WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Enterprise

ข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับซิทริกซ์ประจำเดือน เมษายน

     ความท้าทายในการบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ภายในองค์กร (Enterprise Mobility)

     เมื่อ 10 ปีก่อน การทำงานแบบเคลื่อนที่หมายถึงเพียงการเช็คอีเมลของคุณบนอุปกรณ์ Blackberry ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีนอกเหนือจากการใช้งานบนพีซีของคุณ สภาพแวดล้อมการทำงานและภาพโดยรวมของอุปกรณ์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตามผลการวิจัยที่ดำเนินการโดย Enterprise Strategy Group (ESG) บริษัทให้บริการวิจัย วิเคราะห์ กลยุทธ์ และการตรวจสอบแบบบูรณาการด้านไอทีระดับโลกในนามของซิทริกซ์ แสดงให้เห็นว่า ร้อยละ 87 ขององค์กรมีการพิจารณาแล้วว่าเทคโนโลยีแบบ mobile computing หรือการนำเครือข่ายคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่มาเชื่อมโยงกับระบบไร้สายนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อธุรกิจขององค์กร นอกจากนี้เกือบร้อยละ 32 ของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเชื่อว่าอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกระบวนการทางธุรกิจ รวมถึงประสิทธิภาพขององค์กรทั้งหมด

    นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ได้มีการคาดการณ์ว่า ตลาดการใช้งานสำหรับแนวคิดในการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในที่ทำงาน หรือ BYOD (Bring Your Own Device) ทั่วโลกจะเติบโตด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR: Compound Annual Growth Rate) ที่ร้อยละ 25.32 ในระหว่างปี 2557 ถึง 2562 ซึ่งมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นของแพลตฟอร์มอุปกรณ์เคลื่อนที่เป็นปัจจัยหลักในการผลักดันการเติบโตที่สำคัญ

     การทำงานแบบเคลื่อนที่ในวันนี้ถูกมองว่าเป็นรูปแบบการทำงานที่แพร่หลาย ซึ่งได้เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบไอทีแบบดั้งเดิม โดยการส่งมอบการใช้งานทั้ง แอพพลิเคชั่น (แอพ) เดสก์ทอปเสมือน ไฟล์ และบริการที่ต่อเนื่อง สำหรับผู้ใช้ใด ๆ บนอุปกรณ์ใด ๆ ผ่านเครือข่ายใดๆ ก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วองค์กรส่วนใหญ่ยังไม่สามารถบรรลุถึงจุดหมายนั้นได้ในตอนนี้ คุณมาร์ค มิคาลเลฟ รองประธานประจำภูมิภาคอาเซียนของซิทริกซ์ จะมาร่วมแชร์สุดยอดความท้าทายในการบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ภายในองค์กร (Enterprise Mobility) ที่แต่ละองค์กรควรคำนึงถึงทั้งหมด 5 ข้อหลักสำคัญ ดังต่อไปนี้

1. การเติบโตของอุปกรณ์ที่พุ่งสูงขึ้น

    ในวันนี้อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในธุรกิจมีจำนวนมากขึ้น ทั้งในแง่ของความหลากหลายและด้วยตัวจำนวนของอุปกรณ์ที่ได้นำมาใช้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นคนๆ หนึ่งมีอุปกรณ์ถึงสองชิ้นหรือมากกว่านั้นในเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในที่ทำงาน (BYOD: Bring Your Own Device) การเลือกนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในที่ทำงานตามข้อกำหนดองค์กร (CYOD: choose-your-own-device) การใช้อุปกรณ์ที่องค์กรจัดหาให้เพื่อใช้ส่วนตัวในที่ทำงาน (COPE: company-owned, personally enabled) หรือแม้แต่การใช้เทคโนโลยีส่วนบุคคลที่ไม่ผ่านการรับรองจากองค์กร องค์กรต้องมีบริหารจัดการกับการใช้งานของอุปกรณ์ทั้งหมดทั้งมวลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น รวมถึงปัญหาต่างๆ นานาที่มาพร้อมกัน อาทิเช่น จำนวนที่เพิ่มมากขึ้นของอุปกรณ์ในตลาดวันนี้ทำให้การบำรุงรักษาคงไว้ซึ่งความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่มีลักษณะการใช้งานที่ไม่เหมือนกันด้วยการมีเจ้าของที่แตกต่างกันนั้นเป็นสิ่งที่ท้าทายเมื่อข้อมูลขององค์กรที่สำคัญถูกบันทึกเก็บในอุปกรณ์เครื่องเดียวกันกับข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ ยังมีความกังวลอย่างต่อเนื่องถึงการการรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงเครือข่ายขององค์กรบนอุปกรณ์ โดยไม่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกที่อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของพนักงานและความต่อเนื่องทางธุรกิจ

