- Details
- Category: บทความทั่วไป
- Published: Friday, 01 January 2016 13:55
- Hits: 3300
37 ปีเศรษฐกิจยุคใหม่ของจีน
ในโอกาสครบรอบ 40 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย- จีน ผมในฐานะที่เป็นหนึ่งในกลุ่มนักธุรกิจต่างชาติที่ได้เดินทางเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศจีนตั้งแต่ ปี ค.ศ.1980 ผมมีโอกาสได้สัมผัส รับรู้ และได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมจีนที่ได้พลิกผันตัวเองจากประเทศล้าหลังยากจนข้นแค้นจนสามารถผงาดขึ้นมาเป็นประเทศที่มีมูลค่าทางการค้าระหว่างประเทศอันดับหนึ่งของโลกและเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก ปรากฏการณ์เช่นนี้บังเกิดขึ้นได้สืบเนื่องจากการที่ประเทศจีนได้มีนโยบายเปิดประเทศและดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจ มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศโดยการอาศัยเงินทุนต่างชาติในการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต เทคโนโลยีการผลิตและการบริหารจัดการสมัยใหม่ของต่างประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 จนถึงวันนี้นับได้ 37 ปีเบื้องหลังความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ย่อมประกอบด้วยปัจจัยสำคัญหลายด้านด้วยกัน ตามประสบการณ์ส่วนตัว ผมคิดว่ามีปัจจัยสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้ :-
1. ผู้นำจีนและผู้บริหารทุกระดับมีอุดมการณ์ที่แน่วแน่
ฃประธานเหมาเจ๋อตง ปลดแอกประชาชนทำให้ทุกคนมีสิทธิทัดเทียมและเสมอภาคกันแต่การปิดประเทศและดำเนินนโยบายการวางแผนจากส่วนกลาง ไม่สามารถนำพาประเทศสู่ความเจริญมั่งคั่งและแก้ปัญหาปากท้องประชาชนได้
(1) ผู้นำรุ่น 2 ประธานเติ้งเสี่ยวผิงมีวิสัยทัศน์ กว้างไกล
คำขวัญสำคัญที่ประธานเติ้งเคยกล่าวไว้ ล้วนแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์อันกว้างไกล เช่น :-
- คลำหินข้ามคลอง
- แมวดำแมวขาว
- ต้องให้โอกาสคนส่วนหนึ่งรวยก่อน
- การพัฒนาคือกฎเหล็ก
- หวังจะรวยต้องสร้างถนนก่อน
(2) การสืบทอดอำนาจผู้นำจีนมีระบบและการเตรียมการที่ดี
ผู้นำจีนที่ผ่านการคัดเลือกต้องเริ่มทำงานตั้งแต่ระดับล่างเหมือนข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจทั่วไป หากมีประวัติและผลงานดี ก็จะค่อยไต่เต้าที่ละขั้นและต้องผ่านงานหลายๆด้านและหลายๆ พื้นที่เพื่อจะได้รู้ถึงปัญหาและสั่งสมประสบการเป็นเวลานานหลายสิบปี ประวัติผลงานและความประพฤติจะผ่านคณะกรรมาธิการการสรรหาคอยสอดส่อง และผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มงวดจึงจะสามารถได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในรัฐบาลกลางได้
2. นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ
(1) วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีระบบและมีขั้นตอน
- 10 ปีแรก พื้นที่ภาคใต้ (มณฑลกวางตุ้ง ฮกเกี้ยนและไหหลำ)
- 10 ปีที่ 2 พื้นที่ภาคตะวันออก (มหานครเซี่ยงไฮ้) มณฑลเจียงซูและเจ๋อเจียง
- 10 ปี่ที่ 3 พื้นที่ภาคเหนือ(มหานครเทียนสิน ปักกิ่ง และมณฑลเหอเป่ย)
- 10 ปีที่ 4 พื้นที่ภาคกลาง 6 มณฑล
(2) กำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างชัดเจน
- 10 ปีแรก พัฒนาคุณภาพสินค้าและผลิตผล โดยเน้นการนำนวัตกรรมทันสมัยมาทำการผลิตเพื่อการส่งออกเพื่อให้ได้เงินตราต่างประเทศจำนวนมาก
