WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aproblems

บอกรักคนที่คุณรักในวันครอบครัว ด้วย 5 แรงบันดาลใจสู่การใช้เครื่องช่วยฟัง

    เมื่อกาลเวลา คือสิ่งที่มนุษย์ไม่อาจควบคุมได้ จึงต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับช่วงวัยซึ่งข้ามผ่านสู่การแปรเปลี่ยนในทางเสื่อมโทรมลง โดยเฉพาะในฐานะลูกหลานผู้เฝ้ามองบุพการีในวัยสูงขึ้น สิ่งหนึ่งต้องยอมรับคือร่างกายค่อยๆ เสื่อมลง โดยเฉพาะทักษะการได้ยิน หลายคนคงเคยสังเกตเห็นสัญญาณบ่งชี้ถึงสภาวะถดถอยเช่น พ่อแม่ใช้เสียงดังขึ้นขณะสนทนา คุณปู่คุณย่าให้ทวนประโยคซ้ำเนื่องจากได้ยินไม่ชัด เร่งระดับเสียงโทรทัศน์ / เครื่องเสียงดังกว่าเดิม หรือไม่ได้ยินเสียงโทรศัพท์ จากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถึงเวลาหรือยังที่ต้องทดแทนพระคุณของท่าน เรียกคืนระดับการได้ยินเฉกเช่นวันวานกลับมาด้วยเครื่องช่วยฟังเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    อย่างไรก็ดี การจะเข้าไปเปลี่ยนพฤติกรรมของท่านให้ใช้เครื่องช่วยฟังเสมือนอวัยวะที่ 33 คงไม่ใช้เรื่องง่าย หลายครั้งพบเห็นการปฏิเสธอย่างแข็งขันเนื่องจากไม่มีความคุ้นชิน และคิดว่าทักษะการได้ยินที่ค่อยๆ ลดลงนั้นไม่ได้มีผลกับชีวิตประจำวัน ผลเสียคือยิ่งเริ่มใช้เครื่องช่วยฟังช้าออกไปเท่าใดยิ่งเป็นการยากสำหรับทำความคุ้นเคยกับอุปกรณ์มากขึ้นเท่านั้น และนี่คือ 5 เคล็ดลับสำคัญแรงบันดาลใจสำหรับผู้สูงวัยผู้กำลังประสบปัญหาการได้ยิน ยินดีขยับเท้าก้าวแรกเริ่มต้นใช้งานเครื่องช่วยฟัง พร้อมเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโสตประสาทการรับเสียงเพื่อทดสอบคุณภาพการได้ยิน

1) อคติ คือกำแพงที่ต้องทำลาย

       เกะกะ เทอะทะ เสียบุคลิก หรือกรณีมีเสียงรบกวน คือคำบอกเล่าปากต่อปากจากผู้เคยใช้งานเครื่องช่วยฟังในอดีต ทำให้ผู้สูงวัยมีทัศนคติด้านลบ ในทางตรงกันข้าม ณ ปัจจุบันด้วยการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง นวัตกรรมแห่งการได้ยินมีความเปลี่ยนแปลงมากมาย การออกแบบถูกคำนึงถึงสรีระสำคัญพอๆ กับคุณภาพการใช้งาน อุปกรณ์ปัจจุบันจึงถูกซ่อนไว้อย่างแนบเนียนบริเวณหลังใบหู และในหู รวมถึงไม่ส่งเสียงร้องรบกวนอีกต่อไป จึงไม่รู้สึกแปลกแยก หรือน่าอายเมื่อเข้าสู่สังคม

