- Details
- Category: บทความทั่วไป
- Published: Friday, 20 October 2017 22:51
- Hits: 12531
'โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา'จำเป็นต้องสร้างจริงหรือ!!'???...
@'Azman.'โดย.พิราบข่าว.Online'
รัฐบาลชุดปัจจุบันโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)กำลังผลักดันให้เกิด'โครงการไฟฟ้าถ่านหินเทพา'หรือที่เรียกว่า'โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด'ซึ่งมีการกำหนดพื้นที่ก่อสร้างใน อ.เทพา จ.สงขลา'โครงการไฟฟ้าถ่านหินเทพา'หรือที่เรียกว่า'โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด'ประกอบด้วยโครงการ 2 ส่วนด้วยกัน กล่าวคือส่วนของท่าเทียบเรือสำหรับการขนส่งถ่านหิน และส่วนของโรงงานผลิตไฟฟ้าซึ่งมีจำนวน 2 โรงด้วยกันในขณะที่รัฐบาลเดินหน้าชี้แจงให้เห็นความสำคัญและเหตุผลในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ อ.เทพา จ.สงขลาต้องยอมรับเลยว่าย่อมไม่ราบรื่นและคงเป็นเช่นเดียวกับโครงการห่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภูมิภาคอื่นๆหรือแม้กระทั่งท่าเทียบเรือขนถ่านถ่านหินที่ จ.กระบี่มีผู้เห็นด้วย และเห็นต่างได้มีการเคลื่อนไหวซึ่งมีให้เห็นมาโดยตลอด
ท่ามกลางความเห็นต่างของฝ่ายต่อต้าน สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ'ประชาชน'ผู้ที่ถูกกำหนดว่าเป็น'ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย'ในพื้นที่ 'มีความรู้ความเข้าใจ'ในเรื่องของโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือ'โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด'แค่ไหน!!สิ่งที่ตามมาของโครงการที่เป็นเรื่องของ 'พลังงาน'ไม่ว่าเป็นเรื่องของไฟฟ้า หรือเรื่องของก๊าซธรรมชาติและน้ำมันที่เคยเป็นบทเรียนในอดีตจะมี'ความจริง'เกิดขึ้น2ด้านเสมอด้านแรกคือ'ความจริง'จากเจ้าของโครงการคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)หรือฝ่ายของรัฐบาลซึ่งมักถูกกล่าวหาจากกลุ่มเห็นต่างว่า'ความจริง'ไม่ได้กล่าวถึงทั้งหมดเป็นแค่บางส่วนหรือ’บิดเบือน’เพื่อประโยชน์ของเจ้าของโครงการส่วน'ความจริง'ของกลุ่มเห็นต่างหรือฝ่ายต่อต้านคือกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอรวมถึงบรรดานักวิชาการที่มีความรู้ในเรื่องของพลังงานที่มีความเห็นต่าง ซึ่ง'ความจริง'ของคนเหล่านี้จะ'เห็นต่าง'โดยสิ้นเชิงกับ'ความจริง'ของเจ้าของโครงการ และรัฐบาล
แต่ปัญหาโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือ'โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด'ที่ อ.เทพานั้นพลังการต่อต้านจะมากกว่าที่อื่นๆเพราะในอดีตประชาชนในพื้นที่เหล่านี้เคยต่อต้านโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซียหรือที่วันนี้เรียกกันสั้นๆว่าบริษัททีทีเอ็มมาแล้วถึงขนาดการใช้วาทกรรมว่า'มึงสร้างกูเผา'รวมทั้งการต่อต้านโรงไฟฟ้าจะนะที่ผ่านมาผู้เขียนอยากจะให้เห็นภาพรวมของการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้กันดูว่าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือ'โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด'ที่ อ.เทพานั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)หรือรัฐบาลมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน!! ที่จะต้องดำเนินการก่อสร้างระบบไฟฟ้าของภาคใต้ในปี พ.ศ. 2562 ข้อถกเถียงสำคัญประการหนึ่งในความขัดแย้งเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินของ กฟผ.ที่ จ.กระบี่ และที่ อ.เทพา จ.สงขลา
คือความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้เพราะกำลังการผลิตสำรองในภาพรวมของทั้งประเทศในระยะ10 ปีที่จะถึงนี้จะเหลือเกิน(ร้อยละ 30-40 ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุด)กว่ามาตรฐานในการวางแผนระบบไฟฟ้ามาก(ค่ามาตรฐานคือร้อยละ 15)ดังนั้นข้อถกเถียงจึงมุ่งเป้ามาที่ความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้เป็นสำคัญทาง กฟผ. มีความเป็นห่วงว่าระบบไฟฟ้าของภาคใต้จะไม่มั่นคงในปี พ.ศ.2562 เนื่องจากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น บทความนี้จึงจะฉายภาพระบบไฟฟ้าของภาคใต้ ทั้งกำลังการผลิตและความต้องการใช้ไฟฟ้าในปี พ.ศ.2562(หรืออีก 4 ปีข้างหน้า)เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญสำหรับการถกเถียงกันในเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อไปในปีพ.ศ.2562 ภาคใต้มีโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ 3 โรงคือโรงไฟฟ้าจะนะ 1(710 เมกะวัตต์)โรงไฟฟ้าจะนะ 2(800 เมกะวัตต์)และโรงไฟฟ้าขนอม(930 เมกะวัตต์ซึ่งจะแล้วเสร็จแล้วใช้ทดแทนโรงไฟฟ้าขนอมเดิมในปี พ.ศ. 2559)รวมทั้งหมดมีกำลังการผลิต 2,440 เมกะวัตต์
ถือเป็นกำลังหลักของกำลังการผลิตไฟฟ้าในภาคใต้ภาคใต้มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 3 แห่งคือเขื่อนรัชประภา(240 เมกะวัตต์)เขื่อนบางลาง(72 เมกะวัตต์) และเขื่อนบ้านสันติมีกำลังการผลิตติดตั้ง 313 เมกะวัตต์ ไม่รวมโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก ภาคใต้มีโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซล 2 โรงคือโรงไฟฟ้าน้ำมันเตากระบี่(340 เมกะวัตต์)และโรงไฟฟ้ากังหันแก๊สสุราษฎร์ธานี(234 เมกะวัตต์) รวมกัน 2 โรงเท่ากับ 574 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งมักจะเดินเครื่องเป็นโรงไฟฟ้าเสริม เพราะมีต้นทุนค่าเชื้อเพลิงสูงแต่ยังสามารถใช้ในกรณีที่มีความจำเป็นได้ ภาคใต้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ขายเข้าระบบแล้ว 221 เมกะวัตต์(จากกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 249 เมกะวัตต์ เพราะบางส่วนจะใช้ในโรงงานของตนเอง)รวมกับที่ได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วอีก 284 เมกะวัตต์
รวมเป็นการคาดการณ์กำลังการผลิตที่ขายเข้าระบบ 505 เมกะวัตต์(ไม่ได้รวมผู้ผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้าแล้วแต่ยังไม่ได้เซ็นสัญญารับซื้ออีก 197 เมกะวัตต์ ถ้ารวมด้วยกำลังการผลิตจะเพิ่มเป็น 702 เมกะวัตต์)(หมายเหตุข้อมูลจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ณ เดือนกรกฎาคม 2558)เมื่อรวมกำลังการผลิตไฟฟ้าจาก 4 แหล่งเข้าด้วยกัน ภาคใต้จะมีกำลังการผลิตในระบบทั้งหมดในปีพ.