WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

มองการณ์ไกลเพื่อชิงชัยธุรกิจในทศวรรษหน้า
คุยกับซี.พี

    เป็นระยะเวลามากกว่า 4 ทศวรรษที่ คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือเจริญโภคภัณ์ท่านเริ่มต้นทำงานในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์เมื่อ พ.ศ.2516 ก่อนจะค่อยๆเติบโตจนเป็นกรรมการผู้จัดการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ตามลำดับ ด้วยประสบการณ์ การทำงานที่เข้มขันนี้เองทำให้คุณก่อศักดิ์สามารถเป็นตัวแทนผู้บริหารคนสำคัญของบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด(มหาชน) ในการบอกเล่าถึงกลยุทธ์ในการบริหารงานให้สำเร็จ  รวมถึงการมองการณ์ไกลไปยังโลกแห่งการชิงชัยเชิงธุรกิจในทศวรรษหน้าว่าแต่ละองค์กรควรมีการปรับตัวอย่างไรจึงจะอยู่รอดได้ในวันที่เทคโนโลยีก้าวไกลจนโลกนี้ใบเล็กลง....

       จากเมื่อครั้งที่สาธารณรัฐประชาชนจีนเริ่มเปิดประเทศใน ค.ศ. 1979 นักธุรกิจจำนวนมากเริ่มเดินทางเข้าไปปักหลักลงทุนในเมืองจีน ช่วงนั้นผมกำลังเดินหน้าวางรากฐานของการค้าระหว่างประเทศ บจก. เครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ฮ่องกงพอดี จึงมีโอกาสเห็นการขยายตัวของออฟฟิศจำนวนมากที่นักธุรกิจพากันมาตั้งรกรากยังฮ่องกง และนำมาคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นเมื่อมีการร่วมลงนามในปฏิญญาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC เสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ.2558 นี้

      AEC จะทำให้คนต้องการมาลงทุนในประเทศไทยเพราะไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคม และมีความพร้อมมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประการ เช่น การขนส่งจากพม่าไปเวียดนาม หรือจากจีนไปยังประเทศสิงค์โปร์ จะต้องไปตัดกันที่จังหวัดพิษณุโลก ทำให้ไทยมีโอกาสมากมาย หรือการที่พม่าเปิดประเทศอย่างจริงจังทำให้ไทยกลายเป็นที่ตั้งของออฟฟิศแล้วที่อยู่อาศัย ไม่ต่างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฮ่องกงเมื่อทศวรรตที่1980 ที่มีปริมาณของออฟฟิศเกิดใหม่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นผลมาจากการเปิดประเทศของจีน

      แต่ท่ามกลางโอกาสแห่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เบ่งบานของประเทศจีนและฮ่องกง กลับแฝงไว้ซึ่งวิกฤติทางด้านบุคลากร และไม่ละเลยที่จะนำมาเป็นอุทาหรณ์ให้ในก้าวต่อไปของการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

     “เมื่อมีบริษัท องค์กร ห้างร้านใหญ่ๆ เกิดขึ้นมากมายทำให้เกิดการแย่งคนตามมา ช่วงที่ผมอยู่ฮ่องกงตอนนั้นมีคนจากทั่วโลกพากันมาตั้งบริษัทที่นั่น เกิดการแย่งคนมาทำงานจนค่าแรงของนักจัดการในฮ่องกงเริ่มเฟ้อ คืดเงินเดือนแพงขึ้น ตำแหน่งสูงขึ้น แต่คุณภาพของบุคลากรเท่าเดิม กลายเป็นว่าแต่ละบริษัทได้ของมาดีในราคาที่แพงเกิน หรือไม่ได้ของดีแถมยังต้องจ่ายในราคาแพงอีกด้วย ซึ่งประเทศไทยเองก็น่าจะเกิดปรากฏการณ์ลักษณะนี้ในไม่ช้า ดังนั้นนอกจากองค์กรจะได้คนเก่งจริงมาทำงานแล้ว ยังต้องรักษาคนเก่งจริงคนนั้นไว้ให้ได้ เช่นนั้นจะกลายเป็นเป้าให้องค์กรอื่นดึงตัวไป”

      สำหรับสถานการณ์ในแวดวงธุรกิจอีก 10ปีข้างหน้า คือ ต้องมีนักจัดการไทยคอยดูแลจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพแทนการจ้างคนจากประเทศต้นสังกัดนั้น ๆ มาประจำการในประเทศไทย

     “ในการลงทุนทำธุรกิจ มีนักจัดการไทยมาดูแลบริหารองค์กรแทน ทำให้บริษัทต้นสังกัดไม่จำเป็นต้องส่งคนมาทำงานในเมืองไทยเป็นจำนวนมาก ส่งแค่ 2 – 3 คนมาดูแลทิศทางการบริหารงานก็พอ ถ้าเราไม่มีนักจัดการ และบริษัทต้นสังกัดจากต่างประเทศต้องจ้างผู้จัดการหรือพนักงานมาดูแลทุกระดับ เท่ากับว่าเราพลาดโอกาสทำงาน ทำเงิน เรียนรู้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเขาโดยปริยาย  และจากนี้ไปจะเป็นช่วงโอกาสที่ดีมากของไทยที่นอกจากนานาประเทศจะให้ความสนใจเราในฐานะเป็นหนึ่งใน AEC ที่มีประชากรรวมกันกว่า600ล้านคนแล้ว เรายังมีโอกาสที่จะเป็น RCEP หรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนที่มีอีก 6 ประเทศเข้าร่วมกับสมาชิก AEC 10 ประเทศ กลายเป็นมีประชากรรวมกว่า 3,000ล้านคน ซึ่งมีจำนวนมากถึงเกือบครึ่งโลก นี่จึงเป็นโอกาสอย่างดีที่ไทยควรสร้างนักบริหารจัดการขึ้นมา”

