- Details
- Category: บทความทั่วไป
- Published: Monday, 09 February 2015 22:13
- Hits: 3241
จุฬาฯ เสนอดันโครงการพัฒนาระบบรางเป็นวาระแห่งชาติ ห่วงชักศึกเช้าบ้าน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ และสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะเตือนรัฐบาลวางยุทธศาสตร์พัฒนาการขนส่งระบบรางของไทยให้ชัดเจน และเตรียมพร้อมทั้งการบริหารการจัดการ การค้าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การปฏิรูปองคกร การเตรียมการด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ รวมทั้งพัฒนาด้านบุคคลากร หากไม่มีการเตรียมการรองรับจะกลายเป็นระเบิดเวลา
ศ.น.พ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศ ที่จะมีการใช้เงินลงทุน 3 ล้านล้านบาท ควรยกเป็นวาระแห่งชาติ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ทางจุฬาฯมองว่าเรื่องเป็นโจทย์ค่อนข้างยาก จึงได้รวบรวมข้อเสนอแนะด้านวิชาการให้ภาครัฐ
โดยเฉพาะ การลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยข้อตกลงให้รัฐบาลจีนดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาระบบรถไฟทางคู่มาตรฐาน(Standard gauge) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางประมาณ 734 กม. และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 133 กม. รวมระยะทาง 867 กม. ถือว่าเป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนมหาศาล และสร้างภาระผูกพัน และอาจกลายเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว
ศ.บันฑิต เอื้ออาภรณ์ คณบดีคณะวิศาวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นเรื่องที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับประเทศ วันนี้เราจึงรวบรวมข้อเสนอแนะของคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิง และต้องการเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบ ทั้งนี้ที่ผ่านมา คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เสนอแนะเกี่ยวกับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมาหลายรัฐบาลแล้ว แต่ก็ไม่ได้รับตอบรับ ส่วนจะไปเข้าพบกับรัฐบาลจะมีการหารือภายในอีกก่อน
"โครงการระบบราง ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เป็นที่สนใจของพี่น้องประชาชน ถ้าได้รับรู้ว่าประเทศต้องเตรียมอะไร ประชาชนช่วยตรวจสอบก็เพื่อให้ประเทศดีขึ้น"
ผศ.ประมวล สุธีจารุวัฒนา ภาควิชาการวิศาวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า รัฐบาลยังไม่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบรางของไทยให้ชัดเจน ทำแล้วประเทศไทยจะอยู่จุดไหน และการเตรียมความพร้อมรอบด้าน และยืนยันไม่ได้ปฏิเสธการพัฒนาระบบราง แต่ประเทศต้องเตรียมความพร้อม ไม่เช่นนั้นจะเป็นระเบิดเวลา และจะเป็นปัญหาในระยะกลางและระยะยาว
"การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไม่ได้ตอบโจทย์ทำไปเพื่ออะไร เพื่อการค้าก็น่าสนใจ แต่ถ้ายังไม่มีความชัดเจน การรีบร้อนก็อาจจะมีปัญหาตามมา จึงควรกำหนดยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน และเทคโนโลยีที่จะต้องใช้คืออะไร จะเป็นระบบรางที่ใช้ขนคน หรือขนสินค้า ...มองว่าจังหวะนี้น่าจะใช้โอกาสที่คสช.เข้ามาบริหารประเทศ ควรจะกำหนดให้ชัดเจน และนายกรัฐมนตรีต้องนั่งห้วโต๊ะ " ผศ.ประมวล กล่าว
