่งที่ประเทศไทยควรให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ
ทั้งนี้ ปัจจุบันรัฐบาลได้พยายามกำหนดกรอบเป้าหมาย อาทิ Thailand 4.0 ยุทธศาสตร์ 20 ปี ดำเนินไปข้างหน้าอย่างพอเพียงตามปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จำเป็นต้องบูรณาการและขับเคลื่อนการปฏิรูปทั้งทางด้านยุทธศาสตร์ บุคลากร งบประมาณ กฎหมายและปัจจัยเอื้อ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยหวังจะเห็นผลที่เกิดต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นรูปธรรม นั่นคือ ให้สามารถใช้ประโยชน์จากงานวิจัยได้จริง ทั้งในด้านการสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยี นวัตกรรม การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การผลักดันให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาในมิติทางสังคม
การเรียนการสอนในห้องเรียนนั้นไม่เพียงพอ มนุษยชาติจะดีขึ้นได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการวิจัย เพราะการวิจัยทำให้เกิดปัญญา สร้างองค์ความรู้ต่อยอดให้กับคนรุ่นต่อไป เราจำเป็นต้องมีกรอบ เป้าหมาย และกำหนดแนวทางที่จะสะสมองค์ความรู้ เพื่อนำพาประเทศไทยให้เดินไปข้างหน้า
คนไทยควรมีการประกอบอาชีพแบบทำน้อยได้มาก ใช้เทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมลงตัว เพื่อพัฒนางานของเรา ไม่ว่าจะเป็นด้าน start up หรืออุตสาหกรรมการเกษตร แต่ต้องอยู่บนพื้นฐาน ความพอดี ความรู้คู่คุณธรรม เมื่อรายได้สูงขึ้น ประเทศก็จะก้าวขึ้นเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัญหาคือ เราไม่สามารถควบคุมการใช้เทคโนโลยีด้วยตัวเอง เพราะไม่ใช่ผู้คิดค้น จึงเป็นเพียงตัวประกอบ ทำหน้าที่ได้ เพียงสังเกตการณ์ ไทยจำเป็นต้องประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีขึ้นเอง เป็นผู้ปฏิบัติการมากกว่าผู้ใช้งาน ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเทศไปด้วยกัน ประเทศไทยต้องการผู้มีความรู้ นักวิจัย นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่เกื้อหนุนให้นักวิจัยมีแรงบันดาลใจในการคิดค้น เทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างคุ้มค่า
ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องเฟ้นหาผู้ที่มีความพร้อมในการเป็นนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ นักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งประชาชนทั่วไปในชุมชน ควรคำนึงถึงนักวิจัย ระดับปวช. ปวส. และระดับชุมชนลงไป มากกว่าที่จะคำนึงถึงเฉพาะนักวิจัยระดับปริญญาเอก นี่คือปัจจัย สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ยุค 4.0
ตัวอย่างผลงานวิจัยดีเด่นที่จะเข้ารับมอบโล่เกียรติยศในปีนี้ ได้แก่ การวิจัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับวัสดุเหลือทิ้งในกระบวนการแปรรูปทางการเกษตร โดยนำเมล็ดมะขามมาทำเป็นเจลโลส ทดแทนเพคติน ในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อผลิตไอศกรีมมะขามเจลาโต เยลลี่มะขาม การวางแผนจัดการ ทรัพยากรน้ำ ทั้งระดับชุมชนและจังหวัด ภายใต้แนวคิด 'จากพื้นที่สู่นโยบาย' โดยอาศัยองค์ความรู้ ในพื้นที่ในการ จัดทำแผนบริหารจัดการน้ำ และเกิดกระบวนการวางแผนน้ำอย่างมีส่วนร่วม และการ เชื่อมโยงแผนชุมชน-จังหวัด- และหน่วยงานส่วนกลางเพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้ง และอุทกภัย อันเป็น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตลอดจนสร้างเครือข่ายภาคประชาชน กับหน่วยงานภาครัฐ ในการบริหารจัดการ น้ำอย่างบูรณาการและยั่งยืนตามแนวทาง 'ศาสตร์พระราชา'ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากร ดิน น้ำ และป่า เป็นต้น
การใช้งานวิจัยเพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้สู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น สกว.จึงตระหนักถึงการพัฒนายุทธศาสตร์การวิจัยในเชิงรุกใหม่ๆ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนไปได้บนฐานความรู้และนวัตกรรม อีกทั้งเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรในการดำเนินงานให้เป็นไปตามพันธกิจ ภายใต้วิสัยทัศน์ 'เปลี่ยนแปลงประเทศด้วยการวิจัยและนวัตกรรม'