      คุณสมบัติของนักบริหารที่ดี คือ ต้องเป็นคนซื่อสัตย์ ถ้าคุณเห็นแก่ได้ ชอบเอาเปรียบ คุณก็ไม่ใช่นักบริหารที่ดี และคุณก็จะไม่ได้รับความไว้วางใจ

     นอกจากการสร้างนักบริหารจัดการที่มีความเก่งรอบด้านในแง่ความสามารถแล้ว สิ่งที่ซีพี ออลล์ให้ความสำคัญเสมอมาคือ  ความละเอียดอ่อนภายในวัฒนธรรมองค์กร ที่ถือเป็นไม้เด็ดในการพิชิตทุกองคาพยพในการต่อสู้บนสนามการแข่งขันธุรกิจ

      “ซีพี ออลล์ไม่เคยกลัวบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาอยู่เมืองไทย อย่าไปมองว่าบริษัทต่างประเทศเข้ามาแล้วจะน่ากลัว หรือบริษัทไทยอ่อนแอ มันไม่จริง เพราะเขาเองก็ไม่เข้าใจคนไทย มันเป็นเรื่องของความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน คุณสมบัติของนักบริหารที่ดีคือ คุณต้องเป็นคนซื่อสัตย์ ถ้าคุณเห็นแก่ได้ เอาเปรียบ คุณไม่ใช่นักบริหารที่ดี คุณก็จะไม่ได้รับความไว้วางใจ ข้อที่สองคือ คุณต้องรักงาน อย่าทำไปวันๆ เพียงแค่มองหาโอกาสใหม่ๆ หรือคุยแต่กับ Head Hunter ข้อที่สาม คุณต้องมีความอดทนอดกลั้น ไม่มีนักจัดการคนไหนที่ไม่อดทน ดังนั้นเมื่อบริษัท คุณไม่ต้องกลัวเลยว่าจะต้องไปแข่งกับใคร คนต่างชาติและคู่แข่งไม่น่ากลัวอย่างที่คิดหรอก มันอยู่ที่การผนึกกำลังกันมากกว่า”

     วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ  องค์กรแต่ละแห่งต้องสร้างขึ้นมาให้ได้ บริษัทหนึ่งบริษัทจริง ๆ แล้วเป็นแค่โต๊ะ เก้าอี้ แต่จิตวิญญาณที่แท้จริงอยู่ที่คน แล้วคนที่อยู่ด้วยกันจะต้องเข้าใจกัน ถ้าเอาคู่แข่ง 2บริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน มีจำนวนคนเท่ากัน แต่พลังของบริษัทไม่เท่ากัน ระหว่างบริษัทที่มีวัฒนธรรมที่ดีกับบริษัทที่ไม่มีวัฒนธรรม ทุกคนยังทำตามใจฉัน ยังไงเสียองค์กรที่มีวัฒนธรรมที่ดีก็ต้องเหนือกว่า แต่ของแบบนี้ต้องใช้เวลา 

     “คนของเรารักกัน ไม่มีการเมือง ไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัว เราเป็นผู้ปกครองที่ดี เรารักลูกค้า ปรัชญาของเราชัดเจนคือเราปราถนาเห็นรอยยิ้มของลูกค้า ด้วยทีมงานที่มีความสุข เราไม่ได้บอกว่าลูกค้าคือพระเจ้าเพราะเขามีเงิน แต่เราอยากให้มองว่าลูกค้าเป็นญาติเป็นเพื่อนที่เราอยากเห็นเขายิ้ม ทีมงานต้องมีความสุขก่อนจึงจะบริการได้ ผู้บริหารก็ต้องสนับสนุนให้ออฟฟิศมีความสุข ช่วงที่เกิดวิกฤติต่างๆโดยเฉพาะมหาอุทกภัย เรามาประชุมกันทุกระดับชั้นตลอด 6 สัปดาห์ไม่มีวันหยุด เราทำงานร่วมกันเป็นบ้าเป็นหลังเพื่อจัดการปัญหา ทั้งหมดคือการทำงานด้วยใจ  ท่านประธานธนินท์ เจียรวนนท์บอกว่าพนักงานซีพี ออลล์รักบริษัท รักงานมากกว่าผู้ถือหุ้น นี่แหละคือทีมเวิร์กที่แท้จริง”

 

ที่มา : หนังสือ Global Vision of 50 Leaders จัดทำโดย สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ในวาระครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้งสมาคมฯ ใน พ.ศ.2557

โดย นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!