2) โยนทิ้งภาพในอดีต

   เราเคยมองว่า "เพียงพูดให้เสียงดังกว่าปกติคู่สนทนาจะได้ยินชัด และเข้าใจมากขึ้น" ทัศนคตินี้ต้องได้รับการปรับโดยด่วน อย่ารอให้ทักษะการได้ยินของคู่สนทนาค่อยๆ เสื่อมถอย  เพราะหากปล่อยให้เกิดปัญหาการได้ยินไม่พบแพทย์ตั้งแต่ช่วงแรกเริ่ม ความสามารถในการรับรู้สัญญาณเสียงบางระดับอาจไม่ถูกต้องอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเสียงรบกวน ปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยีช่วยฟังในหูทั้งสองข้าง (binaural hearing technology) โดยซีเมนส์ อุปกรณ์มีขีดความสามารถเชื่อมต่อแบบไร้สาย ทำงานเชื่อมโยงกันโดยอัตโนมัติ นวัตกรรมนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการได้ยินทั้งในเชิงทิศทาง และเชิงพื้นที่ เนื่องจากมีคุณภาพเสียงชัดเจน คืนการได้ยินแก่ผู้ใช้งานอีกครั้ง

3) ระลึกไว้เสมอ ความสูงวัยหาใช่อุปสรรคการได้ยิน

     การพูดคุยอย่างออกรสชาติคือคู่สนทนาถามมาตอบไป ไม่ใช่การขอให้ทวนประโยคซ้ำซากจนทำให้ถูกมองว่าเป็นคนสมองช้า หรือตะเบ็งเสียงจนเสียบุคลิก เพราะกลัวอีกฝ่ายได้ยินไม่ชัดเจน ตามด้วยการถูกมองว่าเป็นคนสูงวัยต้องหูตึงคุยไม่รู้เรื่อง ดังนั้นผู้ที่สวมใส่เครื่องช่วยฟังอย่างเหมาะสมทำให้การสนทนากลับมาดูมีชีวิตชีวาอีกครั้ง

4) เทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งน่ากลัว

     ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เครื่องช่วยฟังในยุคปัจจุบันจึงมาพร้อมเทคโนโลยีขั้นสูง ตัวอย่างในแบรนด์ชั้นนำ ชุดอุปกรณ์สามารถปรับลักษณะการได้ยินตามสภาวะแวดล้อมโดยอัตโนมัติ ระบบรับรู้แม้กระทั่งระดับเสียงดังที่ผู้ใช้พอใจ เยี่ยมยอดกว่านั้นคือไม่ว่าผู้สวมใส่กำลังคุยโทรศัพท์ ระหว่างสนทนา ปรึกษาหารือกันในกลุ่ม ฟังเพลง หรือดูโทรทัศน์ เทคโนโลยีไร้สายช่วยให้แน่ใจได้ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวบนหูทั้งสองข้างทำงานสอดประสานกันเป็นระบบเดียว ช่วยลดภาระในการฟังเสียง เพิ่มประสิทธิภาพการได้ยินการได้ยินในเชิงพื้นที่ อีกความน่าสนใจคือปัจจุบัน เครื่องช่วยฟังมีรีโมทคอนโทรลที่ช่วยให้สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องอย่างง่ายดาย เชื่อมต่อแบบไร้สายกับโทรทัศน์ เครื่องเสียง หรือโทรศัพท์ ในกรณีนี้จึงไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมาพะวง หรือกลัวการเข้าถึงเทคโนโลยี เนื่องจากระบบถูกออกแบบให้ใช้งานง่าย ทำความเข้าใจได้ในระยะเวลาอันสั้น

5) อย่าหยุดยกระดับคุณภาพชีวิต

    มีข้อมูลตีพิมพ์ลงวารสารการแพทย์เผยแพร่ในประเทศสหรัฐอเมริกา* ระบุว่า การไม่แก้ไขความบกพร่องทางการได้ยิน ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสภาพจิตใจ และร่างกายของบุคคลนั้นผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ยืนยันว่า ความบกพร่องทางการได้ยินของพวกเขาเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเครื่องช่วยฟังสามารถตอบโจทย์พร้อมเปลี่ยนแปลงสภาวะด้านลบดังกล่าวได้ หลังทดสอบด้วยการใช้งานจริงพบว่าลดภาระในการฟังเสียง ทำให้การสื่อสารในชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างปกติ ทั้งในที่ทำงาน และขณะอยู่พร้อมหน้ากับครอบครัว

     * Investigation, "The Prevalence of Hearing Impairment and Its Burden on the Quality of Life" ตีพิมพ์ใน "Quality of Life Research" กันยายน 2012

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!