2. การเคลื่อนย้ายแอพ

    การเพิ่มขึ้นของจำนวนแอพพลิเคชั่นยุคโลกใหม่ เช่น เว็บ มือถือ และการใช้งานแบบ Software-as-a-Service หรือ SaaS ได้นำผลประโยชน์มากมายมาให้กับองค์กร ทั้งในการสนับสนุนผู้ใช้และช่วยขยายขีดความสามารถด้วยรูปแบบและอุปกรณ์ที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อการใช้งานในสถานที่อย่างทั่วถึงมากขึ้นกว่าเดิม  อย่างไรก็ตามองค์กรยังคงมีการลงทุนเป็นอย่างมากในแอพพลิเคชั่นและวินโดวส์แบบดั้งเดิม ถึงแม้ว่าเป็นเรื่องง่ายที่จะยกเลิกการใช้แอพพลิเคชั่นยุคเก่าเหล่านี้ในฐานะเป็น "ระบบทำงานเดิมที่มีอยู่แล้ว" หรือ “legacy systems” ที่พร้อมจะถูกเลิกใช้ได้ทุกเมื่อ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระบบทำงานเดิมที่มีอยู่แล้วนี้ยังคงมีบทบาทที่สำคัญในการใช้งาน

    จุดมุ่งหมายคือการใช้แอพพลิเคชั่นยุคเก่าเคียงข้างไปพร้อมกับแอพพลิเคชั่นยุคใหม่บนอุปกรณ์เดียวกันซึ่งสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีได้เหมือนกัน ในการบรรลุถึงเป้าหมายนี้องค์กรจะต้องเริ่มลงมือเดินหน้าเพิ่มมูลค่าของแอพพลิเคชั่นแบบดั้งเดิมเหล่านี้และเชื่อมโยงเข้าสู่แอพพลิเคชั่นยุคใหม่โดยการระดมรวบรวมแอพพลิเคชั่นรุ่นเก่าให้สามารถทำงานร่วมกับแอพพลิเคชั่นรุ่นใหม่กว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    3. การรักษาความปลอดภัยและภาระความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้สำหรับทุกอย่างและทุกที่

    ทุกสิ่งเป็นเรื่องง่ายเมื่อมีระบบที่เป็นมาตรฐานและมีมาตรการฉุกเฉินเพื่อปกป้องระบบจากสถานการณ์อันตราย หรือ การ lockdown แต่ในเวลาเดียวกันก็ทำให้ประสิทธิภาพน้อยด้วยเช่นกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสภาพแวดล้อมด้านไอทีที่หลากหลายมีการเปิดกว้างมากขึ้น ซึ่งทำให้หลายสิ่งเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ code โดยไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงาน (Refactoring) ให้กับการรักษาความปลอดภัยและความรับผิดชอบทั่วทุกส่วนของทั้งแอพพลิเคชั่นแบบดั้งเดิมและแบบใหม่ที่ทันสมัย ??ข้อมูล รวมถึงการให้บริการ

     สภาพแวดล้อมที่ข้อมูลส่วนบุคคลและขององค์กรถูกบันทึกใช้งานบนหลากหลายอุปกรณ์สำหรับแต่ละผู้ใช้ในขณะนี้ ทำให้มีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นในการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลนั้นๆ รวมถึงการมีนโยบายการจัดการควบคุมการเข้าถึงทั้งแอพพลิเคชั่นและข้อมูลสำหรับผู้ใช้เดียวกันบนหลายอุปกรณ์ นอกจากนี้องค์กรยังต้องมีนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว รวมทั้งกฎระเบียบและกฎหมาย ซึ่งมีจำนวนกว่า 300 รายการทั่วโลกครอบคลุมการควบคุมเฉพาะกว่า 3,500 จุด ซึ่งมาตรการทั้งหมดนี้จะต้องมีการดำเนินการในลักษณะที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน

