WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

Global Energy Transition และธุรกิจผลิตไฟฟ้าในตลาดทุนไทย 

โดย ศิริยศ จุฑานนท์, ฉัตรชัย ทิศาดลดิลก

ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

81142 SET Note 5 2565

          • การประชุม COP26 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แต่ละประเทศเสนอเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิม โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการบรรลุ Net Zero ทั่วโลกภายในปี 2050 ส่งผลให้ผู้ลงทุนบางส่วนเริ่มส่งสัญญาณความกังวลต่อการลงทุนในเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงการทบทวนการลงทุนในการผลิตปิโตรเลียมของบริษัทน้ำมันทั่วโลก และมีบริษัทผู้ผลิตน้ำมันและถ่านหินเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ปรับรูปแบบธุรกิจในแนวทาง Energy Transition รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมไฟฟ้าไปสู่การใช้พลังงานสะอาดที่ต้นทุนปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง

          ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกส่งต่อไปให้ผู้ใช้ผ่านระบบสายส่ง โดยมีหน่วยงานกำกับดูแลทั้งด้านการผลิตการจำหน่าย รวมถึงการกำหนดราคาค่าไฟฟ้าและจัดทำแผนการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ การเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าอาจต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร (ประมาณ 5-7 ปี) จึงได้มีการจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ โดยได้ตั้งเป้าให้มีการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 50%

          การให้ใบอนุญาตเพิ่มขึ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดกลางและเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียนทำให้โครงสร้างการแข่งขันเปลี่ยนไปจากที่มีผู้เล่นขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานจากก๊าซและถ่านหินเป็นหลัก เป็นการมีผู้เล่นจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยมีหลายบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (บจ.) เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งแต่ละ บจ. นั้นอาจเน้นการผลิตไฟฟ้าด้วยชนิดพลังงานหมุนเวียนที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังได้มีการขยายการลงทุนไปในต่างประเทศ

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้านความยั่งยืนใน Sustainability Report และข้อมูลอื่นๆ พบว่าหลาย บจ. ได้ปรับตัวให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้าน Climate Change และ Energy Transition ของโลกและไทย โดยเฉพาะในกลุ่มพลังงาน ได้เข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนมากยิ่งขึ้น แต่อาจแตกต่างกันไปตามกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัท โอกาสทางธุรกิจและแหล่งทรัพยากรที่บริษัทเข้าถึงได้ และมีแนวโน้มการเติบโตแบบ inorganic growth โดยเฉพาะใน บจ. ที่มีสถานะทางการเงินที่เข้มแข็ง เช่น สภาพคล่องดี เงินลงทุนสูง มีหนี้ต่ำจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เข้าไปลงทุนในโครงการใหม่ๆ ได้สะดวกขึ้น ซึ่งอาจสังเกตได้จากสัดส่วนมูลค่าการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต่อรายได้ และมูลค่าการควบรวม/ลงทุนในกิจการของทั้งโรงไฟฟ้าแบบดั้งเดิมและแบบพลังงานหมุนเวียน ทั้งนี้การลงทุนดังกล่าวช่วยส่งเสริมการเติบโตในระยะยาว แต่ก็อาจส่งผลต่อการทยอยบันทึกค่าเสื่อมราคาของการลงทุนและกำไรสุทธิในระยะหนึ่ง

          การลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลอาจมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมตามทิศทาง Global Energy Transition ไปสู่พลังงานหมุนเวียน เนื่องจากอาจต้องเผชิญความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายรวมถึงกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้นขึ้น และตลาดก็อาจให้การตอบรับที่ดีในแง่การเติบโตและราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีแผนการเปลี่ยนถ่ายไปยัง renewable energy อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี บจ. ที่เน้นธุรกิจโรงไฟฟ้าจากฟอสซิลซึ่งมักเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่ดำเนินกิจการมานาน ก็มีความน่าสนใจจากการจ่ายปันผลในอัตราที่สูงเช่นกัน

 

 