- 10 ปีที่ 2 เน้นตลาดภายในประเทศและพัฒนาแบรนด์ตนเอง
- 10 ปี่ที่ 3 เริ่มส่งออกแบรนด์ตนเอง
- 10 ปีที่ 4 สนับสนุนวิสาหกิจที่มีศักยภาพออกไปลงทุนในต่างประเทศ
3. นโยบายพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของแต่ละ 5 ปี แต่ละมณฑลได้ดำเนินการก่อสร้างถนนทางหลวง มอเตอร์เวย์ ซุปเปอร์ไฮเวย์ และทางรถไฟตามแผนแม่บทของรัฐบาลกลางที่ได้วางแผนไว้จวบจนปัจจุบัน ถนนและทางรถไฟแต่ละช่วงของแต่ละมณฑลได้ทยอยเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายคมนาคมครอบคลุมทั่วประเทศจีน จากสถิติล่าสุด ประเทศจีนมีมอเตอร์เวย์ ซุปเปอร์ไฮเวย์ ยาว 100,000กม และมีทางรถไฟความเร็วสูงถึง19,000 กม. ภายในสิ้นปีนี้ นอกเหนือจากนี้ในแต่ละมณฑลต่างมีการวางแผนก่อสร้างท่าเรือ สนามบิน สถานีรถประจำทางและสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง ตามสภาพการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละมณฑล
4. นโยบายการเชื่อมความสัมพันธ์และสร้างพันธมิตรกับนานาประเทศ
(1) GMS (Great Mekong Summit) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชาและจีนตอนใต้ ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทั้งการสร้างถนนและทางรางเพื่อให้เกินความเชื่อมโยงภายในอนุภาคเปลี่ยนระเบียบคมนาคมไปสู่ระเบียงเศรษฐกิจ สร้างโอกาสทางการค้า การท่องเที่ยว และความอยู่ดี กินดีของประชาชน
(2) เขตการค้าเสรี ASEAN - CHINA (ACFTA)
ACFTA เป็นการเปิดเสรีทั้งทางการค้า การลงทุน และภาคบริการ Asean – China และประเทศจีนได้สร้างศูนย์ ประชุมและแสดงสินค้า เพื่อจัดประชุมผู้นำประเทศ 10+1 และการแสดงสินค้า China – ASEAN Expo ทุกปี และปีนี้จะเป็นครั้งที่ 12 ณ เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกวางซี เผ่าจ้วง
(3) องค์กรความร่วมมือเซี่ยงไฮ้(SCO)
SCO มีสมาชิกอยู่ 6 ประเทศคือ จีน รัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน ซึ่งเป็นองค์กรส่งเสริม ความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคเอเชียกลาง
(4) กลุ่มประเทศ บริคส์ (BRICS)
BRICS เป็นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่อันได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ได้บรรลุข้อตกลงการจัดตั้ง “ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ ”(NDB) มีเงินทุนเริ่มต้น 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐโดยแต่ละประเทศวางเงินทุนที่ 1 หมื่นล้านเท่าๆกัน และตั้งสำนักงานใหญ่ที่มหานครเซี่ยงไฮ้ ประธานจะเป็นตัวแทนจาก ที่จะมีวาระ 5 ปี ประเทศอื่นก็มีตัวแทนดำรงตำแหน่งในธนาคารเช่นกัน เพื่อ เพื่อช่วยประเทศบริคส์ และประเทศตลาดเกิดใหม่ในการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับข้อตกลงเงินทุนสำรองฉุกเฉิน 1 แสนล้านเหรียญนั้น จีนมีสัดสวนบริจาคมากสุด 44 % บราซิล รัสเซีย ประเทศละ 18 % ส่วนแอฟริกาใต้เป็น 5 % จัดตั้งขึ้นเพื่อป้องกันความผันผวนที่เกิดขึ้นจากการเดินหน้าลดวงเงินที่ใช้ในการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณ(คิวอี) ของเฟด วัตถุเพื่อเป็นการ “ถ่วงดุลและเข้ามามีบทบาทกับระบบการเงินโลกมากขึ้น”
(5) การเชิญ CEO กิจการยักษ์ใหญ่ระดับโลกมาเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษา
IBLAC ( International Business Leaders' Advisory Council ) for the Mayor of Shanghai นี่คือความเฉลียวฉลาดในการบริหารงานของมหานครเซี่ยงไฮ้ ริเริ่มโดยอดีตผู้ว่า จู หยงจี ในการเรียนเชิญ CEO ของบริษัทชั้นนำของโลกมาเป็นสมาชิก IBLAC ให้กับผู้ว่ามหานครเซี่ยงไฮ้ จำนวน 50 ท่านและร่วมกันเลือก สมาชิกหนึ่งท่านดำรงตำแหน่งประธาน มีวาระ 2 ปี เพื่อเป็นประธานการประชุมปีละหนึ่งครั้งในเดือนตุลาคมของปี สมาชิกที่ขาดการประชุมโดยไม่มีเหตุผล ก็จะปลดออกและพิจารณาสมาชิกคนใหม่เข้าแทนที่ทันที
5. นโยบายฟื้น “เส้นทางสายไหม” ยุคใหม่
'เส้นทางสายไหม' เป็นเส้นทางประวัติศาสตร์สำคัญที่เชื่อมโลกตะวันออกไปยังตะวันตก จีนคาดหวังจะขยายศักยภาพทางเศรษฐกิจของจีนผ่านเส้นทางสายไหมทางบกเดิมสู่ เอเชียกลาง ขณะเดียวกันจีนยังมีความคิดจะสร้าง 'เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21' เป็นเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศต่างๆ ในเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกาและ ยุโรป ผ่านการขยายการลงทุนในการสร้างท่าเรือนิคมอุตสาหกรรมและยังเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จีนใช้สร้างสัมพันธ์กับชาติสมาชิกในอาเซียนด้วย
ปัจจัยที่สำคัญ 5 ด้านดังที่ได้กล่าวมาเป็นพลังขับเคลื่อนให้การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมจีนเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ในช่วงแรกเริ่ม เศรษฐกิจจีนสามารถขยายตัวได้ด้วยเลขสองหลักแต่ปัจจุบันการขยายตัวเริ่มชะลอตัวลงมาอยู่ที่ประมาณ 7 % ส่วนตัวผมคิดว่า หากจีนสามารถรักษาอัตราการขยายตัวอยู่ที่ปีละประมาณ 5 % ก็ถือว่าเป็นที่น่าพอใจแล้ว
ในโอกาสครบรอบ 40 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย- จีน ผมในฐานะที่เป็นหนึ่งในกลุ่มนักธุรกิจต่างชาติที่ได้เดินทางเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศจีนตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 ผมมีโอกาสได้สัมผัส รับรู้ และได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมจีนที่ได้พลิกผันตัวเองจากประเทศล้าหลังยากจนข้นแค้นจนสามารถผงาดขึ้นมาเป็นประเทศที่มีมูลค่าทางการค้าระหว่างประเทศอันดับหนึ่งของโลกและเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก ปรากฏการณ์เช่นนี้บังเกิดขึ้นได้สืบเนื่องจากการที่ประเทศจีนได้มีนโยบายเปิดประเทศและดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจ มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศโดยการอาศัยเงินทุนต่างชาติในการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต เทคโนโลยีการผลิตและการบริหารจัดการสมัยใหม่ของต่างประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 จนถึงวันนี้นับได้ 37 ปีเบื้องหลังความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ย่อมประกอบด้วยปัจจัยสำคัญหลายด้านด้วยกัน ตามประสบการณ์ส่วนตัว ผมคิดว่ามีปัจจัยสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้ :-
1. ผู้นำจีนและผู้บริหารทุกระดับมีอุดมการณ์ที่แน่วแน่
ฃประธานเหมาเจ๋อตง ปลดแอกประชาชนทำให้ทุกคนมีสิทธิทัดเทียมและเสมอภาคกันแต่การปิดประเทศและดำเนินนโยบายการวางแผนจากส่วนกลาง ไม่สามารถนำพาประเทศสู่ความเจริญมั่งคั่งและแก้ปัญหาปากท้องประชาชนได้
(1) ผู้นำรุ่น 2 ประธานเติ้งเสี่ยวผิงมีวิสัยทัศน์ กว้างไกล