4. ทีมพนักงานที่มีผันเปลี่ยน

    ในขณะที่จำนวนพนักงานมีการขยายข้ามรุ่นสู่รุ่นและในหลากหลายภูมิศาสตร์ องค์กรจึงต้องสรรหาวิธีการใหม่ๆ ในการตอบสนองต่อความคาดหวังของพนักงาน กลุ่มเจนเอ็กซ์ (Gen X หรือ Generation X) ได้ผลักดันระดับความซับซ้อนทางเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นได้ในการทำงานไกลเกินกว่ารุ่นก่อนๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในช่วงปีที่ผ่านมากลุ่มเจนวาย (Gen Y หรือ Generation Y) ได้นำวิธีการใหม่ ๆ ที่ต้องการในการทำงานมาใช้ ซึ่งรวมถึงแอพพลิเคชั่นที่ทันสมัย พร้อมประสบการณ์ด้านไอทีของผู้บริโภคในแบบบริการตนเอง หรือ self-service การค้นหาที่สำหรับไว้เก็บแอพพลิเคชั่นที่ดีที่สุดขององค์กรอย่างต่อเนื่องคือส่วนสำคัญของประสบการณ์นี้ที่พนักงานจะสามารถบัญญัติแอพพลิเคชั่นที่พวกเขาต้องการบนอุปกรณ์ใดๆ ก็ได้ที่เลือกไว้ด้วยตนเอง ในขณะเดียวกันองค์กรต้องช่วยอำนวยความสะดวกให้พนักงานสามารถทำงานเมื่ออยู่ที่ใดก็ได้

5. การเปลี่ยนแปลงถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

    องค์กรในวันนี้ยังคงอยู่ในสภาพของกระบวนการหมุนเวียนของพนักงาน การย้ายงานและทรัพยากรอย่างคล่องตัวทั่วทุกส่วน ทั้งในส่วนของสถานที่ตั้งสำนักงานต่างๆ หน่วยธุรกิจ คู่ค้า และผู้ให้บริการ ก็เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ฝ่ายไอทีจำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการ ย้าย เพิ่ม เปลี่ยน (move-add-change)อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นให้มาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน โดยปราศจากอุปสรรคหรือการหยุดชะงักที่มีผลกระทบต่อการทำงาน

     ทั้งนี้แนวคิดแบบ 'ไม่ต้องซื้อมาเป็นเจ้าของ หากคุณสามารถเช่าได้'ถือเป็นความวลีใหม่สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีในยุคนี้ ซึ่งระบบคลาวด์นั้นมีความยืดหยุ่นในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมไอที ความสามารถในการเพิ่มศักยภาพของพนักงานนอกองค์กร การบูรณาการการควบรวมกิจการและการเข้าซื้อกิจการ การเพิ่มกำลังการผลิตโดยรวดเร็ว การชะลอตัวของโครงการใหม่ ทั้งหมดในี้ใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งไม่ถึงเดือนและสามารถทำได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ

  ตามการคาดการณ์ของตลาดทั่วโลกที่เติบโตขึ้นสำหรับแนวคิด BYOD เป็นผลมาจากการจำนวนของแพลตฟอร์มการใช้งานรูปแบบเคลื่อนที่ที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นองค์กรควรเตรียมพร้อมเดินหน้าด้วยการมีกลยุทธ์ในการทำงานแบบเคลื่อนที่ๆ แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรที่มีความต้องการทางธุรกิจสำหรับการนำแนวคิด BYOD มาใช้สูง ด้วยการระบุปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างมีการพัฒนาแนวคิด BYOD ในองค์กร นอกจากนี้ องค์กรต้องมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการบูรณาการควบคุมด้านไอทีที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสอดคล้องตามข้อกำหนดอยู่เสมอ ไม่ว่าพนักงานจะทำงานอยู่ที่ใด ด้วยวิธีใด ผ่านแอพพลิเคชั่น ใด หรืออุปกรณ์ที่ใช้ประเภทใดก็ตาม

   สำหรับ การอภิปรายเชิงลึกกับ คุณมาร์ค มิคาลเลฟ รองประธานประจำภูมิภาคอาเซียนของซิทริกซ์ ในการทำงานแบบเคลื่อนที่ กรุณาติดต่อ นันท์ชญาน์ วิรุนันท์เมธิน บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ที่ 02 260 5820 ต่อ 126 หรือ [email protected]

