WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ไทยกับการเป็นศูนย์กลางด้านอาหารของ AEC
คุยกับซี.พี

     ไทยถือเป็นประเทศส่งออก 'อาหาร'ที่สำคัญของโลก ปีหนึ่งมีการส่งออกอาหารกว่า 33 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 14.2 ของการส่งออกทั้งหมด

      แต่ถ้าพูดถึงเรื่อง 'อาหาร' ในวันนี้จะโฟกัสไปที่ 'อาหาร'เรื่องเดียวไม่ได้ จะต้องพูดถึงเรื่องอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย เพราะอาหารเกี่ยวโยงกับธุรกิจมากมายทั้งเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สุขภาพ โลจิสติกส์ งานบริการ  ฯลฯ

   โอกาสที่ไทยจะแสดงบทบาทการเป็น 'ครัวของโลก' จึงไม่ใช่แค่การผลิตอาหารที่ดี มีคุณภาพที่ดี รสชาติเหมาะสม โดยอาศัยงานวิจัย และเทคโนโลยีที่ปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก มีความหลากหลาย มีประสิทธิภาพ มีสมรรถภาพสูงกว่าในอดีตเข้ามาช่วยเสริมทั้งในเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคงทางด้านอาหาร ที่มีการพูดถึงกันค่อนข้างมากในปัจจุบันแล้วยังต้องพูดถึงธุรกิจอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับ 'อาหาร'

     ในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 7,000 ล้านคนวันนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 ล้านคน และภายในไม่กี่ปีหลังจากนั้นจะเพิ่มถึง 10,000 ล้านคน ในขณะที่ปัจจัยและทรัพยากรการผลิต เช่น บุคลากร เกษตรกร น้ำ และพื้นที่เพาะปลูกน้อยลดลง เนื่องจากพื้นที่ส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้เป็นที่อยู่อาศัย ประกอบกิจกรรมอย่างอื่น ส่งสัญญาณให้เห็นถึงปัญหาที่ท้าทายด้านอาหารที่อาจจะเกิดขึ้นได้

    ไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อมที่จะพัฒนา ช่วยแก้ไขปัญหาของโลก ไม่ใช่แค่เป็นผู้ผลิตอาหารคุณภาพ แต่ยังเป็นแหล่งผลิตอาหารขนาดใหญ่ แล้วจากนี้ไปเมื่อ AEC เปิดในปี 2558 ฐานการผลิตอาหารของไทยก็จะขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพราะประเทศไทยมีความพร้อมมากกว่าอินโดนีเซีย ในการทำการเกษตรหลากหลาย รวมทั้งการปลูก การเลี้ยงสัตว์(สัตว์บก สัตว์น้ำ) ธุรกิจการบริการอาหาร ฯลฯ ถ้าจะปลูกปาล์ม ประเทศไทยก็มีความพร้อม ในเรื่องการปลูกข้าว คนไทยก็มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ พร้อมที่จะปลูก มีการวิจัยเมล็ดพันธุ์ ระบบโลจิสติกส์ ฯลฯและยังสามารถพิจารณาความร่วมมือกับประเทศพื้นบ้าน เช่น เขมร พม่า ในการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิผล 

     ตลอดระยะเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมา ซี.พี.พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าทุกประเทศยินดีต้อนรับนักลงทุนจากไทย ซี.พี.ได้เข้าไปเลี้ยงสัตว์ในเกือบทุกประเทศในอาเซียนไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า ทุกประเทศให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเข้าไปเลี้ยงสัตว์น้ำ เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู ฯลฯ

     ปัจจัยที่ทำให้บริษัทคนไทยได้รับการตอบรับจากประเทศที่เข้าไปลงทุน ส่วนหนึ่งเพราะบริษัทคนไทยมีศักยภาพด้านการผลิตอาหารและสามาถทำประโยชน์ให้แก่ประเทศที่ไปลงทุนได้ เพราะการเข้าไปในลงทุนในต่างประเทศเราไม่ใช่แค่ค้าขายอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศนั้นๆ ฉะนั้นแม้การไปลงทุนต่างประเทศจะมีความท้าทายอยู่มาก แต่ก็มีโอกาสรอเราอยู่มากมายเช่นกัน เพราะประเทศไทยมีเครดิตและมีความพร้อมที่จะลงทุน

     ประเทศไทยสามารถผลิตอาหารเพื่อตอบสนองความต้องการอาหารของทั่วโลกได้ ทำให้ไทยมีบทบาทที่โดดเด่นโดยเฉพาะในสายตาของประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องการให้ไทยเข้าไปลงทุน 

      ชั่วโมงนี้ศักยภาพของไทยในการแสดงบทบาทด้านอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลก ต้องอาศัยยุทธศาสตร์ระหว่างภาครัฐและเอกชนให้ชัดเจน มองเรื่องอาหารอย่างบูรณาการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ(ภาคการผลิตจนถึงภาคบริการ)ไม่ใช่ 'ค้าขาย'เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องบริการ เทคโนโลยี โลจิสติกส์ การท่องเที่ยว หรือแม้แต่อุตสาหกรรมยานยนต์ และอื่นๆ แล้วไม่ใช่แค่บริษัทใหญ่เท่านั้นที่สามารถเข้าไปทำอย่างนั้นได้ แต่บริษัทใหญ่ บริษัทเล็ก และชาวบ้าน ก็สามารถเชื่อมโยงธุรกิจกันได้ เพื่อที่จะพัฒนาโอกาสทางการค้า ดังนั้นจึงเชื่อว่าถ้าคิดในแง่ของบูรณาการ โอกาสที่จะสร้างธุรกิจอาหารขึ้นมาเป็นตัวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ช่วยเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียนได้นั้นสามารถทำได้ไม่ยาก ซี.พี.เองก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า บริษัทเดียวก็สามารถเข้าไปเสริมตลาดของอาหาร โอกาสการค้าอื่นๆได้ ไม่ใช่แค่ในอาเซียน แต่เป็นทั่วโลก ทั้งยุโรป อเมริกา สหรัฐราชอาณาจักรฯลฯ

      ความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ที่ตั้งของประเทศไทย ประกอบกับศักยภาพในการพัฒนาด้านธุรกิจอาหาร ทำให้วันนี้ประเทศไทยไม่ได้โดดเด่นแค่ในอาเซียน แต่โดดเด่นในตลาดโลกด้วย

โดย…ดร.สารสิน  วีระผล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!