- Details
- Category: บทความทั่วไป
- Published: Friday, 01 January 2016 14:37
- Hits: 3525
รัฐเร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมระบบราง พลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาคอาเซียน ชี้ลงทุนรถไฟความเร็วสูงให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแก่ประเทศไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
กระทรวงคมนาคมจัดการสัมมนา เพื่อสร้าง การรับรู้ ความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็น ประชาชนต่อการพัฒนาโครงการก่อสร้าง รถไฟขนาดรางมาตรฐาน โดยมีผู้สนใจ เข้าร่วมรับฟังจำนวนมากรวมทั้งสื่อมวลชนไทย และจีน โดยในการสัมมนาครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เข้าร่วมให้ข้อมูลประกอบด้วย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการเงิน และการคลัง รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ Mr.Huang Min รองผู้ว่าการองค์การ รถไฟแห่งประเทศจีน
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวเปิด การสัมมนาว่า รัฐบาลตระหนักถึง ความจำเป็น ของประเทศในการพัฒนาโครงข่ายการ คมนาคมโดยรัฐบาลให้ความสนใจ การลงทุน ระบบรางเป็นพิเศษเพราะจะช่วยแก้ปัญหา การจราจรและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในระบบ ขนส่งได้ รวมทั้ง ยังช่วยผลักดัน ให้ไทย เป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาคอาเซียนด้วย โดยเส้นทางสำคัญเร่งด่วน 7 เส้นทาง ที่จะมีระยะการก่อสร้างระหว่างปี 2559- 2564 ได้แก่
1. ฉะเชิงเทรา- คลองสิบเก้า- แก่งคอย ระยะทาง 106 กม.
2. ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม.
3. ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167กม.
4.มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม.
5.นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม.
6. ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. และ
7.หัวหิน- ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90กม.
นอกจากนี้ ยังได้ให้กระทรวงคมนาคม ศึกษาความเป็นไปได้การเชื่อมต่อเส้นทาง รถไฟกับมาเลเซียด้วย
Mr.Huang Min รองผู้ว่าการองค์การรถไฟ แห่งประเทศจีน ได้เล่าถึงการพัฒนารถไฟ ของจีนตั้งแต่อดีตจนถึงการพัฒนา เทคโน โลยี่รถไฟความเร็วสูงที่จีนมีความมั่นใจในระบบการให้บริการอย่างมาก โดยระบุว่า รถไฟที่จีนผลิตนั้นสามารถวิ่งในเขตพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นภายใต้อุณหภูมิต่ำกว่า -40 องศา เซลเซียส และในพื้นที่ที่มี อากาศ ร้อนจัดได้ถึงอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ จีนยังเป็นประเทศที่ให้บริการ รถไฟความเร็วสูงคิดเป็น 60% ของพื้นที่ ให้บริการรถไฟความ เร็วสูงทั่วโลก หรือ 19,000 กม.จากกว่า 20,000 กม.ทั่วโลก โดย สามารถ พัฒนาระบบโครงสร้าง และ โครงข่ายต่อเนื่องที่มีสมรรถภาพสูงได้เสร็จก่อนเวลาที่วางไว้ในปี คศ.2020 ถึง 5 ปี และยังพัฒนารถไฟความเร็วสูงให้มีความเร็วสูงสุดถึง 350กม./ชม.ในปัจจุบัน โดยร้อยละ 50 ของประชากรจีนสามารถใช้บริการรถไฟความเร็วสูง