    นอกจากนี้ ในวันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน 2558 ซิทริกซ์จะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานสัมมนาพิเศษในประเทศไทย ซึ่งในงานนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ร่วมพูดคุยกับ คุณคาร์ล บราวน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ กลุ่มระบบเครือข่ายคลาวด์ของซิทริกซ์ ที่เดินทางมาร่วมงานนี้โดยเฉพาะ สำหรับท่านสื่อมวลชนที่สนใจร่วมพูดคุย กรุณาติดต่อ นันท์ชญาน์ วิรุนันท์เมธิน บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด  ได้ที่ 02 260 5820 ต่อ 126 หรือ [email protected]

หัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับซิทริกซ์สามารถติดตามที่

?         ซิทริกซ์รายงานผลลัพธ์ทางการเงินในช่วงไตรมาสแรก

      ซิทริกซ์ ซิสเต็มส์ อิงค์ (NASDAQ:CTXS) เผยผลลัพธ์ทางการเงินในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2558 ที่สิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 ว่าซิทริกซ์ทำรายได้ถึง 761 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเติบโตสูงขึ้นร้อยละ 1 เมื่อคิดเทียบกับไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 ที่ทำรายได้ 751 ล้านเหรียญสหรัฐ

?         ซิทริกซ์ตอบสนองความต้องการลูกค้าในเรื่องการปกป้องข้อมูลสำคัญทางธุรกิจ

     ซิทริกซ์เผยวิธีการแชร์เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ร่วมกันในวิธีที่ง่ายขึ้นกว่าเดิม เริ่มต้นในวันพรุ่งนี้ ลูกค้าของโปรแกรมซิทริกซ์ แชร์ไฟล์ (Citrix ShareFile) สามารถส่งอีเมล์ที่มีความปลอดภัยด้วยการใส่รหัสลับจากไมโครซอฟท์ เอาท์ลุค (Microsoft Outlook) เพื่อรักษาความปลอดภัยเนื้อหาของข้อความในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของอุตสาหกรรมเช่น กฎหมายว่าด้วยการควบคุมและการส่งผ่านข้อมูลทางด้านการประกันสุขภาพ (The Health Insurance Portability and Accountability Act หรือ HIPAA) ซึ่งครอบคลุมไปตั้งแต่ความสามารถในการทำงานจากภายในกล่องจดหมาย อีเมล์ ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับลูกค้าและผู้ขายได้อย่างปลอดภัยโดยไม่กระทบกับกระบวนการการทำงานในปัจจุบัน ทั้งหมดนี้เป็นความสามารถในการทำงานที่ทำขึ้นมาให้เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับนวัตกรรมการป้องกันข้อมูลอย่างข้อจำกัดของโปรแกรม ShareFile Restricted StorageZones สำหรับผู้ประกอบการในพอร์ตโฟลิโอของซิทริกซ์โซลูชั่นที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจทุกขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่

?         ซิทริกซ์เพิ่มประสิทธิภาพ "Always-On" ให้กับที่ทำงานในสาขาอื่น

    ซิทริกซ์ประกาศเปิดตัวคลาวด์รุ่นบริดจ์ เวอร์ชวล แวน? (CloudBridge Virtual WAN ? Edition) ซึ่งเข้ามาช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องการส่งมอบแอพพลิเคชั่น เอกสาร และบริการด้านไอทีไปยังสำนักงานในสาขาต่างๆ ได้มากกว่าร้อยละ 80 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สามารถมั่นใจถึงความพร้อมของแอพพลิชั่นได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ โซลูชั่นการทำงานของคลาวด์บริดจ์ เวอร์ชวล แวน ตัวใหม่นี้มอบความยืดหยุ่นในการใช้งานเทคโนโลยี WAN ที่คุ้มค่าได้กว่าหลายเท่าตัว นำเสนอความสามารถในการปรับขนาดแบนด์วิดธ์ของ WAN ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงได้มากกว่าการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม (Traditional approaches) โซลูชั่นนี้ยังช่วยให้มั่นใจได้ถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่ดีที่สุดโดยการส่งระบบวิกฤติ (Critical System) ระบบควบคุมความล่าช้าของข้อมูล(Delay-sensitive data) ที่ผ่านเส้นทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างปลอดภัย โซลูชั่นคลาวด์บริดจ์ เวอร์ชวล แวนใหม่นี้ช่วยขยายแพลตฟอร์มของคลาวด์บริดจ์ รวมถึงการบูรณาการเข้ากับ HDX ของบริษัทและเทคโนโลยีการเพิ่มความเร็วให้กับแอพพลิเคชั่น ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการส่งข้อมูลบนพื้นที่การทำงานแบบเคลื่อนที่ได้อย่างปลอดภัยด้วยแอพพลิเคชั่น เอกสาร และบริการด้านไอที ที่ผู้ใช้งานต้องการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจากการทำงานแบบเข้าถึงจากระยะทางไกล (Remote) และจากสำนักงานในสาขาต่างๆ

?         ซิทริกซ์ให้บริการระบบความปลอดภัยจากจุดปลายหนึ่งไปอย่างจุดปลายอีกจุดหนึ่ง (End-to-End Security) สำหรับแอพและข้อมูล ด้วยการได้รับประกาศนียบัตรด้านความปลอดภัยอันดับสูงที่สุด (Common Criteria Certification) 

ซิทริกซ์ประกาศความสำเร็จของซิทริกซ์ เซนแอพ? และซิทริกซ์ เซนเดสก์ทอป 7.6? ที่ได้รับประกาศนียบัตรด้านความปลอดภัยอันดับสูงที่สุด มีความสามารถในการให้ความปลอดภัยเรื่องเข้าถึงแอพพลิเคชั่นวินโดว์สเสมือนและเดสก์ทอปไปยังผู้ที่ทำงานบนอุปกรณ์ทุกชนิดไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม ด้วยการรับรองนี้ ซิทริกซ์ได้นำเสนอแอพพลิเคชั่นแบบ end-to-end เพียงหนึ่งเดียวในอุตสาหกรรมนี้ พร้อมโซลูชั่นการจัดส่งข้อมูลไปยังเดสก์ทอปที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินของ Common Criteria รวมถึงข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่เข้มงวดของหลายองค์กรและหน่วยงานราชการ รวมถึงกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา

?         ซิทริกซ์สนับสนุนองค์กรโอเพนสแต็กส์ (OpenStack Foundation) เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานการทำงานร่วมกันของระบบคลาวด์

     ซิทริกซ์ประกาศถึงการเข้าเป็นผู้สนับสนุนขององค์กรโอเพนสแต็ก (OpenStack Foundation) โดยการเข้าร่วมของพันธมิตรต่างๆ ขององค์กร ซิทริกซ์แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการขับเคลื่อนการทำงานร่วมให้เป็นไปตามมาตรฐานของแพลตฟอร์มคลาวด์ และเพื่อเป็นการเพิ่มความต้องการสำหรับทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นและความยืดหยุ่นในโซลูชั่นระบบคลาวด์แบบส่วนตัว สาธารณะ และไฮบริด ส่วนโซลูชั่นเน็ตสเกลเลอร์? (NetScaler?) และเซนเซิร์ฟเวอร์? (XenServer?) จากซิทริกซ์ถูกใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักสำหรับผู้ให้บริการโครงสร้างระบบคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกบางราย และการประกาศถึงความร่วมมือนี้ได้นำพลังความสามารถของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปสู่ลูกค้าในการเลือกที่จะสร้างระบบคลาวด์บนโอเพนสแต็ก

    ซิทริกซ์ ได้รับรางวัลในการจัดอันดับพันธมิตรระดับห้าดาว จากหนังสือแนะนำโปรแกรมพันธมิตรปี 2558 ของ CRN

    ซิทริกซ์ประกาศถึงการได้รับรางวัลการจัดอันดับระดับห้าดาวจากหนังสือแนะนำโปรแกรมพันธมิตรปี 2558 จาก CRN ของ เดอะ ชาแนล คอมพานี (The Channel Company) รายนามประจำปีนี้เป็นรายชื่อของเหล่าผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีที่เป็นผู้ให้บริการด้านโซลูชั่นและจัดจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางไอที โปรแกรมการจัดอันดับระดับห้าดาวได้ยกย่องถึงกลุ่มบริษัทย่อยระดับหัวกะทิที่ให้สุดยอดองค์ประกอบสำคัญต่างๆของการให้บริการจากพันธมิตรแก่ผู้ให้บริการโซลูชั่นหลักในโปรแกรมช่องทางของพวกเขา ซิทริกซ์ได้รับการจัดอันดับระดับห้าดาวทั้งด้านการจัดเก็บข้อมูล และโปรแกรมการรักษาความปลอดภัยของ CRN

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!