คำขวัญสำคัญที่ประธานเติ้งเคยกล่าวไว้ ล้วนแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์อันกว้างไกล เช่น :-
- คลำหินข้ามคลอง
- แมวดำแมวขาว
- ต้องให้โอกาสคนส่วนหนึ่งรวยก่อน
- การพัฒนาคือกฎเหล็ก
- หวังจะรวยต้องสร้างถนนก่อน
(2) การสืบทอดอำนาจผู้นำจีนมีระบบและการเตรียมการที่ดี
ผู้นำจีนที่ผ่านการคัดเลือกต้องเริ่มทำงานตั้งแต่ระดับล่างเหมือนข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจทั่วไป หากมีประวัติและผลงานดี ก็จะค่อยไต่เต้าที่ละขั้นและต้องผ่านงานหลายๆด้านและหลายๆ พื้นที่เพื่อจะได้รู้ถึงปัญหาและสั่งสมประสบการเป็นเวลานานหลายสิบปี ประวัติผลงานและความประพฤติจะผ่านคณะกรรมาธิการการสรรหาคอยสอดส่อง และผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มงวดจึงจะสามารถได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในรัฐบาลกลางได้
2. นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ
(1) วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีระบบและมีขั้นตอน
- 10 ปีแรก พื้นที่ภาคใต้ (มณฑลกวางตุ้ง ฮกเกี้ยนและไหหลำ)
- 10 ปีที่ 2 พื้นที่ภาคตะวันออก (มหานครเซี่ยงไฮ้) มณฑลเจียงซูและเจ๋อเจียง
- 10 ปี่ที่ 3 พื้นที่ภาคเหนือ(มหานครเทียนสิน ปักกิ่ง และมณฑลเหอเป่ย)
- 10 ปีที่ 4 พื้นที่ภาคกลาง 6 มณฑล
(2) กำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างชัดเจน
- 10 ปีแรก พัฒนาคุณภาพสินค้าและผลิตผล โดยเน้นการนำนวัตกรรมทันสมัยมาทำการผลิตเพื่อการส่งออกเพื่อให้ได้เงินตราต่างประเทศจำนวนมาก
- 10 ปีที่ 2 เน้นตลาดภายในประเทศและพัฒนาแบรนด์ตนเอง
- 10 ปี่ที่ 3 เริ่มส่งออกแบรนด์ตนเอง
- 10 ปีที่ 4 สนับสนุนวิสาหกิจที่มีศักยภาพออกไปลงทุนในต่างประเทศ
3. นโยบายพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของแต่ละ 5 ปี แต่ละมณฑลได้ดำเนินการก่อสร้างถนนทางหลวง มอเตอร์เวย์ ซุปเปอร์ไฮเวย์ และทางรถไฟตามแผนแม่บทของรัฐบาลกลางที่ได้วางแผนไว้จวบจนปัจจุบัน ถนนและทางรถไฟแต่ละช่วงของแต่ละมณฑลได้ทยอยเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายคมนาคมครอบคลุมทั่วประเทศจีน จากสถิติล่าสุด ประเทศจีนมีมอเตอร์เวย์ ซุปเปอร์ไฮเวย์ ยาว 100,000กม และมีทางรถไฟความเร็วสูงถึง19,000 กม. ภายในสิ้นปีนี้ นอกเหนือจากนี้ในแต่ละมณฑลต่างมีการวางแผนก่อสร้างท่าเรือ สนามบิน สถานีรถประจำทางและสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง ตามสภาพการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละมณฑล
4. นโยบายการเชื่อมความสัมพันธ์และสร้างพันธมิตรกับนานาประเทศ
(1) GMS (Great Mekong Summit) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชาและจีนตอนใต้ ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทั้งการสร้างถนนและทางรางเพื่อให้เกินความเชื่อมโยงภายในอนุภาคเปลี่ยนระเบียบคมนาคมไปสู่ระเบียงเศรษฐกิจ สร้างโอกาสทางการค้า การท่องเที่ยว และความอยู่ดี กินดีของประชาชน
(2) เขตการค้าเสรี ASEAN - CHINA (ACFTA)
ACFTA เป็นการเปิดเสรีทั้งทางการค้า การลงทุน และภาคบริการ Asean – China และประเทศจีนได้สร้างศูนย์ ประชุมและแสดงสินค้า เพื่อจัดประชุมผู้นำประเทศ 10+1 และการแสดงสินค้า China – ASEAN Expo ทุกปี และปีนี้จะเป็นครั้งที่ 12 ณ เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกวางซี เผ่าจ้วง