          Global Energy Transition เป็นกระแสที่ผู้ผลิตพลังงานและผู้ลงทุนให้ความสำคัญ

          การประชุม COP26 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แต่ละประเทศเสนอเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิม โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการบรรลุ Net Zero ทั่วโลกภายในปี 2050 โดยเป้าหมาย Net Zero ดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เทียบกับก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ภาพที่ 1) ทั้งนี้หากจะบรรลุเป้าหมายแต่ละภาคส่วนต้องนำเทคโนโลยีต่างๆ มาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานรวมถึงการเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทน อาทิ น้ำ ลม และแสงอาทิตย์ มากขึ้นเพราะสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน โดยปัจจัยเร่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนถ่ายมายังพลังงานทดแทนมาจากผู้ลงทุนสถาบันซึ่งถอนการลงทุนในการผลิตปิโตรเลียมของบริษัทน้ำมันทั่วโลก ในขณะที่ผู้ลงทุนรายย่อยโดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Z ที่ผลสำรวจออกมาว่าให้ความสำคัญกับเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมของบริษัทที่เข้าไปลงทุน นอกจากนี้โครงการต้องเผชิญความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายรวมถึงกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้นขึ้นส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตน้ำมันและถ่านหินเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงอาจหลีกเลี่ยง Energy Transition ได้ยากขึ้นเช่นกัน

 

ภาพที่ 1 สรุปผลการประชุม COP26 ที่เสนอเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก

81142 SET note p01

 

          ภาคการผลิตไฟฟ้าเป็นต้นกำเนิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ คิดเป็นราว 30% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก อย่างไรก็ตามแม้ว่าการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมไฟฟ้าไปสู่การใช้พลังงานสะอาดที่ต้นทุนปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่มีการประมาณการไว้ว่ากว่าที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนจะปรับลดลงมาในระดับที่เท่ากับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติอาจต้องรอถึงปี 2028 และหากรวมต้นทุนค่าแบตเตอรี่สำหรับกักเก็บไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้นอาจต้องรอถึงปี 2050 ทำให้โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนนั้นมีอัตรากำไรจากการลงทุนต่ำกว่าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแบบดั้งเดิม ดังนั้นการส่งเสริมของภาครัฐทั้งทางด้านกฎระเบียบและเงินทุนจึงมีความสำคัญสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพื่อเป็นการลดช่องโหว่ของต้นทุน ทั้งนี้มีองค์กรระดับโลกและระดับภูมิภาคอย่าง เช่น World Bank และ Asian Development Bank (ADB) ที่ให้ความสนับสนุนด้านเงินทุนผ่านการออกพันธบัตรสีเขียว (Green Bond) ซึ่งทำให้ต้นทุนของเงินทุน หรือ weighted average cost of capital (WACC) ของผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนลดลงมาอยู่ระดับต่ำกว่าผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานดั้งเดิม ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่จะผลักดันให้โลกมุ่งสู่เป้าหมาย net zero เพื่อลดผลกระทบจาก climate change ได้ตามเป้าหมาย

 

PTG 720x100

 

          โครงสร้างอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าในประเทศไทย

          ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกส่งต่อไปให้ผู้ใช้ไฟผ่านระบบสายส่งของประเทศ โดยมีหน่วยงานทำหน้าที่กำกับดูแลทั้งด้านการผลิตการจำหน่าย รวมถึงการกำหนดราคาค่าไฟฟ้าและจัดทำแผนการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (ภาพที่ 2) อย่างไรก็ดี มีแนวโน้มที่จะให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น โดยภาคเอกชนมีสัดส่วนในการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ภายในประเทศอยู่ที่ 67.7% ในปี 2020 จากเดิมที่เคยมีสัดส่วนอยู่ที่ 54.7% ในปี 2010 ซึ่งการเปิดให้มีการแข่งขันมากขึ้นเป็นผลดีกับผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน และผู้ผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มจะพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้วย

 

ภาพที่ 2 โครงสร้างกิจการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย

 

81142 SET note p02

 

          การเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าไม่สามารถทำได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยแผนการลงทุนในแต่ละโครงการอยู่ที่ประมาณ 5-7 ปี ดังนั้นภาครัฐต้องมีการจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ โดยภาครัฐตั้งเป้าจะให้มีมาตรการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 50% โดยในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ Power Development Plan: PDP2018 ได้ให้แนวทางการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนหลายรูปแบบ ทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำจากต่างประเทศ และพลังงานลมเป็นหลัก (ตารางที่ 1)

 

ตารางที่ 1 สรุปความแตกต่างระหว่างแผน PDP2018 rev.1 และ PDP2022

 

ชนิดเชื้อเพลิง

กำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าใหม่ (MW)

ความแตกต่าง (MW)

PDP2018 rev.1

ปรับปรุงใหม่

เชื้อเพลิงฟอสซิล

ถ่านหินและลิกไนต์

600

600

0 (0%)

ก๊าซธรรมชาติ

5,550

4,850

-700 (-12.6%)

ชนิดเชื้อเพลิง

กำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าใหม่ (MW)

ความแตกต่าง (MW) 

PDP2018 rev.1

ปรับปรุงใหม่

พลังงานหมุนเวียน / พลังงานสะอาด 

แสงอาทิตย์

5,194

4,455

-739 (-14.2%)

ลม

270

1,500

1,230 (+455.6%)

พลังน้ำขนาดเล็ก

26

52

26 (+100%)

ชีวมวล

1,120

485

-635 (-56.7%)

ก๊าซชีวภาพ

789

335

-448 (-57.5%)

ขยะ

400

600

200 (+50%)

รับซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากต่างประเทศ

1,400

2,766

1,366 (+97.6%)

รวมทั้งสิ้น

15,343

15,643

300 (+2%)

ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

 

          บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ทำธุรกิจผลิตไฟฟ้านั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มทรัพยากรซึ่งรวมถึง บจ. ที่ทำธุรกิจพลังงาน (น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน) ซึ่งมักมีกิจการขนาดใหญ่ มีมูลค่าตลาดค่อนข้างสูง ทำให้ บจ. ที่ทำธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่ส่วนใหญ่มีมูลค่าตลาดน้อยกว่าอาจไม่โดดเด่นมากนักในภาพรวมรายอุตสาหกรรม และหากนำเฉพาะ บจ. ที่ทำธุรกิจผลิตไฟฟ้ามาเรียงตามมูลค่าตลาด พบว่าบริษัทจดทะเบียนที่ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนมักมีขนาดเล็กกว่าโรงไฟฟ้าแบบดั้งเดิมค่อนข้างมาก (ภาพที่ 3)

 

ภาพที่ 3 บริษัทจดทะเบียนไทยที่ทำธุรกิจผลิตไฟฟ้า (เรียงตามมูลค่าตลาด หน่วย: ล้านบาท)

 81142 SET note p03

ที่มา SETSMART (Data as of 31 May 2022)

 

          หากพิจารณาโครงสร้างการแข่งขันในโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (ปริมาณขายไฟฟ้ามากกว่า 90 MW) พบว่ามีจำนวน บจ. ค่อนข้างจำกัด และเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากก๊าซและถ่านหินเป็นหลัก แต่จากนโยบายภาครัฐที่เพิ่มใบอนุญาตให้มากขึ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดกลางและเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน ทำให้มีจำนวน บจ. เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นถึงสภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยแต่ละ บจ. นั้นอาจมีความชำนาญในการผลิตไฟฟ้าด้วยชนิดพลังงานหมุนเวียนที่แตกต่างกัน (ตารางที่ 2) สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย อีกทั้งหลาย บจ. ได้มีการขยายการลงทุนไปในต่างประเทศ เช่น ประเทศลาว เวียดนาม และ ญี่ปุ่น เป็นต้น

 

ตารางที่ 2 สรุปความแตกต่างตามประเภทโรงไฟฟ้า

 

ประเภทผู้ผลิต

ประเภทสัญญา

จำนวนบริษัท
(COD
แล้ว)*

ตัวอย่างรายชื่อ บจ

ตามประเภทเชื้อเพลิง

ตัวอย่างรายชื่อ บจ

ที่ไปลงทุนในต่างประเทศ

ผู้ผลิตเอกชนรายใหญ่

(Independent Power Producer: IPP)

