- Details
- Category: สัมภาษณ์พิเศษ
- Published: Monday, 15 September 2014 10:19
- Hits: 9884
คุยนอกรอบ : วิบูลย์ กรมดิษฐ์ ปั้น 'อมตะ' เป็นนครแห่งอุตสาหกรรม
ไทยโพสต์ : อณาจักรนิคมอุตสาหกรรมที่ต้องยอมรับว่ามีขนาดใหญ่ และเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง ต้องมีชื่อของ "อมตะนคร" อยู่อย่างแน่นอน เป็นที่รู้กันดีว่า "วิกรม กรมดิษฐ์" เป็นผู้กุมชะตากรรมคนหนึ่งของอมตะนคร แต่ในขณะเดียว กันอีกหนึ่งเรี่ยวแรงที่สำคัญของเสี่ยวิกรม คงจะหนีไม่พ้น "วิบูลย์ กรมดิษฐ์" น้องชายผู้ช่วยมากความสามารถ ที่สามารถ ผลักดันให้ธุรกิจเติบโตมาได้จนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
"บริษัทของเราเป็นผู้พัฒนาที่ดินพร้อมกับการให้บริการด้านสาธารณูปโภคใน 2 นิคมใหญ่ ทั้งในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง ซึ่งสามารถรองรับนักลงทุนที่มาจากต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศญี่ปุ่น จีนหรือแม้แต่ประเทศที่อยู่ในยุโรป ซึ่งนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 2 แห่งนี้ ได้ก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบันก็รวมระยะเวลาได้ 25 ปีแล้ว ในตอนนั้นต้องใช้ที่เพื่อพัฒนากว่า 37,000 ไร่ และปัจจุบันยังมีที่ดินที่อยู่ระหว่างพัฒนาเพื่อรองรับนักลงทุนประมาณ 13,000 ไร่ จึงนับว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญใน การลงทุนที่น่าสนใจของนักลงทุนทั่วโลก และยังเป็นจุดรอง รับการลงทุนที่พร้อมจะก้าวสู่เมืองอุตสาหกรรมสมบูรณ์แบบ หรือ PERFECT CITY อีกด้วย โดยเฉพาะในปี 2558 ซึ่งตอนนี้จังหวะเวลาที่เริ่มมีสัญญาณการลงทุนที่สดใสมากขึ้นสำหรับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ"นายวิบูลย์กล่าว
นับได้ว่า นิคมอุตสาหกรรมอมตะเป็นอีกหนึ่งบริเวณหรืออาณาจักรที่เหมาะแก่การลงทุน และเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาก็ค่อนข้างเนื้อหอมพอสมควร เพราะนอกจากนักธุรกิจจากประเทศญี่ปุ่นที่แห่เข้ามาสร้างโรงงานกันจำนวนมากแล้ว ก็ยังมีกลุ่มนักธุรกิจจากยุโรปที่ตัดสินใจเข้ามาลงทุนด้วยเช่นกัน
นายวิบูลย์เล่าว่า เหตุผลที่นัก ลงทุนสนใจ ก็เนื่อง มาจากการมอง โอกาสว่าประเทศ ไทยจะเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในอาเซียน ประกอบกับตลาดยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก โดยเฉพาะการที่ไทยกำลังก้าวสู่ประชา คมเศรษฐกิจอา เซียน หรือเออีซี ใน ปี 2558 ทำให้เป็น ศูนย์กลางการลง ทุนในอาเซียน ซึ่งแน่นอนว่าการเจรจา เพื่อดึงดูดการลงทุนนับเป็นเรื่องสำคัญมากในช่วงเวลานี้ เพราะนอกจากเมืองไทยแล้วยังมีประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว กัมพูชา พม่า ซึ่งล้วนแต่เป็นคู่แข่งที่สำคัญ โดยท้ายที่สุดแล้วสิ่งสำคัญของการปิดการขายพื้นที่ จะต้องให้นักลงทุนไว้วางใจและมั่นใจในสิ่งที่เราพร้อมจะให้กับเขาได้ ทั้งสิทธิประโยชน์จากภาครัฐและสิ่งอำนวยความสะดวก ระบบสาธารณูปโภค การขนส่งและแรงงาน รวมไปถึงระบบซัพพลายเชน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่นิคมจะต้องมีให้บริการแก่นักลงทุนอย่างครบวงจร
นอกเหนือจากการพัฒนาที่ดินของนิคมอุตสาหกรรม เพื่อการขายพื้นที่ให้กับนักลงทุนแล้ว ในหลักการบริหารอย่างหนึ่งที่ไม่ควรจะละเลยไปในการดำเนินธุรกิจ นั่นคือการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
"สิ่งแวดล้อมของสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญของผู้บริหารที่จะต้องตระหนักถึง และทางเราเองก็ระลึกถึงเรื่องนี้มาโดยตลอด ซึ่งก็ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพราะ "นิคมอุตสาหกรรมอมตะ" เป็นนิคมลำดับต้นๆ ของไทยที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นนิคมสีเขียว ซึ่งที่ ผ่านมาได้มีการ นำเทคโนโลยีขั้น สูงมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อสามารถนำ กลับมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีทีมผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นเข้ามาดูแล ระบบ และมุ่งให้โรงงานอุตสาหกรรมในนิคมตระหนัก ถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเห็นได้ว่าโรงงานอุตสาห กรรมที่เข้ามาประกอบการนั้นจะอยู่ในกลุ่มอุตสาห กรรมเบาที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ อุตสาห กรรมอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์" นายวิบูลย์กล่าว.