- Details
- Category: บทความทั่วไป
- Published: Saturday, 28 June 2014 18:31
- Hits: 4041
2 กูรูใหญ่กฎหมายไทย วิพากษ์กระบวนการยุติธรรมไทย กี่มาตรฐานกันแน่?
ศ.ดร.คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย |
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2557 ที่หอประชุมศรีบูรพา ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศ.ดร.คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวในงานเสวนาเหลียวหลังแลหน้าการอภิวัฒน์กระบวนการยุติธรรม เนื่องในงานครบรอบ 80 ปี สถาปนาม.ธรรมศาสตร์ โดย ศ.ดร.คณิต ระบุว่า กระบวนการยุติธรรมไทยมีปัญหามานาน และมีปัญหาทั้งระบบ โดยมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ การที่ศาลยุติธรรมวางเฉย ซึ่งขัดกับหลักกฎหมาย และความไม่เข้าใจองค์กรอัยการ พร้อมระบุว่า สาเหตุที่ทำให้เกิด ป.ป.ช. และศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นมาจากการวางเฉยไม่ทำหน้าที่ตามกฏหมายของศาลยุติธรรม ทั้งนี้เห็นว่าการเกิด ป.ป.ช. เป็นการพัฒนาที่สิ้นเปลือง เพราะตามกฎหมายนั้นสำนักงานอัยการจะต้องทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว และคดีที่ ป.ป.ช. ขาดอายุความ ใครจะรับผิดชอบ ดังนั้นการอภิวัฒน์กระบวนการยุติธรรมต้องทำให้มีประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย เพราะปัจจุบันมีกระบวนการหากินในกระบวนการยุติธรรมจำนวนมาก เช่น การใช้เงินประกันตัวจากความผิด ทำให้เกิดการกู้นอกระบบ และในยุคพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการนำบริษัทประกันมาดำเนินธุรกิจในกระบวนการนี้ ทั้งที่ตามกฎหมายระบุชัดเจนว่าการขอประกันตัว ไม่ต้องมีหลักประกัน นอกจากนี้ศาลสูงสุดไทยยังเป็นที่เดียวในโลกที่พิจารณาในชั้นสืบข้อเท็จจริง ทั้งที่ในประเทศที่เจริญแล้วศาลสูงสุดต้องทำหน้าที่ทบทวนตรวจในทางเทคนิคข้อกฎหมายเท่านั้น
ด้านนายวสันต์ สร้อยพิสุทธ์ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวเสวนาในงานเดียวกัน โดยสะท้อนปัญหาในกระบวนการยุติธรรม ว่ามีทั้งปัญหาในเชิงระบบ และปัญหารายบุคคล ซึ่งบางครั้งแก้ไขได้ยาก เช่น กระบวนการคัดเลือกคนในกระบวนการยุติธรรมที่ไม่สามารถกำหนดให้ได้คนที่มีความเข้าใจในการทำงานเข้ามาได้ ดังนั้นจึงเห็นว่าถ้าศาลสูงสุดของไทยไม่พิจารณาข้อเท็จจริงด้วยจะเป็นเรื่องที่อันตรายมาก อีกทั้งกระบวนการยุติธรรมไทยมีความล่าช้ามาก เพราะในบางคดีมีปัญหาความซับซ้อน รวมถึงในบางคดีมีสำนวนเป็นจำนวนมาก ทำให้คดีค้างศาลเยอะ การแก้ปัญหาคือการจัดการบริหารไม่ให้มีคดีค้างศาลมากซึ่งสามารถทำได้ ส่วนกรณีปัญหาที่มักมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่ากระบวนการยุติธรรมไทยมี 2 มาตรฐานนั้น มองว่า ต้องเข้าใจคำว่า 2 มาตรฐานก่อนว่าคือต้องตัดสินในคดีที่มีมูลเหตุเหมือนกันทุกประการ แต่ผลออกมาคนละแบบ ขณะที่คดีทางการเมืองที่มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ ต้องขอให้ไปดูว่ามีมูลเหตุเดียวกันหรือไม่ เช่น เมื่อปี 2555 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค 3 พรรคการเมืองฐานทุจริตการเลือกตั้งโดยศาลฎีกาตัดสินเป็นที่สุดแล้ว ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ศาลพิจารณาคดีผิดพ.ร.บ.พรรคการเมือง แล้วจะกล่าวว่า 2 มาตรฐานได้อย่างไร |