- Details
- Category: งานวิจัยเศรษฐกิจ
- Published: Monday, 25 April 2022 23:54
- Hits: 9195
ผู้เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง คาดว่ารูปแบบการเดินทางและการทำงานจะเข้าสู่ภาวะทรงตัวภายในสิ้นปี 2565 การเดินทางเพื่อธุรกิจคาดว่าจะเป็นสิ่งสุดท้ายของการทำงานที่จะกลับสู่ภาวะปกติ
จากผลการศึกษา The International SOS Risk Outlook 2022 ผู้เกี่ยวข้องด้านการจัดการบริหารความเสี่ยง คาดว่ารูปแบบการเดินทางและการทำงานจะเข้าสู่ภาวะทรงตัวภายในสิ้นปี 2565 โดยผลการศึกษานี้แสดงถึงระยะเวลาที่ใช้เพื่อปรับสู่ “ความปกติรูปแบบใหม่” ซึ่งรูปแบบและวิถีการกลับมาทำงานนั้นแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าทั้งการทำงานที่บ้านและที่ทำงาน มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะทรงตัวแล้ว ในขณะที่การทำงานในสำนักงานคาดว่าจะใช้เวลานานกว่า การเดินทางเพื่อธุรกิจคาดว่าจะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ยาวนานที่สุด โดย 15% ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าอาจใช้เวลานานถึงสองปีในการปรับสู่ “ความปกติรูปแบบใหม่”
ข้อมูลเชิงลึกนี้มาจากผลการสำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยงเกือบ 1,000 คนใน 75 ประเทศ ควบคู่ไปกับข้อมูลเชิงลึกจาก Workforce Resilience Council และข้อมูลภายใต้ลิขสิทธิ์ของ International SOS Risk Outlook 2022 ยังบ่งบอกว่าการทำงานแบบไฮบริดจะยังคงมีอยู่ต่อไป ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงระยะยาวต่อรูปแบบการทำงานสำหรับหลายๆ องค์กร
การคาดหมายด้านการเดินทางแตกต่างกันทั่วโลก
ระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้กว่าการเดินทางเพื่อธุรกิจจะเข้าสู่ภาวะทรงตัวนั้นแตกต่างกันอย่างมากทั่วโลก โดย 40% ของผู้ตอบแบบสอบถามในยุโรปมองในแง่บวกว่าวิถีการใช้ชีวิตแบบใหม่ จะเข้าที่เข้าทางในอีกหกเดือนข้างหน้า ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในอเมริกาและเอเชียคาดว่าจะใช้เวลานานกว่านั้น ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียกว่า 49% คาดว่าความแน่นอนจะเกิดขึ้นได้อาจใช้เวลาตั้งแต่ 12 เดือนถึง 3 ปี การคาดหมายที่แตกต่างกันเหล่านี้ อาจสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมกันของมาตรการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด และระดับการฉีดวัคซีนทั่วโลก ตลอดจนข้อกำหนดด้านการเดินทางและการเข้าประเทศที่แตกต่างกัน
จากผลการสำรวจของผู้ตอบแบบสอบถาม Risk Outlook มีเพียง 54% ที่เต็มใจเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ เมื่อเทียบกับ 73% ที่ต้องการเดินทางภายในประเทศ ซึ่งสูงกว่าตัวเลขของผู้ที่พร้อมเดินทางไปต่างประเทศในช่วงวันหยุด ที่มีเพียง 47% เท่านั้น
นพ. จามร เงินชารี ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส กล่าวว่า “องค์กรต่างๆ ต้องสร้างความมั่นใจกลับคืนมา และทำให้การปฏิบัติงานจากระยะไกลและแบบพบหน้าประสบผลสำเร็จ ในขณะที่การเดินทางเพื่อธุรกิจกลับมาเติบโตอีกครั้งนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่เคยเป็นมาก่อน มาตรการด้านการเดินทางที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการตรวจโควิด ส่งผลให้การเดินทางระหว่างประเทศนั้นมีความซับซ้อน สำหรับองค์กรที่ดูแลด้านการวางโปรแกรมการเดินทาง จำเป็นต้องทำความเข้าใจในเชิงรุกเกี่ยวกับความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นด้านลอจิสติกส์ ความปลอดภัย และสุขภาพ และให้การสนับสนุนที่จำเป็นแก่พนักงาน สิ่งสำคัญคือการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ซึ่งสามารถช่วยให้การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่น ข้อมูลเชิงลึกนี้จำเป็นต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น โควิดสายพันธุ์ใหม่ หรือข้อกังวลด้านความปลอดภัยและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
รูปแบบการทำงานใหม่ – ทำงานจากที่บ้านสองวัน
ข้อมูลจาก Risk Outlook ระบุว่า 77% ขององค์กรต่างๆ ได้นำแนวทางการทำงานแบบไฮบริดมาใช้ ระบบการทำงานที่พบบ่อยที่สุดคือให้พนักงานทำงานที่บ้านสัปดาห์ละสองวัน และในสำนักงานหรือพื้นที่หน้างานอีกสามวัน โดยมีเพียง 15% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า พวกเขาต้องการทำงานห้าวันต่อสัปดาห์ที่สำนักงานหรือพื้นที่หน้างาน ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนเกิดโรคระบาด
ไม่ว่าพนักงานจะทำงานภายในสำนักงานกี่วันก็ตาม องค์กรต้องแน่ใจว่าพนักงานรู้สึกปลอดภัยและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
ผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวถึงประเด็นสำคัญหลายอย่างที่ควรจะมุ่งเน้น เพื่อสนับสนุนพนักงานเมื่อพวกเขากลับไปในสถานที่ทำงาน:
สามอันดับแรกในการสนับสนุนการกลับมาสู่ภาวะปกติอย่างปลอดภัย
• การเข้าถึงบริการดูแลด้านสุขภาพจิต
• ช่องทางในการสื่อสารกับพนักงานในช่วงที่มีเหตุการณ์สำคัญ
• การเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพตามตำแหน่งสถานที่
“เมื่อเราสอบถามองค์กรต่างๆ ถึงการสนับสนุนพนักงานในการกลับไปปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานอย่างปลอดภัยได้อย่างไร ทำให้เห็นได้ชัดว่าการลงทุนด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤตนั้นมีความสำคัญมาก อย่างไรก็ตาม ประเภทของข้อมูลที่องค์กรในแต่ละประเภทธุรกิจต้องการสื่อสารนั้นมีความแตกต่างกัน สำหรับองค์กรที่รับผิดชอบด้านการเดินทางเพื่อธุรกิจจำนวนมาก ข้อมูลด้านสุขภาพและความปลอดภัยตามตำแหน่งสถานที่ถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับพนักงาน และโดยทั่วไปพนักงานออฟฟิศจะมองหาบริการดูแลด้านสุขภาพจิตเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ คาดว่าเรื่องสุขภาพจิตจะเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบหลักต่อการทำงานในปีนี้ การดูแลด้านสุขภาพจิตจึงมีความสำคัญต่อการป้องกันปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการทำงาน” นพ. จามร เงินชารี กล่าวเสริม
A4788