ใกล้เข้ามาทุกที สำหรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ผู้ประกอบการไทย (Entrepreneurship) จะก้าวไปแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้อย่างไร เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันคิดและพัฒนา
สิ่งหนึ่งที่จะช่วยสร้างแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการรายย่อยของไทยได้ คือ การวิจัยและพัฒนา
ประสบการณ์ของซี.พี. เป็นตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจมากสำหรับผู้ประกอบการไทยที่ต้องการจะเติบโตไปเป็นรายใหญ่ในอนาคต เพราะวันนี้ซี.พี.มีอายุเกือบจะ 100 ปีแล้ว ในอีก 8 ปีข้างหน้า
ซี.พี.เริ่มต้นจากผู้ประกอบการรายย่อยในนามเจียไต๋ ขายเมล็ดพันธุ์ผัก ต่อมาพัฒนามาทำธุรกิจอาหารสัตว์ และบุกเบิกธุรกิจเลี้ยงไก่ เพื่อพิสูจน์ให้สังคมเห็นว่าอาหารสัตว์ที่ขายนั้นมีคุณภาพจริงๆ
เมื่อต้องเลี้ยงไก่ก็จำเป็นต้องหาเทคโนโลยีมาซับพอร์ตกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูง
กระบวนการพัฒนาของซี.พี.หากนำกระบวนการพาณิชยกรรมของเทคโนโลยีมาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ กระบวนการวิจัยและพัฒนาไปจนถึงการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ข้อต่อ ในแต่ละกรณีศึกษาของซี.พี.จะพบว่าไม่ต่างกัน
ข้อต่อแรก เป็นการสร้างแนวคิด
ข้อต่อที่สอง การบ่มเพาะ คือ การสร้างแผนธุรกิจและพัฒนาคุณสมบัติของผลผลิตจากการวิจัยให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์
ข้อต่อที่สาม การทดสอบ เป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์และกระบวนการที่ได้จากผลผลิตจากการวิจัยสู่ผู้ใช้ประโยชน์เพื่อสร้างการยอมรับ
ข้อต่อที่สี่ การเข้าสู่ตลาด เป็นการกระจายผลิตภัณฑ์สู่ประโยชน์ในวงกว้าง
และข้อต่อที่ห้า คือ การเติบโตที่ยั่งยืน มีการพัฒนา สร้างผลกำไรที่สม่ำเสมอ โมเดลการพัฒนาธุรกิจของซี.พี.ตัวอย่างในเรื่องของการเลี้ยงไก่ จะเห็นว่าเริ่มจากการสร้างแนวคิด หรือมองเห็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจ เมื่อตัดสินใจว่าจะทำธุรกิจการเลี้ยงไก่ ก็มองหาว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไรที่ดีที่สุดที่จะนำมาใช้ในการดำเนินการ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีได้รับการยอมรับจากตลาดและสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน
นอกเหนือจากการทุ่มเทในเทคโนโลยีแล้ว กรณีศึกษาของซีพีชี้ว่า การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่ง ทีมวิจัยศึกษาจากกรณีการนำ "เทคโนโนโลยีชั้นสูงที่ี่นำไปใช้เพื่อการพาณิชย์" ของไทย ที่ล้มเหลว มักพบอุปสรรคในช่วงข้อต่อที่สองและข้อต่อที่สาม คือ การบ่มเพาะและการทดสอบตัวเทคโนโลยีแต่สำหรับซี.พี.ใช้เวลาในการคัดเลือกเทคโนโลยีแล้วบ่มเพาะให้เหมาะสมกับภาวะแวดล้อมของพื้นที่ พฤติกรรมและนำไปทดสอบจริงจนประสบผลสำเร็จก่อนนำไปเผยแพร่ให้กับเกษตรกรคนเก่งในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ในยุคของการบุกเบิกธุรกิจไก่ไข่ ไก่เนื้อ เป็ด และสุกร เกษตรกรรุ่นนั้นมักได้เห็นคุณธนินท์ (ธนินท์ เจียรวนนท์) ลงพื้นที่ด้วยตนเองเพื่อไปสอนเกษตรให้เข้าใจวิธีการเลี้ยงแนวใหม่ให้ได้ประสิทธิภาพ รวมไปถึงการดูแลเกษตรกรให้สามารถเริ่มต้นทำฟาร์มยุคใหม่ อันเป็นแนวทางที่บุคลากรซีพีผู้ทำหน้าที่ส่งเสริมเกษตรกรปฏิบัติตามจนถึงทุกวันนี้
หากย้อนหลังกลับไปเมื่อ 50 ปีที่แล้ว “ไก่” ไม่ใช่อาหารที่หารับประทานได้ง่ายๆ เพราะราคาแพงมาก แต่ปัจจุบัน “ไก่” คือ อาหารที่มนุษย์เงินเดือนหรือแม้แต่คนหาเช้ากินค่ำซื้อหามารับประทานได้
แนวคิดในการเลี้ยงไก่ เกิดจากคุณธนินท์ มองว่า เกษตรกรไทยมีศักยภาพ แต่ในอดีตเกษตรกรไทยสามารถเลี้ยงไก่ได้เพียง 100 ตัวต่อหนึ่งครอบครัว ในขณะที่เกษตรกรในอเมริกาเลี้ยงไก้ได้ 10,000 ตัวต่อหนึ่งครอบครัว ฉะนั้นจึงเกิดคำถามว่า ทำอย่างไรเกษตรกรไทยจะทำได้อย่างคนอเมริกา กระบวนการแสวงหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยเกษตรกรจึงเกิดขึ้น จากเรื่องที่มีความเป็นไปได้ยาก ก็กลายเป็นเรื่องง่าย ปัจจุบันเกษตรสามารถเลี้ยงไก่ได้ 170,000 ตัวต่อหนึ่งครอบครัว