Mr.Huang Min ย้ำว่าสิ่งที่เทคโนโลยี ของจีนคำนึงถึงคือเรื่องความปลอดภัย เช่นระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่สม่ำเสมอ ระบบโครงสร้างรางที่มั่นคงแข็งแรง ซึ่งผลจากการพัฒนาระบบรถไฟของจีนที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2004 ทำให้จีนสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วจากการเชื่อมโยงมณฑลต่างๆของจีนด้วยระบบราง และในอนาคตได้มีการวางแผนเชื่อมโยงกับยุโรปเพื่อประโยชน์ซึ่งกันและกัน
ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟ แห่งประเทศไทย ระบุว่า รัฐบาลไทยได้ทำความตกลงกับจีนที่จะนำเทคโนโลยี่จากจีนเข้ามาพัฒนาระบบการขนส่งที่สามารถเชื่อมโยงภูมิภาคต่างๆของประเทศเข้าด้วยกัน โดยฝ่ายไทยและจีนได้มีการหารือถึงแนวทางการทำงานร่วมกันมาแล้วหลายครั้งเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน โดยมีการกำหนดท่าทีความร่วมมือตลอดถึง วิธีการทำงาน การอบรมพัฒนาบุคคลากร ของไทยให้พร้อมรองรับงานในอนาคต โดยไทยได้เลือกเส้นทางที่ จะมีการขนส่ง สินค้าจาก คุณหมิง มายังลาว และเข้ามาทาง จังหวัด หนองคายและแหลมฉบัง รวมทั้ง จะต่อยอดลงไปทางภาคใต้ของไทยด้วย
ซึ่งเส้นทางการพัฒนาภายใต้โครงการความร่วม มือไทย-จีน นี้จะแบ่งออกเป็น4 ช่วง ได้แก่ช่วงแรก จากกรุงเทพ- แก่งคอย ช่วง2 แก่งคอย- มาบตาพุด ช่วง3 จากแก่งคอย ไป โคราช และช่วงที่4 จากโคราชไปยังหนองคาย รวมระยะทาง 845.27 กม. และจะมีการเปิดตัวโครงการในวันที่19 ธันวาคม 58 ที่สถานีเชียงรากน้อย ซึ่งในอนาคต จะเป็นศูนย์สั่งการระบบราง (Single Commander) ด้วย
ผู้ว่าการรถไฟฯ ยังเปิดเผยแนวทางพัฒนา การรถไฟว่าต้องการเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการด้วยระบบรางขนาด 1.435 เมตร ให้ครอบคลุมทั้งประเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพทั้งการขนส่งสินค้าและคนให้สามารถใช้ความเร็วในการ เดินทางได้เพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งเป็นปัญหามาจากระบบโครงสร้างพื้นฐาน และไม่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ โดยเชื่อว่า โครงการ ความร่วมมือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รถไฟ ไทย-จีน นี้ ซึ่งเป็นการลงทุนของรัฐ จะช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่งได้แน่นอน และหากทำให้ การขนส่ง สินค้าโดยระบบราง มีประสิทธิภาพมากขึ้น กว่าที่เป็นอยู่ ก็เชื่อว่า เอกชนจะหันมา สนใจใช้บริการมากขึ้น
นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย ได้กล่าวว่า การเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ของไทยจะทำให้ไทยมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนซึ่งหากมีการพัฒนาระบบราง และการขนส่งทางรถไฟ มีประสิทธิภาพมากขึ้นก็จะทำให้เป็นทางเลือกการขนส่งที่ช่วยลดต้นทุนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการ บริหารงานที่มีประสิทธิภาพด้วย ดังนั้น จึงเห็นว่ารัฐบาลต้องมีการวางแผนบริหารจัดการโครงการดังกล่าวให้ดี เช่น การจัดเตรียมบุคคลากรรองรับการดำเนินการ รวมทั้งการจัดการด้านอื่นๆ เพราะหากไทย มีรถไฟความเร็วสูงแต่ด้านอื่นไม่มีความพร้อมก็ จะไม่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา ประเทศ ควรเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจเอกชนของไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วม เช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยี่ การบริหารคนให้เกิดประสิทธิภาพต่องาน