ทั้งนี้ หากไม่มีการกำหนดยุทธศาสตร์ และเตรียมความพร้อม จะเกิดปัญหาภายหลัง ดูได้จากกรณีแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ที่ยังมีปัญหาการซ่อมบำรุง นอกจากนี้ รถไฟฟ้าของกรุงเทพมี 3 ระบบ คือบีทีเอส MRT และ แอร์พอร์ตลิ้งค์ ต่างคนต่างสังซื่อจากต่างประเทศ หากเป็นเช่นนั้นต้นทุนการบำรุงรักษาจะสูงขึ้น แต่หากมีการตั้งโรงงานเพื่อผลิตรถไฟฟ้า ย่อมทำได้โดยกเมื่อมีการลงทุนรถไฟฟ้า 10 สาย จะมีการใช้รถไฟฟ้าถึงกว่า 1 พันตู้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคคลากร ดังนั้น จึงมองว่า โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไม่ใช่เป็นเรื่องของกระทรวงคมนาคมอย่างเดียว แต่หลายกระทรวงเกี่ยวข้อง
รศ.สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ต้องการนำเสนอข้อมูลจากมุมวิชาการต่อการพัฒนาระบบราง 3 ประเด็น 1.ไทยจะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง โดยเราจะเป็นเพียงทางผ่าน หรือจะเป็นศูนย์กลางการเพิ่มมูลค่าด้วยการนำสินค้าเข้าแล้วทำการเพิ่มมูลค่าในไทยก่อนที่จะส่งออกไปอีกทอดหนึ่งเหมือนสิงคโปร์
แต่มีข้อน่ากังวลว่า หากมีเส้นทางเชื่อมต่อจากจีน สินค้าจากจีนจะเข้ามาตีตลาดในไทย กลุ่มเกษตรกรจะล้มหายตายจากไปก่อน รวมทั้งผู้ประกอบการรายเล็ก (SME) หรือเข้ามาเพื่อใช้แรงงานถูก หรืออุตสาหกรรท่องเที่ยวไทยต้องเตรียมพร้อมกับนักท่องเที่ยวจากจีนที่จะเข้ามา ซึ่งที่ผ่านมาได้มีพ่อค้าจีนเข้ามามีส่วนธุรกิจท่องเที่ยวในไทย และอาจกลายเป็นการขักศึกเข้าบ้าน
2.ประเด็นการบริหารจัดการ การจัดเตรียมและปฏิรูปองค์กรด้านขนส่งระบบราง ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)มีปัญหาองค์กร ก็ต้องการจัดการองค์กรเสียก่อน ขณะเดียวกัน กระทรวงคมนาคมกำลังจัดตั้งกรมรางที่มีหน้าที่ขัดแย้งกัน กล่าวคือเป็นผู้ดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐาน ขณะเดียวกันก็เป็นผู้กำกับดูแลกิจการระบบรางด้วย และหน่วยงานที่ดำเนินการอยู่ทั้ง รฟท. และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ยังไม่รู้จะไปอยู่ส่วนไหน ดังนั้น ถ้าไม่แก้ไขปัญหาของวันนี้ปัญหาก็จะหมักหมมแก้ได้ยาก
3.ประเด็นความพร้อมด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี อุตสาหกรรมและบุคคลากร โดยปัจจุบันยังไม่เห็นแนวคิดหรือแผนรองรับการจัดการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบรถไฟอย่างไร ประเด็นเป็นประเด็นที่ซีเรียสมาก หากไม่มีการเตรียมความพร้อมใช้จ่ายซ่อมบำรุงจะสูงขึ้น 2 เท่าของมูลค่าตัวรถไฟฟ้า ดังนั้นรัฐบาลต้องมีการเตรียมบุคคลากทั้งระดับบริหารจัดการ วิศวกร ช่างเทคนิค การส่งเสริมการผลิตชิ้นส่วนในประเทศ อุตสาหกรรมการประกอบรถไฟในประเทศ และมีอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับการออกแบบและก่อสร้างระบบงานต่างๆ
"ยืนยันว่า เราไม่ได้ปฏิเสธโครงการถไฟ หรือโครงสร้างพื้นฐาน แต่เงื่อนเวลากิจกรรมเตรียมความพร้อมต้องทำควบคู่เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าไม่มีการเตรียมความพร้อมจะเป็นระเบิดเวลา" รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว
อินโฟเควสท์