WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1SCG

ปาฐกถาพิเศษ โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

งาน Innovation for Sustainability : The Power of Collaboration

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เวลา 13.30-14.45 น. ณ ห้องคริสตัล แกรนด์ บอลรูม

ชั้น 2 Crystal Design Center เลียบทางด่วนรามอินทรา กรุงเทพมหานคร

     ผมรู้สึกชื่นชมเป็นการส่วนตัว ผมทราบดีถึงความตั้งใจของท่านในการทำงานในฐานะของเอกชนประเทศไทย โชคดีที่มีคนทำงานที่มีศักยภาพ และเราก็มีอะไรที่ดีในตัวเอง วันนี้เราต้องเดินหน้าประเทศไปให้ได้พร้อมทั้งเพื่อนเรารอบบ้านอาเซียนเพราะทุกคนอยู่ในเครือข่ายธุรกิจ

    ในฐานะนายกรัฐมนตรี ก็ได้พยายามทำความเข้าใจในทุกเรื่องทั้งความมั่นคงการเมืองการปฏิรูปในหลายๆด้าน เพื่อทำให้ประเทศไทยก้าวหน้าไปอย่างมั่นคงและมีอนาคต ต้องบอกว่ายินดีและเป็นเกียรติในการเปิดงานวันนี้

     ทุกคนได้มีส่วนร่วมในคณะกรรมการบริหาร เราจะต้องมีการพัฒนาเรื่อง R&D มากขึ้น เรามีโอกาสแต่อย่าทำโอกาสให้เป็นวิกฤต เราจะต้องทำให้ทุกอย่างเป็นโอกาสโดยลดสิ่งที่มันเป็นจุดด้อยของเราให้มากที่สุด เพื่อมิตรประเทศของเราด้วย เราเองก็เหนื่อยพอสมควร เรื่องการค้าการลงทุนก็ต้องไปด้วยกัน ในประเทศชาติก็ต้องพยายามลดความขัดแย้ง และสร้างสัมพันธ์กับมิตรประเทศ เราอยู่คนเดียวไมได้ ต้องปรับตัว

   ปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาอยู่บ้าง และเราพยายามเต็มที่ที่จะทำทุกอย่างให้เป็นไปได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในบรรยากาศการค้าการลงทุน

   ในด้านเศรษฐกิจความเข้มแข็งเรายังไม่เพียงพอ แต่สิ่งสำคัญที่เราต้องคิดเสมอว่าเรายังด้อยอยู่ แม้หลายคนจะบอกว่าพยายามทำงานอย่างต่อเนื่อง แต่ทำไมเราไปไม่ได้ไกล จุดสูงสุดไม่ได้หมายความว่ามหาอำนาจ แต่เทียบกับประเทศใกล้เคียง วันนี้ รัฐบาลคุยกับทุกกลุ่มประเทศตะวันตก ตะวันออก หมู่เกาะ แอฟริกา อาเซียน แล้วเราจะร่วมมือกับเขาอย่างไร การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่พูดกันมานาน ว่าจะบูรณาการ วันนี้ เราแข่งกันไมได้มากนัก โดยเฉพาะในอาเซียนด้วยกัน เราเป็นตลาดใหญ่ที่สุด แต่เราก็ยังมีความขัดแย้งกันบ้าง สิ่งที่เราต้อง ทำ คือสร้างมุมมองใหม่ ลดความขัดแย้ง ไม่ตั้งเงื่อนไขต่อต้านความเข้มแข็ง ขีดความสามารถในการแข่งขัน และรายได้เข้าประเทศเรายังเป็นจุดอ่อน รายได้ในการพัฒนาประเทศยังไม่เพียงพอ

    การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ คือคำตอบ ที่เราพูดกันมา งานวันนี้ก็ให้ สวทช ไปหยิบจับอะไรออกมาบ้างแต่ก็ทำได้ไม่มากถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ปัญหาทุกอย่างของโลก มันยังมีปัญหา และมีความสับสนในหลายๆ อย่าง

    เศรษฐกิจมันมีความเปลี่ยนแปลง ถ้ามี Connectivity ถึงกัน เราต้องเข้าใจปัญหาก่อนว่าเกิดจากอะไรแล้วจะนำไปสู่การแก้ไขการบริหารจัดการที่ดีได้ เราจะรู้ว่าเราต้องการอะไร เราจะเพิ่มมูลค่าสินค้าได้มากเท่าไหร่ และนำไปสู่ยุทธศาสตร์ชาติ ในการเดินหน้าประเทศไทย ใครก็ตามที่เข้ามาบริหารต้องมีหลักการตรงนี้ มีการประเมิน ตั้งเป้า ถ้าทำไมได้ก็กลับไปปรับยุทธศาสตร์กัน วันนี้ผมพยายามทำให้ส่วนราชการทำแบบนี้ ให้สอดคล้องกับการทำงานของท่าน การบริหารจัดการต้องมีประสิทธิภาพ