อย่างไรก็ตาม หากโครงการพัฒนา ระบบรางและเส้นทางรถไฟสามารถเชื่อมโยงภูมิภาคต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อว่า จะทำให้มีธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้น ช่วยเพิ่ม GDP ของประเทศ และ GPP จังหวัดได้
ด้าน ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินและการคลัง กล่าวว่าที่ผ่านมา ไทย ลงทุนเรื่องระบบรางน้อยมาก ในขณะที่จีนมีการพัฒนาเทคโนโลยี ระบบรถไฟความเร็วสูง อย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับชั้นนำของโลก ทั้งหัวรถจักร ตัวรถ ความเร็ว รวมถึง ระบบความปลอดภัย ระบบราง ระบบไฟฟ้า ตลอดจนถึงระบบ การซ่อมแซม ซึ่งได้ไปเห็นด้วยตาตนเอง ว่าที่เมืองจีนคนนิยมใช้บริการรถไฟความเร็วสูงกันมาก เป็นปกติ และคนจีนถือว่า เป็นความ สำเร็จของประเทศ ดังนั้นการร่วมมือกัน ระหว่าง ไทยกับจีนในโครงการดังกล่าวถือว่าสามารถเกิดขึ้นได้ บนความแตกต่าง แม้ว่าไทย จะคิดเรื่องการพัฒนาระบบรางมานานแล้ว แต่กว่าจะลงมือ ทำได้ เป็นเรื่องยาก อย่างไรก็ตาม เมื่อโครงการนี้เกิดขึ้น ประโยชน์ที่จะได้ทั้งโครงการรถ
ไฟธรรมดา และรถไฟความเร็วสูง จะก่อให้เกิดผลตอบแทน ทางเศรษฐกิจสูงเกิน 10% อย่างแน่นอน จากการศึกษาที่ผ่านมา โดยพบว่าหากมีการเดินรถไฟจะเป็นการเปิดพื้นที่ระหว่างจุดต้น
ทาง และปลายทาง ให้ได้รับ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย
ทั้งนี้ ดร.คณิศ ได้แสดงความเห็นว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงของไทยซึ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้น การดำเนินการจะเป็นเรื่องยาก เช่นเดียวกับที่จีนเคยประสบมาแล้ว แต่หากประชาชนเข้าใจว่านี่คือโอกาสที่จะทำให้ เกิดการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ โดยความร่วมมือกับจีนไม่ได้มีเพียงเรื่องรถไฟเท่านั้นยังสามารถร่วมกันพัฒนาพื้นที่เพื่อให้เกิดเป็นเขตเศรษฐกิจได้ภายใต้ กรอบความร่วม มือที่เหมาะสม
รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ระบุว่ารถไฟไทยถึงเวลาที่ต้องยกเครื่องแล้ว ซึ่งได้ติดตามโครงการพัฒนาระบบรางของไทยมานานหลายปี จากการ ศึกษาข้อตกลงร่วม พบว่ามีการใช้เวลาในการเจรจาระหว่างไทย-จีน นานมากเนื่องจากเป็นโครงการที่มีมูลค่าสูง และสำคัญต่ออนาคตประเทศไทย แต่ โดยส่วนตัวแล้วค่อนข้างพอใจข้อตกลงในหลายประเด็น โดยมีการพูดถึงประโยชน์ ที่ประเทศ ไทยจะได้รับ เช่น จะต้องใช้วัสดุที่ผลิตได้ใน ประเทศไทย และมีบริษัทไทย ที่เข้าร่วม การก่อสร้างโครงการด้วย มีกรอบการทำงาน ร่วมกัน เช่น การที่จีน ต้องให้การพัฒนา บุคคลากรของไทย นอกจากนี้ยังระบุว่า โครงการนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนา เศรษฐกิจภาคอิสานอย่างมาก โดยจะช่วยทั้งการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ นอกจากนี้ ไทยและจีนยังได้มีข้อตกลง ที่จะมีการถ่ายโอนเทคโนโลยี่ และการฝึก อบรมให้บุคคลากรไทยด้วย
ทั้งนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวปิด การสัมมนาในครั้งนี้ว่า จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสร้างการรับรู้ ความ เข้าใจต่อสาธารณะว่า การพัฒนาโครงการก่อสร้างรถไฟขนาดรางมาตรฐานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็น และเสนอแนะ จากประชาชนผู้เข้าร่วมการสัมมนาด้วย โดยจะมีการจัดแบบเดียวกันนี้ในพื้นที่อื่นๆอีกในโอกาสต่อไป
โดย CP Group