จากจุดเริ่มต้นที่เต็มไปด้วยแรงกดดันว่าธุรกิจนี้ไม่น่าจะมีความเป็นไปได้ พัฒนามาเรื่อยๆจนสามารถขยายไปสู่การรับซื้อ และจัดจำหน่าย กลายเป็นโมเดล "ธุรกิจครบวงจร" หรือ Integration จะเห็นชัดว่าการทำธุรกิจของซี.พี.พัฒนาการตามแนวคิดนี้ใช้ได้จริง
จากเกษตรไปสู่เกษตรอุตสาหกรรม จะทำอย่างไรให้ขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืน เกษตรอุตสาหกรรม คือ การทำการเกษตรที่มีขนาดใหญ่ เครื่องมือ เครื่องจักรที่มีความเหมาะสม เช่นหากใช้ที่ดินขนาดใหญ่ต้องการรถไถที่มีขนาดสมส่วนกันทำให้ร่นเวลาในการไถ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อนำมาสู่การผลิตที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่ง ในมุมมองเชิงเศรษฐศาสตร์ คือ
1.economy of scale การประหยัดจากการขยายการผลิต คือ เมื่อผลิตมากขึ้น ทำให้ต้นทุนเฉลี่ย
การลงทุนสูง ในช่วงแรกอาจจะได้กำไรน้อย แต่สุดท้ายมีค่าเท่ากับกำไรมาก เพราะเมื่อผลิตมากขึ้น ทำให้ต้นทุนเฉลี่ย ลดลงเช่น กรณีที่ซีพีสามารถปรับวิธีการเลี้ยงให้เพิ่มจำนวนจาก 100 ตัวป็น 10,000 ตัวและไปสู่ 170,000 ตัวในปัจจุบัน ตัวดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น "กำไรน้อย ขายมาก เท่ากับกำไรมาก"
2.economy of scope การประหยัดจากการผลิตสินค้าหรือบริการหลายอย่าง คือ เมื่อผลิตสินค้า
ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง ถ้ามีโอกาสได้สัมผัสกับการทำธุรกิจของซี.พี. กลยุทธ์นี้ในหลากหลายธุรกิจ เช่น จะเห็นว่ามีการเลี้ยงปลาและเลี้ยงไก่ในที่เดียวกัน ที่น่าสนใจวันนี้ซี.พี.พัฒนาไปไกล กับโครงการล่าสุด คือ การลงทุนทำนาแต่หารายได้จากการปลูกข้าว เลี้ยงปลา ปลูกปาล์มอยู่ในที่เดียวกัน และล่าสุดโครงการเกษตรอินทรีย์ที่เครือซีพี กำลังพัฒนาเป็นฟาร์มตัวอย่างเรียกว่า "ข้าว ปลา ปาล์ม" ที่กำแพงเพชร ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรถึง 3 ทาง
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาซี.พี.มีบทบาทในการเปลี่ยนผ่านภาคการเกษตร สู่ "เกษตรอุตสาหกรรม" โดยให้การส่งเสริมเกษตรกรสูงมาก โดยเฉพาะการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี ทั้ง การพัฒนาเมล็ดพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพไปให้เกษตรกรได้เพาะปลูกกันแล้วยังนำองค์ความรู้ต่างๆ ลงไปให้เกษตรกรที่ซีพีส่งเสริม ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งองค์ความรู้ต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนมาจากการค้นคว้าวิจัย เพื่อให้ผลผลิตที่สูงทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าการจะดำเนินธุรกิจให้ยั่งยืนได้ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ จะต้องมีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แล้วนำสิ่งที่ได้จากการวิจัยไปสู่การปฏิบัติที่ทำให้เกษตรหยิบใช้ความรู้นี้ได้ง่าย
การทำการเกษตรที่มีคุณภาพต้องทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนของตัวเองได้ นโยบายในการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรถือเป็นแรงจูงใจหนึ่งที่สำคัญสำหรับเกษตรกรในการลงทุน ทุ่มเททำเกษตรที่มีคุณภาพสูง ให้สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน เพราะมองเห็นอนาคตที่ชัดเจน
เนื่องจากซีพีรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึันกับเกษตรกรมาทั้งหมด
จะเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายย่อย หรือรายใหญ่ การทำธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการวางแผน มีการวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ มาต่อยอดธุรกิจ จึงจะทำให้ธุรกิจเติบโตและอยู่ได้อย่างยั่งยืน
หมายเหตุ :เรียบเรียงจากการบรรยาย หัวข้อ การสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่อิงผลจากการวิจัยและพัฒนา ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2556 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ณ บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัล เวิลด์ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2556
โดย คริสมาส ศุภทนต์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเจริญโภคภัณฑ์
|