อายุสัญญา
20 - 30
ปี ตามแต่

รอบของการรับซื้อ

16

ถ่านหิน: BPP, EGCO 

ก๊าซธรรมชาติ: EGCO, GULF, RATCH

จีน: BPP

ลาว: BPP, EGCO, RATCH

ผู้ผลิตเอกชนรายเล็ก 

(Small Power Producer: SPP)

Firm

(อายุสัญญา
20 - 25
ปี)

95

ก๊าซธรรมชาติ: BGRIM, GULF, GPSC

เวียดนาม: BGRIM, GULF

ไต้หวัน: GULF

ลาว: GPSC

Non-Firm

(อายุสัญญา 5 ปี /
ต่อสัญญา 5 ปี)

61

แสงอาทิตย์: BCPG, EA

น้ำ: CKP, BCPG 

ลม: EA, GUNKUL

ขยะ: TPIPP

ลาว: CKP, BCPG

เวียดนาม: BCPG, GUNKUL

ผู้ผลิตเอกชนรายเล็กมาก 

(Very Small Power Producer: VSPP)

อายุสัญญา 5 ปี /
ต่อสัญญา 5 ปี

982

แสงอาทิตย์: BCPG, EA, GUNKUL, SPCG, SSP

น้ำ: CKP, BCPG 

ลม: DEMCO, EA, GUNKUL 

ชีวมวล และก๊าซชีวภาพ ACE, TPCH

ขยะ: ACE, TPIPP

ลาว: CKP, BCPG

เวียดนาม: BCPG, GUNKUL, SSP

ญี่ปุ่น: SPCG

ที่มา SET RESEARCH (รวบรวมจากบทวิเคราะห์หลักทรัพย์)

 

          หน่วยงานรัฐเป็นผู้กำหนดโครงสร้างราคาและต้นทุน (ภาพที่ 4) โดยแบ่งตามประเภทของโรงไฟฟ้าซึ่งมีข้อได้เปรียบ/เสียเปรียบส่งผลต่อกำไรของบจ. แตกต่างกัน โดยผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีโรง IPP อยู่มากจะได้รายรับจากการขายไฟค่อนข้างคงที่มากกว่า SPP ที่กำไรจากการขายไฟแปรผันกับต้นทุนพลังงานซึ่งถูกกำหนดจากอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลกทำให้ในช่วงที่ราคาพลังงานปรับสูงขึ้นมาก หุ้นบริษัทที่มีสัดส่วนโรงไฟฟ้า SPP สูงจะถูกคาดการณ์ว่าจะมีผลกำไรลดลงมากกว่าประเภทอื่นๆ ในขณะที่โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานหมุนเวียนบางชนิดจะได้รับค่าส่วนต่างจากการสนับสนุนของภาครัฐ (Feed-in Tariff หรือ FiT) เพื่อให้หลายบริษัทสนใจและหันมาสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามที่ยุทธศาสตร์ที่ภาครัฐกำหนด

 

ภาพที่ 4 โครงสร้างการตั้งราคารับซื้อไฟฟ้าตามประเภทโรงไฟฟ้า

 

81142 SET note p04

ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน 

 

EXIM One 720x90 C J

 

          Sustainability Reporting กับการเปลี่ยนถ่ายไปยังพลังงานทดแทน (Renewable Energy) 

          Sustainability Reporting หรือรายงานผลการพัฒนาอย่างยั่งยืนเริ่มจากการที่องค์กรชื่อว่า Global Report Initiatives หรือ GRI ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ..2540 ประกอบด้วยการวัด การเปิดเผยข้อมูล และการแสดงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กรให้ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นรายงานที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยมีบางตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับความพยายามในการเปลี่ยนถ่ายไปสู่พลังงานทดแทน (ภาพที่ 5)

 

ภาพที่ 5 ตัวอย่างการรายงานเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนของบริษัทจดทะเบียนไทย

 

81142 SET note p05

ที่มา SET RESEARCH (รวบรวมจาก Sustainability Report ของแต่ละบริษัท)

 