(3) องค์กรความร่วมมือเซี่ยงไฮ้(SCO)
SCO มีสมาชิกอยู่ 6 ประเทศคือ จีน รัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน ซึ่งเป็นองค์กรส่งเสริม ความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคเอเชียกลาง
(4) กลุ่มประเทศ บริคส์ (BRICS)
BRICS เป็นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่อันได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ได้บรรลุข้อตกลงการจัดตั้ง “ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ ”(NDB) มีเงินทุนเริ่มต้น 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐโดยแต่ละประเทศวางเงินทุนที่ 1 หมื่นล้านเท่าๆกัน และตั้งสำนักงานใหญ่ที่มหานครเซี่ยงไฮ้ ประธานจะเป็นตัวแทนจาก ที่จะมีวาระ 5 ปี ประเทศอื่นก็มีตัวแทนดำรงตำแหน่งในธนาคารเช่นกัน เพื่อ เพื่อช่วยประเทศบริคส์ และประเทศตลาดเกิดใหม่ในการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับข้อตกลงเงินทุนสำรองฉุกเฉิน 1 แสนล้านเหรียญนั้น จีนมีสัดสวนบริจาคมากสุด 44 % บราซิล รัสเซีย ประเทศละ 18 % ส่วนแอฟริกาใต้เป็น 5 % จัดตั้งขึ้นเพื่อป้องกันความผันผวนที่เกิดขึ้นจากการเดินหน้าลดวงเงินที่ใช้ในการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณ(คิวอี) ของเฟด วัตถุเพื่อเป็นการ “ถ่วงดุลและเข้ามามีบทบาทกับระบบการเงินโลกมากขึ้น”
(5) การเชิญ CEO กิจการยักษ์ใหญ่ระดับโลกมาเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษา
IBLAC ( International Business Leaders' Advisory Council ) for the Mayor of Shanghai นี่คือความเฉลียวฉลาดในการบริหารงานของมหานครเซี่ยงไฮ้ ริเริ่มโดยอดีตผู้ว่า จู หยงจี ในการเรียนเชิญ CEO ของบริษัทชั้นนำของโลกมาเป็นสมาชิก IBLAC ให้กับผู้ว่ามหานครเซี่ยงไฮ้ จำนวน 50 ท่านและร่วมกันเลือก สมาชิกหนึ่งท่านดำรงตำแหน่งประธาน มีวาระ 2 ปี เพื่อเป็นประธานการประชุมปีละหนึ่งครั้งในเดือนตุลาคมของปี สมาชิกที่ขาดการประชุมโดยไม่มีเหตุผล ก็จะปลดออกและพิจารณาสมาชิกคนใหม่เข้าแทนที่ทันที
5. นโยบายฟื้น “เส้นทางสายไหม” ยุคใหม่
“เส้นทางสายไหม” เป็นเส้นทางประวัติศาสตร์สำคัญที่เชื่อมโลกตะวันออกไปยังตะวันตก จีนคาดหวังจะขยายศักยภาพทางเศรษฐกิจของจีนผ่านเส้นทางสายไหมทางบกเดิมสู่ เอเชียกลาง ขณะเดียวกันจีนยังมีความคิดจะสร้าง “เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21” เป็นเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศต่างๆ ในเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกาและ ยุโรป ผ่านการขยายการลงทุนในการสร้างท่าเรือนิคมอุตสาหกรรมและยังเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จีนใช้สร้างสัมพันธ์กับชาติสมาชิกในอาเซียนด้วย
ปัจจัยที่สำคัญ 5 ด้านดังที่ได้กล่าวมาเป็นพลังขับเคลื่อนให้การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมจีนเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ในช่วงแรกเริ่ม เศรษฐกิจจีนสามารถขยายตัวได้ด้วยเลขสองหลักแต่ปัจจุบันการขยายตัวเริ่มชะลอตัวลงมาอยู่ที่ประมาณ 7 % ส่วนตัวผมคิดว่า หากจีนสามารถรักษาอัตราการขยายตัวอยู่ที่ปีละประมาณ 5 % ก็ถือว่าเป็นที่น่าพอใจแล้ว
โดย นายธนากร เสรีบุรี รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์