- Details
- Category: งานวิจัยเศรษฐกิจ
- Published: Thursday, 29 July 2021 18:47
- Hits: 3381
งานวิจัยใหม่เผย ลูกค้าธนาคารดิจิทัล 82% ลูกค้าธนาคารปกติ 72% และลูกค้าแอปพลิเคชันกลุ่มฟินเทค 74% ในประเทศไทย ต่างต้องการรับข้อเสนอประกันภัยที่ตรงใจตามข้อมูลการทำธุรกรรม
ข้อมูลชี้ให้เห็นว่า ผู้บริโภคสนใจข้อเสนอประกันภัยและการรับประกันที่ตรงกับความต้องการและความสะดวกของธนาคารที่พวกเขาใช้บริการ รวมถึงข้อเสนอการรับประกันจากธนาคาร นีโอแบงก์ e-wallets และแอพฟินเทคอื่นๆ
แบบสำรวจ ลูกค้าธนาคารจำนวน 502 ราย ในประเทศไทยของ Momentive (บริษัทวิจัยของ SurveyMonkey) ครั้งล่าสุดภายใต้การว่าจ้างจาก โคเวอร์ จีเนียส ได้ทำการศึกษาและทำความเข้าใจว่าลูกค้าของธนาคาร นีโอแบงก์ และแอปพลิเคชันกลุ่มฟินเทค จะตอบสนองต่อข้อเสนอประกันแบบพ่วงซึ่งอาศัยข้อมูลธุรกรรมที่ทางลูกค้าทำขึ้นจริงได้อย่างไร โดยลูกค้าจะต้องตอบคำถามต่อไปนี้
สมมติว่าคุณอนุญาตให้ทางธนาคารจัดการธุรกรรม ตรวจสอบธุรกรรมของคุณ และนำเสนอการคุ้มครองตามประวัติการซื้อสินค้าของคุณในแอปพลิเคชันของธนาคารแล้ว คุณจะมีความสนใจให้ทางธนาคารนำเสนอการคุ้มครองเหล่านี้มากน้อยเพียงใด โปรดระบุ
ผลการวิจัยพบว่า ลูกค้าธนาคารดิจิทัลในประเทศไทย 82% สนใจที่จะรับข้อเสนอประกันแบบพ่วงซึ่งอิงจากข้อมูลการทำธุรกรรม เช่นเดียวกับลูกค้าธนาคารออฟไลน์อีก 72% โดย “ความสะดวกสบาย” ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กลุ่มเป้าหมาย 63% มองว่าเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้พวกเขาสนใจในบริการดังกล่าว
“ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัลมีความรวดเร็วมากกว่าเมื่อ 20 ปีก่อน” นายอารีจิตต์ จักรบดี กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของโคเวอร์ จีเนียส กล่าว “ธนาคาร นีโอแบงก์ และสถาบันการเงินอยู่ในจุดที่ได้เปรียบกับกว่าใครๆ ในการนำเสนอการประกันภัยแบบพ่วงตามการทำธุรกรรมของลูกค้า ซึ่งจะมีลักษณะที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าแบบทันที และเพิ่มมูลค่าให้กับการซื้อครั้งสำคัญของพวกเขา ด้วยก็เพราะธนาคารต่างๆ มีประวัติมาอย่างยาวนาน และได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี”
การวิจัยยังสะท้อนให้เห็นถึงการสำรวจที่คล้ายกันอีกฉบับหนึ่งที่ตีพิมพ์ไปเมื่อเดือนที่แล้วใน 12 ประเทศ โดยมีกลุ่มวิจัยเป็นชาวอเมริกัน 3,551 ราย ซึ่งเป็นการสำรวจที่ทางบริษัทเคยได้รับมอบหมายจากโคเวอร์ จีเนียส เช่นกัน ผ่านการสังเกตเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิตจำนวน 14 เหตุการณ์ หรือการซื้อครั้งใหญ่ที่ทำให้ผู้บริโภคต้องพิจารณาเลือกซื้อประกัน เช่น การคลอดบุตร การซื้อรถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ สัตว์เลี้ยง และสินค้าราคาแพง การทำสัญญาจ้างงาน และการเป็นผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า ข้อมูลทั่วโลกชี้ให้เห็นถึงความต้องการอย่างมีนัยสำคัญของผู้บริโภคที่มีต่อข้อเสนอประกันภัยตามธุรกรรมที่เกิดขึ้นในแบบทันที และตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยผู้บริโภคจะมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากถ้าพวกเขาเพิ่งตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่มีความสำคัญ หรือหากพวกเขาได้ทำประกันกับบริษัทประกันทั่วไปในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา หรือถ้าพวกเขาซื้อประกันภัยจากธนาคาร ผู้เขียนสังเกตเห็นถึงเห็นช่องว่างที่มีนัยสำคัญระหว่างการเสนอขายประกันแบบอินชัวร์เทค (การขายประกันโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้) กับการเสนอขายแบบ “แบงก์แอสชัวรันส์”ซึ่งธนาคารจะเข้าเป็นพันธมิตรกับบริษัทประกันเพื่อนำเสนอการคุ้มครองที่มักจะแยกออกจากกิจกรรมที่เป็นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน
การสำรวจกลุ่มลูกค้าชาวไทยยังยืนยันถึงการที่ผู้บริโภคให้การสนับสนุนการนำเสนอขายประกันอสังหาริมทรัพย์แบบพ่วงในวงกว้าง เช่น ประกันภัยของผู้เช่า เจ้าของบ้าน และ/หรือผู้ให้เช่า (ผู้ตอบแบบสอบถาม 52% มีความในประกันประเภทนี้สูง) ประกันสุขภาพ (30%) ประกันชีวิต (26%) และการรับประกันสินค้าที่เป็นของใช้ส่วนบุคคลและเครื่องใช้ในครัวเรือนที่มีมูลค่าสูง (52%)
นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาถึงบทบาทและลักษณะของผู้รับประกันแบบเก่าที่ถือเป็น “ขั้นตอนที่สอง” ของกระบวนการซื้อสินค้าในงานวิจัยครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ผู้ประกอบการธนาคารดิจิทัลและกลุ่มประชากรอายุน้อยมีแนวโน้มที่จะซื้อประกันมากกว่า อย่างไรก็ตาม ข้อมูลยังชี้ให้เห็นถึงอนาคตที่ดีขึ้นของธนาคารต่างๆ ในฐานะผู้จำหน่ายประกันภัย กล่าวคือ ลูกค้าชาวไทย 82% ที่เลือกใช้บริการจากบริษัทประกันหรือนายหน้าจำหน่ายประกันภัยแบบเดิมในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาต้องการที่จะได้รับข้อเสนอการคุ้มครองแบบพ่วงของธนาคารในครั้งต่อไปมากกว่าการประกันภัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ประสบการณ์การซื้อประกันภัยครั้งล่าสุดจะถือเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการระบุตัวตนผู้ใช้ในกลุ่มแรก ส่วนอีกวิธีหนึ่งก็คือ การระบุผู้ใช้ของแอปพลิเคชันกลุ่มฟินเทคที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป การค้นพบครั้งสำคัญ ชี้ว่า ลูกค้าที่ใช้กระเป๋าเงินบนมือถือ 75% ผู้ใช้บริการซื้อตอนนี้ชำระภายหลัง 77% ผู้ใช้บัญชีการลงทุน 93% และผู้ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยทำบัญชี 91% สนใจที่จะได้รับข้อเสนอประกันภัยเป็นอย่างมาก โดยผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กก็มีความสนใจในรูปแบบเดียวกันนี้สูงมากด้วยเช่นกัน (72%)
“การที่ผู้บริโภคเรียกร้องให้เกิดการให้บริการอย่างราบรื่นกันเป็นวงกว้าง ทำให้เราตัดสินใจจับมือกับพันธมิตรเพิ่มเติม เช่น Shopee Thailand ในส่วนของร้านค้าปลีก สายการบินต่างๆ และตัวแทนจำหน่ายตั๋วและโปรแกรมการท่องเที่ยวบนช่องทางออนไลน์ บริษัทรถยนต์ กลุ่มการทำงานแบบยืดหยุ่น (Gig Economy) และบริษัทยานยนต์อย่าง Ola กลุ่มธุรกิจฟินเทค เช่น Intuit และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ อีกมากมาย” นายอารีจิตต์ จักรบดี เสริม
ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็ม “รายงานเกี่ยวกับการประกันแบบพ่วง: กรณีศึกษาที่เน้นผู้บริโภคในการนำเสนอการคุ้มครองจากธนาคารต่างๆ นีโอแบงก์ และฟินเทคตามการทำธุรกรรมของผู้บริโภค” หรือรายงานของ ประเทศไทย
A7869
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