          จากตัวชี้วัดด้านการเปลี่ยนถ่ายมาสู่พลังงานทดแทนที่หลากหลาย มีสองตัวชี้วัดสำคัญที่มักมีการรายงานโดย บจ. คือสัดส่วนไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทน (% Renewable Capacity) และอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Intensity) ซึ่งมีหน่วยเป็น tCO2/MWh. จึงอาจนำมาใช้เปรียบเทียบความพยายามในการเปลี่ยนถ่ายไปสู่พลังงานทดแทนของ บจ. ซึ่งโดยสรุปแล้ว หลาย บจ. ได้ปรับตัวให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้าน Climate Change ของโลกและของไทย โดยมีการเปลี่ยนถ่ายไปผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนมากยิ่งขึ้น แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น กลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัท และแหล่งทรัพยากรที่บริษัทเข้าถึง (ตารางที่ 3)

 

ตารางที่ 3 ความพยายามเปลี่ยนถ่ายไปสู่พลังงานทดแทนของบจ. ที่เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าแบบผสม

 

Ticker

%Renewable capacity

Carbon Intensity

Transition Strategy

BPP

12%

0.60

BPP ประกาศจะลด GHG emission intensity ในปี 2020 ลง 15% จากปี 2012 แต่ยังไม่สามารถบรรลุตามเป้า แต่มีแผนเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนจาก 0.5GW ในปี 2020 ไปเป็น 0.8GW ในปี 2025.

EGCO

19%

0.49

EGCO เติบโตจากขยายการผลิตไฟฟ้าโดยการทำ M&A ไปยังต่างประเทศ แต่ผู้ลงทุนเริ่มกังวลเกี่ยวกับความล่าช้าในกระบวนการ M&A ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา บริษัทประกาศแผนเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนจาก 19% ในปี 2020 ไปเป็น 25% ในปี 2030

RATCH

14%

0.43

RATCH ประกาศแผนเพิ่มทุนกว่า $1bn เพื่อนำไปขยายการผลิตไฟฟ้าโดยการทำ M&A กับโรงไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหินสร้างความกังวลให้กับผู้ลงทุน อย่างไรก็ดี บริษัทประกาศแผนเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนจาก 14.4% ในปี 2020 ไปเป็น 25% ในปี 2025

BGRIM

30%

0.43

BGRIM ให้ความสำคัญกับการสนับสนุน ESG goals อย่างต่อเนื่องจากการที่มี Asian Development Bank (ADB) เป็นผู้ลงทุน โดยในปี 2020 บริษัทปล่อย GHG emission intensity อยู่ที่ 0.429 CO2e/MWh ซึ่งถือว่าค่อนข้างคงที่เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

GULF

12%

0.40

GULF ประกาศดำเนินนโยบาย ‘no coal’ พร้อมกับแผนการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน ในปี 2020 ได้เริ่มจ่ายไฟฟ้า (COD) จากพลังงานลมและแสงอาทิตย์ในประเทศเวียดนาม โดยกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 25% ในปี 2030

GPSC

11%

0.37

GPSC กำลังจะขยายการผลิตไฟฟ้าโดยการทำ M&A กับโรงไฟฟ้าจากพลังงานก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ทำให้แนวโน้มการปล่อยคาร์บอนปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะสั้นแต่บริษัทวางแผนที่เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนจาก 11% ในปี 2020 ไปเป็น 20% ในปี 2025

ที่มา SET RESEARCH (รวบรวมจาก Sustainability Report และบทวิเคราะห์หลักทรัพย์)

 

          ในขณะที่ผู้ผลิตไฟฟ้าที่เน้นพลังงานหมุนเวียนเป็นหลักที่แม้ว่าจะตั้งบริษัทมาไม่นาน มีขนาดเล็กและมีจำนวนมากกว่าทำให้ มีแนวโน้มการเติบโตและการแข่งขันที่สูง ทำให้ บจ. ในกลุ่มนี้ (ตารางที่ 4) อาจอาศัยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดการปล่อยคาร์บอน รวมถึงการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศและอาจขยายไปทำธุรกิจอื่นด้วย

 

