WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Corporate Governance กับการดำเนินธุรกิจ หนึ่งในยุทธศาสตร์บริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
 คุยกับซี.พี

      เป็นที่ยอมรับว่า 'การกำกับดูแลกิจการที่ดี'  หรือ 'Corporate Governance' มีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ เป็นหัวใจที่ทำให้เกิดความไว้วางใจในโลกธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์ และทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน

เครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) มองว่า'การกำกับดูแลกิจการที่ดี'หรือที่เรียกกันว่า'ธรรมาภิบาล'เป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ต้องทำแล้วขยายผลอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของซีพีจึงวางระบบการกำกับดูแลองค์กร (Governance System) เข้ารวมอยู่ในยุทธศาสตร์การบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศตามแนวทางของ TQM (Total Quality Management) โดยน้อมนำเรื่อง'ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง'ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นกรอบปฏิบัติในการกำกับดูแลกิจการที่ดี สอดคล้องกับทิศทางการขับเคลื่อนเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย(Thai Institute of Directors Association-IOD) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีภารกิจหลักเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีแก่องค์กรธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาที่หลายคนวิตกกังวลกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง หรือ การทุจริตคอร์รัปชั่นให้ลดน้อยลงได้

       สำหรับ ระบบการกำกับดูแลองค์กรของซีพีนั้น มีเจตจำนงเพื่อให้องค์กรทุกกลุ่มธุรกิจในเครือฯมีระบบการกำกับดูแลองค์กรที่ดี เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าการกำกับดูแลองค์กรมีประสิทธิผล มีความสำคัญต่อความเชื่อถือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสังคมโดยรวม ตลอดจนประสิทธิผลขององค์กร

       สิ่งเหล่านี้ซีพีได้เริ่มดำเนินการแล้วอย่างเป็นระบบ โดยขับเคลื่อนไปทั้งเครือฯ ทุกบริษัท ทุกกลุ่มธุรกิจ เพื่อให้ทุกคนพูดภาษาเดียวกัน ทั้งพนักงาน ฝ่ายบริหาร กรรมการเดินไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้มีความมั่นใจว่า ธุรกิจจะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนได้ รอดพ้นความเสี่ยงในส่วนต่างๆ 

 

      “การขับเคลื่อนเรื่องธรรมาภิบาล สิ่งสำคัญที่สุดต้องเริ่มจากตัวเราเองก่อน  แล้วขยายไปยังองค์กร ทำอย่างไรให้ธรรมาภิบาลแทรกซึมเข้าไปในวัฒนธรรมองค์กร ทำให้ทุกคนตระหนักรู้เรื่องเหล่านี้”  

 

      แน่นอนว่าการขับเคลื่อนเรื่องการกำกับดูแลองค์กรที่ดีนั้นมาจากคณะกรรมการ ซึ่งก่อกำเนิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ของผู้ถือหุ้นและคณะกรรมการทั้งในส่วนของคณะกรรมการที่เป็นอิสระและคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้น จากนั้นจึงขับเคลื่อนลงมาสู่ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งต้องมีการทำความเข้าใจ ทะลายความคิดให้เป็นเป็นความคิดที่สอดคล้องกัน

 

     อย่างในเวลานี้ทางซีพีได้สร้างสถาบันฝึกผู้นำ เพื่อที่จะพัฒนาผู้นำ ผู้บริหาร ให้มีความคิด และให้สามารถที่จะหลอมวิสัยทัศน์เข้ากับยุทธศาสตร์การบริหารงานสู่ความเป็นเลิศ และสิ่งที่สำคัญที่รับรู้ได้จากประสบการณ์ คือจะต้องสื่อสารสิ่งเหล่านี้ให้แก่พนักงานด้วย เพราะพนักงานคือกลไกสำคัญและเป็นผู้สนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ ของบริษัทฯ

 

      ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรหรือบริษัทสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้น คือ'การมีระบบ'ซีพีได้หลอมรวมระบบการกำกับดูแลองค์กร เข้ากับเรื่องของการจัดการ เรื่องการจัดการเศรษฐกิจสีเขียว  เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เป็นระบบเดียวกันที่สามารถสอดประสานไปในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการ  ผู้บริหาร พนักงาน ใครต่อใคร สามารถที่จะเข้าอกเข้าใจ แล้วก็พยายามทำอย่างนี้เพื่อให้แน่ใจว่าในรุ่นต่อไป เมื่อเราเปลี่ยนแปลงผู้บริหารหรือเปลี่ยนแปลงบริษัทไป สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่... นี่คือ สิ่งที่เราทำเวลานี้ 

 

      การกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือ การมีธรรมาภิบาล ในการดำเนินธุรกิจยังมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ปัจจุบันมีองค์กรในภาคธุรกิจบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯกว่า 500 บริษัท  บริษัทเหล่านี้จึงเหมือนกับหัวรถจักรที่จะขับเคลื่อนขบวนรถใหญ่ ขับเคลื่อนภาคธุรกิจให้มีธรรมาภิบาล ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตบนเวทีโลกได้อย่างยั่งยืน...  

     ที่มา : สรุปและเรียบเรียงจากการอภิปราย “Improving Corporate Governance: How can we be part of the solution?” ในงานสัมมนาใหญ่ The 3rd National Director Conference 2014 เรื่อง “Improving Corporate Governance:Key to Advancing Thailand”  จัดโดย สถาบันกรรมการบริษัทไทย(IOD) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2557 ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี 

 
โดย ดร.อาชว์  เตาลานนท์ รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!