    เมื่อสถานการณ์โลกเปลี่ยนไป การแข่งขันเราก็ทำได้ลดลง เพราะต้นทุนเราสูง ภาคการผลิตเราที่เคยโต มันก็เปลี่ยนแปลงไป จีดีพีเราลดน้อยลงถ้าเทียบกับเพื่อนบ้าน ตัวเลขมันต่างกัน ภาคธุรกิจเข้าใจ แต่ประชาชนไม่เข้าใจว่าฐานเศรษฐกิจเรากว้างกว่า ภาพรวมมันเลยลดลง นอกจากนั้นเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลง

     ประชาชนมากขึ้น รัฐสวัสดิการมากขึ้น ปัญหาบ้านเมืองที่ตามมาคือ ธุรกิจเกิดผลกระทบ วันนี้เราต้องทำให้ธุรกิจทุกภาคส่วน ทั้งของคนไทยและต่างประเทศดีขึ้น ผมเดินสายพูดกับฑูตด้วยทุกวัน ถ้าอาเซียนเรา strong together อะไรที่ท่านทำมาก็ทำต่อเพราะมันคือฐานตลาดในปัจจุบันของเรา เพราะทุกประเทศในโลกมองไปที่ตลาดประเทศข้างเคียง เพราะมันเดินไปได้ง่ายกว่า เราต้องไปหาแหล่งวัตถุดิบ การตลาด และแปรรูปให้สูงขึ้น สิ่งที่เราทำไว้เมื่อ 30 ปีที่แล้วมันเริ่มหมดอายุ

    เราต้องเตรียมการ และเพิ่มนวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ทั้งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมที่มีประชากรกว่า 40 ล้านคน เราต้องปรับใหม่ทั้งหมด ฝากภาคเอกชนไว้ด้วยว่า ภาคการผลิตต้องเชื่อมโยงกับภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี หรืออะไรก็ตาม เช่น เรื่องยาง เรื่องข้าว ทำยังไงจะรักษาระดับราคาไม่ให้มันตกได้ ต้องดูดีมานด์ ซัพพลายเรื่องการเกษตรและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า

    รัฐจะสนับสนุนกิจการที่เพิ่มมูลค่า ผลิตนวัตกรรม แต่ทำยังไงมันจะเกิดขึ้นมาได้ วันนี้รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาปรับทั้งระบบ  ทำเพื่อประชาชน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โลกมันแข่งขันกันเยอะ ทำยังไงเราจะได้ประโยชน์จากการแข่งขัน โดยความร่วมมือกับชาวต่างชาติที่เป็นมิตรกับเรา เราจะต้องเดินไป ร่วมมือกัน ภาครัฐ เอกชน ประชาชน

      สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นคือประชาชนยังไม่ได้อะไรจากตรงนี้ ทุกคนต้องมีรายได้เพียงพอ มีสังคมที่เข้มแข็ง ช่วยเหลือประคับประคองกันทุกฝ่าย  และเราจะสร้างวงจรการผลิตอย่างไร คิดเพิ่มมูลค่าอย่างไร แสวงหาความร่วมมืออย่างไร เริ่มกันตรงไหน ต้องมีข้อตกลงเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศ ต้นทาง ถึงปลายทาง ไม่ใช่ต่างคนต่างผลิต เวลามีนวัตกรรมมาใหม่ก็มาแข่งกันอีก เราต้องมองหาวิธีที่จะสร้าง partnership ไม่ใช่แข่งกันอย่างเดียว ต้องสร้างความร่วมมือกันด้วย

     วันนี้ เราเดินหน้าประเทศได้ ความเชื่อมั่นก็สูงขึ้น เราปล่อยให้ภาคเอกชนเดินหน้าคนเดียวมาตลอด รัฐบาลจะต้องมาเดินข้างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก เรื่องการเปิดตลาด ให้ข่าวสาร ส่งเสริมการร่วมทุน เอกชนนำหน้ารัฐมาแล้ว มี Innovation มาแล้ว

    วันนี้ เราต้องทำแบบฝรั่ง คือวิจัยในส่งที่เป็นประโยชน์ เป็นความเร่งด่วนก่อน หรือคิดอะไรที่แปลก ใหม่ แตกต่างจากของเดิมที่มีอยู่และดูดีกว่าเดิม ทั้งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และที่สำคัญแสวงหาความร่วมมือ ให้สอดคล้องกับศักยภาพ และสิ่งที่เรามี ไทยจะเข้มแข็ง มีเสถียรภาพ เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีปัญหา รอบบ้านจะมีปัญหาหมด เราเป็นตัวแปรที่ทำให้อาเซียนเดินหน้า หรือถอยหลังได้