ตารางที่ 4 สถานะการปล่อยกาซเรือนกระจกของบจ. ที่เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 

 

Ticker

Renewable capacity

Transition Strategy

EA

100%

EA เป็นผู้ทำธุรกิจจากพลังงานสะอาดรายใหญ่ของประเทศ แม้จะเริ่มต้นจากผู้ผลิต “biofuel” แต่จากการขยายการลงทุนไปโรงไฟฟ้าพลังานแสงอาทิตย์และลมรวมแล้วกว่า 1,389,020 MWh ในปี 2019 ทำให้ลดปริมาณการปล่อยก๊าซ GHG 581,633t CO2e.

GUNKUL

100%

GUNKUL เป็นผู้ทำธุรกิจจากพลังงานสะอาดรายใหญ่หมายเลข 2 ซึ่งเน้นไปที่โรงไฟฟ้าพลังานแสงอาทิตย์และลม ทั้งในไทยและในประเทศพม่าโดยตั้งเป้าหมายเป็น 100% clean energy และ carbon neutral ภายในปี 2050

BCPG

100%

BCPG เป็นบริษัทลูกของ บมจ. บางจาก (BCP) ทำธุรกิจโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ geothermal และ ลมโดยเฉพาะในประเทศลาว ทั้งนี้ในปี 2020 มีกำลังการผลิตคิดเป็น 37% 33% และ 24% ของกำลังการผลิตทั้งหมดตามลำดับ

CKP

89%

CKP เป็นบริษัทลูกของ บมจ. . การช่าง (CK) ทำธุรกิจโรงไฟฟ้าจากพลังงานน้ำโดยมีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ 2 แห่งในประเทศลาว NN2 and XPCL คิดเป็น 87.71% ของกำลังการผลิตทั้งหมด

SPCG

100%

SPCG เป็นผู้ริเริ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในไทยและขยายธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ ในเอเซีย นอกจกานี้ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ใน EEC โดยได้ตั้งเป้ากำลังการผลิตไว้ที่ 1000 MW ภายในปี 2025

ที่มา: SET RESEARCH (รวบรวมจาก Sustainability Report และบทวิเคราะห์หลักทรัพย์)

 

          ความพยายามในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนของ บจ. ไทยในช่วงสามปีที่ผ่านมา ยังอาจสังเกตเพิ่มเติมได้จากสัดส่วนมูลค่าการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต่อรายได้ และมูลค่าการควบรวมและลงทุนในกิจการของทั้งผู้ผลิตไฟฟ้าแบบดั้งเดิมและแบบพลังงานทดแทน ที่พยายามเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นการเสริมการเติบโตแบบ inorganic growth ของบริษัท โดยบาง บจ. ที่มีเงินสดหรือมูลค่าการลงทุนที่สูงมากๆ อาจหมายถึง บจ. ที่กำลังเร่งหาการลงทุนในโรงไฟฟ้าแห่งใหม่เพื่อมาทดแทนโรงไฟฟ้าแห่งเก่าที่ใกล้หมดอายุ และอาจส่งผลกระทบต่อกำไรในระยะสั้นรวมถึงอาจมีการเพิ่มทุนเพื่อรองรับการขยายกิจการ

 

ภาพที่ 6 มูลค่าการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต่อรายได้

 

81142 SET note p06

ที่มา: บทวิเคราะห์หลักทรัพย์, SET RESEARCH (Data as of end 2019-2021)

 

 

ตารางที่ 5 ตัวอย่างรายการ M&A ของผู้ผลิตไฟฟ้าไทย

 

81142 SET note t05

ที่มา: FactSet, Bloomberg (Data as of end 2019-2021)

 

BANPU 720x100

 

          ผลการดำเนินงานและผลตอบแทนของผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

          ผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย โดยปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทได้แก่ นโยบายของภาครัฐ โดยในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ Power Development Plan: PDP2018 หรือนโยบายที่กระทบกับการใช้ไฟฟ้าผ่านมาตรการสนับสนุนต่างๆ ของรัฐบาลในขณะนั้น เช่น โครงการคนละครึ่ง การส่งเสริมการสร้างโรงไฟฟ้าชุมชน การส่งเสริมการใช้ยานยนตร์ไฟฟ้า (EV) แนวทาง Net Zero Emission เป็นต้น นอกจากนี้ อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของประเทศ อัตราเงินเฟ้อของประเทศ และผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล รวมถึงราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลในตลาดโลก และราคาขายปลีกในประเทศ ยังมีผลต่อการใช้ไฟและกำไรสุทธิของ บจ. อีกด้วย ดังนั้นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจก็เป็นปัจจัยสำคัญว่า บจ. จะสามารถทำกำไรให้เติบโตต่อเนื่องได้อย่างไร โดยอาจมีประเด็นพิจารณาเพิ่มเติมในด้านต่างๆ เช่น

          ผู้ผลิตไฟฟ้าอาจจำเป็นต้องขยายธุรกิจโดยการซื้อหรือลงทุนในโรงไฟฟ้าอื่นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น บจ. ที่มีสถานะทางการเงินที่เข้มแข็ง เช่น มีสภาพคล่องดี เงินลงทุนสูง มีหนี้ต่ำ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เข้าไปลงทุนในโครงการใหม่ๆ ได้สะดวกขึ้น อย่างไรก็ดีการทำ M&A แม้ประกาศแล้วแต่อาจล่าช้า หรือการก่อสร้างอาจมีปัญหาติดขัดทำให้มีการเลื่อนการรับรู้กำไรได้

          กลยุทธ์ของการเลือกประเภทโรงไฟฟ้าเข้าพอร์ตโฟลิโอมีความสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาน้ำมันสูง โรงไฟฟ้าประเภท SPP อาจจะได้รับผลกระทบมากกว่า IPP หรือโรงไฟฟ้าขยะและชีวมวลขนาดเล็กอาจจะได้ premium ราคาจากภาครัฐสูงกว่า

          ผู้ผลิตไฟฟ้าจะมีค่าใช้จ่ายจากการเช้าซื้อ/ลงทุนในกิจการค่อนข้างสูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายแบบ one-time และบริษัทได้ทำการจ่ายจริงเรียบร้อยแล้ว แต่ในทางบัญชีมักจะถูกทยอยคิดเป็นค่าเสื่อมราคา ซึ่งจะถูกถัวเฉลี่ยมาหักออกเป็นรายปี ทำให้การพิจารณาเฉพาะกำไรสุทธิอาจไม่สะท้อนกำไรที่แท้จริงของบริษัท

          นักวิเคราะห์หลักทรัพย์มักแนะนำการใช้ EBITDA Margin แทน และการประเมินมูลค่าของ บจ. จะนำ EBITDA/EV มาประกอบกับ P/E, P/BV ด้วย นอกจากนี้พบว่าผู้ผลิตไฟฟ้าดั้งเดิมอาจจะมี Valuation ต่ำกว่าแต่ถูกชดเชยด้วยอัตราปันผลที่สูงกว่า

 

ตารางที่ 6 ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญในกลุ่มบจ. ผู้ผลิตไฟฟ้า

 

81142 SET note t06

ที่มา SET RESEARCH, FactSet (Data as of 31 May 2022)

 

          การลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลอาจมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมตามทิศทาง Global Energy Transition ไปสู่พลังงานหมุนเวียน เนื่องจากอาจต้องเผชิญความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายรวมถึงกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้นขึ้น และตลาดก็อาจให้การตอบรับที่ดีในแง่การเติบโตและราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีแผนการเปลี่ยนถ่ายไปยัง renewable energy อย่างชัดเจน (ภาพที่ 7) อย่างไรก็ดี บจ. ที่เน้นธุรกิจโรงไฟฟ้าจากฟอสซิลซึ่งมักเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่ดำเนินกิจการมานาน ก็มีความน่าสนใจจากการจ่ายปันผลในอัตราที่สูงเช่นกัน

 

ภาพที่ 7 การเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้าแบบดั้งเดิมและแบบพลังงานทดแทน

 

81142 SET note p07

ที่มา SET RESEARCH, Bloomberg (Data as of 31 May 2022)

 

A81142

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!