ศ. 2562 เท่ากับ 3,832 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ ภาคใต้ยังมีระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 500 กิโลโวลต์จากภาคกลางที่ใช้งานอยู่แล้วในปัจจุบันหนึ่งวงจร(ส่งไฟฟ้าได้ 650 เมกะวัตต์)และที่กำลังดำเนินการสร้างใหม่อีก 500 กิโลโวลท์(ส่งไฟฟ้าได้ 650 เมกะวัตต์จะแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2562)และสายส่งเชื่อมโยงไทย-มาเลเซียซึ่งส่งไฟฟ้าได้อีก 300เมกะวัตต์ รวมระบบสายส่งที่มาช่วยเสริมหนุนกำลังการผลิตในพื้นที่ได้อีก1,600 เมกะวัตต์(แต่ยังมิได้รวมเข้าไว้ในกำลังการผลิตของภาคใต้เพราะถือเป็นส่วนเสริม)ในด้านความต้องการใช้ไฟฟ้า ภาคใต้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในปีพ.ศ.2557 เท่ากับ2,468 เมกะวัตต์โดยจังหวัดที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดได้แก่สงขลา(482 เมกะวัตต์)สุราษฎร์ธานี(370 เมกะวัตต์)ภูเก็ต(359เมกะวัตต์)และนครศรีธรรมราช(331 เมกะวัตต์)ตามลำดับโดย 4 จังหวัดนี้ ใช้ไฟฟ้ารวมกันเท่ากับ 62.5% ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุดทั้งภาคจังหวัดที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อยที่สุด คือ นราธิวาส(71เมกะวัตต์)สตูล(56 เมกะวัตต์)และระนอง(48 เมกะวัตต์)ข้อมูลความต้องการไฟฟ้าสูงสุดนี้ได้จากฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต่อมาจึงเป็นการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาคใต้ในปีพ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นปีละ 5.7%
ตามแนวโน้มที่ผ่านมาซึ่งพบว่าความต้องการไฟฟ้าของภาคใต้ในปีพ.ศ.2562 จะเท่ากับ 3,256 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าจะมีการปฏิบัติตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีของกระทรวงพลังงานซึ่งเป้าหมายในการอนุรักษ์พลังงานของภาคใต้ในปีพ.ศ.2562 เท่ากับ 170 เมกะวัตต์ฉะนั้นหากภาคใต้ดำเนินการได้สำเร็จตามเป้าหมาย ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในภาคใต้ในปีพ.ศ.2562 ก็จะลดลงเหลือ 3,086 เมกะวัตต์จากกำลังการผลิตทั้งหมดของระบบไฟฟ้าในภาคใต้ 3,832 เมกะวัตต์(ไม่รวมระบบสายส่ง)และความต้องการไฟฟ้าของภาคใต้ 3,256 เมกะวัตต์(ไม่หักลดการอนุรักษ์พลังงาน)ในปีพ.ศ.2562 กำลังการผลิตสำรองทั้งหมดของภาคใต้จะเท่ากับ 576 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับร้อยละ17.7 ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุดโดยไม่รวมการเสริมหนุนจากระบบสายส่งแต่หากเราหักลดการอนุรักษ์พลังงานตามแผนฯ ด้วย(ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเหลือ 3,086 เมกะวัตต์)ภาคใต้จะมีกำลังการผลิตสำรองเป็น 746 เมกะวัตต์คิดเป็นร้อยละ 24.2 ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุด
แม้ว่า โดยทั่วไปในการวางแผนระบบไฟฟ้าของไทยเราจะถือว่าระบบไฟฟ้าจะมีความมั่นคงเมื่อมีกำลังการผลิตสำรองเกินกว่าร้อยละ 15 ผู้เขียนเชื่อว่าประชาชนในพื้นที่ภาคใต้หรือแม้แต่คนไทยทุกคนในภูมิภาคอื่นๆคงไม่ขัดขวางในเรื่องของความจำเป็นของพลังงานเพราะรู้ว่าความมั่นคงทางพลังงานเป็นความจำเป็นทั้งในวันนี้และในวันหน้าโดยเฉพาะกับพื้นที่ของภาคใต้ที่จะต้องมีความเสถียรของพลังงานรองรับการเจริญเติบโตของบ้านเมืองที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในอนาคตวันนี้ เราต้องการความมั่นคงในด้านพลังงาน'เพื่อการพัฒนาประเทศ'ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ประเทศไทย พ.ศ.2558 - 2563'มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน'ในระยะ 5 ปี นับจากนี้ไป.
########??.พิราบข่าว.??#########