     สิ่งที่เราต้องการควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพประเทศ​ คือการพัฒนาประชาชนระดับล่าง เศรษฐกิจประเทศรวมตั้งแต่ชุมชน ไปถึงภูมิภาค เขตเศรษฐกิจพิเศษ การค้าชายแดน CLMV ประชาคมโลก เรามีวงจรที่จะร่วมมือกันอย่างไร พัฒนาอย่างไร Innovation สำคัญที่สุด หลายอย่างเราทำแล้ว แต่ถาม ยังขายไม่ได้ แต่ถ้าต่างชาติเข้ามาแล้วขายได้เลย เราต้องดูเรื่องการอำนวยความสะดวกด้านการประกอบธุรกิจ เราต้องเจริญเติบโตจากภายใน ต้องไม่ลืมเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการรายใหม่ เราจะพัฒนาทุกด้าน แก้ไขข้อติดขัดใหม่ได้

    ปีหน้าเป็นปีแห่ง  Innovation มกรา 59- สิงหา 60 ทั้งหมดจะไปเขียนในรัฐธรรมนูญ แล้วเราจะเดินไปข้างหน้าได้

    ทุกอย่างลงทุนบวก 1 ทั้งสิ้น เพื่อให้เดินไปข้างหน้าด้วยกัน มี Connectivity กับประเทศเพื่อนบ้านด้วย เราอยู่ตรงกลาง เราเริ่มได้ เป็นศูนย์กลางได้ นี่เป็นโอกาสของนักธุรกิจด้วยว่าเราจะวางแผนยังไง ไปพม่าไหม เชื่ออย่างไร รถไฟท่าเรือ การขนส่ง สนามบิน อยากให้ทุกฝ่ายเข้ามาร่วมศึกษาด้วย

    เราไปประชุม UN ทุกฝ่ายเขาเชื่อมั่นระบบเศรษฐกิจเรา ขอแค่ให้เรามีเสถียรภาพแค่นั้นและเขาจะเดินหน้าของเขา แล้วหลัง 2560  ก็จะทุ่มเต็มที่

     สิ่งสำคัญอีกประการคือเรื่อง Climate change ต้องดูเรื่องการลดปริมาณกาซคาร์บอนไดออกไซด์ เราเพิ่งเริ่มทำเท่านั้น ถ้าเปรียบเทียบกับต่างประเทศ นี่คือปัญหาของอาเซียนที่ต้องฝากนักธุรกิจช่วยกันดู เราต้องคิดไปข้างหน้าว่าอีก 20 ปีข้างหน้าเราจะเป็นยังไง Innovation ต้องลงไปในภาคเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์มากขึ้น

    สิ่งที่ต้องระวังคือการสูญเสียระบบนิเวศ ถ้าไม่แก้ไขเรื่องเกษตรอุตสาหกรรมให้เสริมกันไปได้ ให้ประชาชนมีอาชีพ เลี้ยงตัวเองได้ นวัตกรรม อุตสาหกรรมจะช่วยเข้ามาเสริม เมื่อเกษตรกรไม่มีรายได้จากการรอการเก็บเกี่ยว ถ้าเขามีรายได้เข้ามา ก็มีโอกาสเกิดเม็ดเงินและสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เราต้องวางแผนให้ชัดเจนว่าประเทศจะเดินหน้าไปอย่างไร ถ้าอยากให้ส่งเสริมอุตสาหกรรม ทำ  คลัสเตอร์ให้บอกรัฐบาลจะดูแลให้ สร้างความร่วมมือไปสู่การวิจัยและพัฒนา และ สร้างนักวิจัยขึ้นมา

     ปีหน้าต้องเป็นปีแห่งการเรียนรู้ เปลี่ยนผ่าน เพื่อให้ประเทศไทยมีที่ยืนในสังคมโลก ผมคาดหวังให้ตัวเลขการประเมินทุกด้านต้องขึ้น เพราะเราแก้ไข กำลังแก้ไข อย่าลืมพัฒนาทรัพยากรของประเทศด้วย เราตั้งเป้าแล้วว่าจะผลิตบุคลากรของประเทศอย่างไร

     ขอบคุณเอสซีจีที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้กับประเทศ และมีการประกอบกิจกรรมคู่ขนานไปด้วย อย่างเช่นเรื่อง CSR และนำเงินมาวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ สร้างวิสาหกิจชุมชน เอสเอ็มอีให้เข้มแช็งเป็นภาคีเครือข่ายของโรงงานขนาดใหญ่ ขอบคุณทุกอย่างที่ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ปีนี้สิ่งที่เราต้องขับเคลื่อนคือ เรื่องนี้ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้กลุ่มประเทศภาคีของเรานำไปใช้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!