WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1dEEPA

ดีป้า ดันดิจิทัลคอนเทนต์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ องค์กรลิขสิทธิ์โลกเผยตลาดซื้อขายสินค้าลิขสิทธิ์ไทยโตสูงสุด

      ดีป้า ชี้ดิจิทัลคอนเทนต์เป็น 1 ใน 5 ของ New S Curve หนึ่งในจิ๊กซอร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ด้านองค์กรอุตสาหกรรมการใช้ลิขสิทธิ์ระดับโลก หรือ LIMA เผยผลสำรวจปีล่าสุด ภูมิภาคเอเชียโตสวนกระแสตลาดโลก ชี้ไทยมีอัตราขยายตัวสูงคิดเป็นมูลค่าราว 18,000 ล้านบาท เป็นอันดับ 37 ของโลก พร้อมแนะเคล็ดลับดันคาแรคเตอร์ฝีมือคนไทยแชร์ส่วนแบ่งตลาดโลก ต้องสร้างเรื่องราวและลักษณะเด่นให้โดนใจผู้บริโภค

ดีป้า  ดันดิจิทัลคอนเทนต์ไทย

     นายมนต์ชัย ศรีเจริญศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการตลาด 2 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า เผยว่า นโยบาย Thailand 4.0 เป็นกรอบการขับเคลื่อนประเทศซึ่งหนึ่งใน Thailand 4.0 นั้นมีส่วนของ New S Curve ที่เป็นการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการพัฒนาและผลิตสินค้า หรือบริการใหม่ๆ จากธุรกิจเดิมให้มีมูลค่ามากขึ้น สำหรับดิจิทัลคอนเทนต์เป็น 1 ใน 5 ของ New S Curve ประกอบด้วย 5 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ๆ ได้แก่ 1.รถยนต์ ที่มีระบบการขับเคลื่อนโดยไร้คนขับ 2.กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวมีระบบการเชื่อมโยงกลุ่มธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และระบบการจองตั๋ว ที่พักออนไลน์  3.บริการสาธารณสุข เช่น โครงการ   

อี-เฮลธ์ ซึ่งได้จับมือกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อกระจายโอกาสการพบแพทย์ไปยังชนบท โดยไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล ด้วยการใช้เทคโนโลยีต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยอาจจะประสานกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ในการสร้าง อี-อสม.เพื่อช่วยเหลือคนในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง ปัจจุบันมีการนำดิจิทัลไปสร้างระบบการจำลองการผ่าตัดไปให้โรงพยาบาลอีกแห่งที่อยู่ห่างไกลเพื่อช่วยรักษาชีวิตคนป่วย 4.กลุ่มเกษตรที่นำนำวัตกรรมมาพัฒนาผลผลิตรวมถึงการขายสินค้ารูปแบบอี-คอมเมิร์ซ ต้องทำให้ชุมชนสามารถใช้เครื่องมือไอทีในการช่วยทำตลาดและขายสินค้าชุมชนได้ ต้องมีการสร้างอี-มาร์เก็ตเพลส ให้ชุมชน

      และสุดท้ายคือ กลุ่มดิจิทัลคอนเทนต์ นับเป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมของประเทศไทยที่สามารถเติบโตและส่งออกสร้างรายได้เข้าประเทศได้มหาศาลในอนาคต  ผลการสำรวจในปี 2558 มีมูลค่าตลาดรวมสูงกว่า 12,000 ล้านบาท โดยพบว่าผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพและได้รับการยอมรับในระดับสากลในการผลิตดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งมีข้อมูลการส่งออกคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 1,500 ล้านบาท ทั้งนี้ การจัดงาน BIDC 2017 ที่ผ่านมาเป็นการรวมผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนต์ของประเทศไทย ที่เกี่ยวข้องกับภาพใหญ่ของประเทศ และจะเป็นจิ๊กซอร์ที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทยสู่ตลาดโลกได้เพิ่มขึ้น

     “ตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ได้แก่ ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์เข้ามาเสริมธุรกิจอี-คอมเมิร์ซได้อย่างไร กล่าวคือ จากการที่ผู้ใช้บริการชมภาพยนตร์แบบออนไลน์หรือซื้อบริการชมภาพยนตร์แบบออนดีมานด์ ซึ่งทำให้เกิดการกระจายคอนเทนต์จากแพลตฟอร์มเดิมไปยังแพลตฟอร์มใหม่ ในรูปแบบออนไลน์และออนดีมานด์จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนี้เป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์เติบโต”  

    นอกจากนี้ ผู้ผลิตดิจิทัลคอนเทนต์ไทยซึ่งมีทั้งเกม แอนนิเมชัน ยังจะช่วยเสริมเจ้าของดิจิทัลทีวีช่องต่างๆ ซึ่งมีความต้องการคอนเทนต์เพื่อให้บริการผู้ชมอีกมาก  ที่ผ่านมาคอนเทนต์ของไทยยังไม่มีการข้ามแพลตฟอร์มของคอนเทนต์(cross-platform) ตัวอย่าง คอนเทนต์จากการออกอากาศแบบดั้งเดิม(traditional broadcast) ไปสู่ออนไลน์ จะเห็นได้ว่าความต้องการดิจิทัลคอนเทนต์ทั้งในและต่างประเทศมีจำนวนมหาศาล ซึ่งจะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการ และไลฟ์สไตล์ของกลุ่มผู้บริโภค ทั้งการอ่านหนังสือออนไลน์ การชมวีดิโอ และภาพยนตร์ เป็นต้น  

    จากปัจจัยข้างต้นนับเป็นแนวโน้มที่ดีในการส่งเสริมและผลักดันผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย เพราะเรามีศักยภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ รวมถึงการจัดงาน BIDC 2017 ที่ผ่านมาถือเป็นหกรรมที่แสดงศักยภาพของผู้ประกอบการไทยและส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน สร้างโอกาสในธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัลทั้งด้าน Animation Game E-learning Computer Graphics และ Visual Effect ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของดีป้าร่วมกับภาคอุตสาหกรรม 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!